ไข้หวัดใหญ่ สังเกตอาการไข้หวัดใหญ่ พร้อมวิธีป้องกัน ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลโรค

บทความนี้จะพาไปดู ไข้หวัดใหญ่ พร้อมเกล็ดความรู้ ไข้หวัดใหญ่มีกี่ชนิด? แต่ละชนิดมีอาการอย่างไร? พร้อมวิธีการดูแล รักษาตนเองเบื้องต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฝนฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตกบ้าง อากาศเย็นบ้าง กลางวันร้อนบ้าง บางทีก็ทำให้เราไม่สบาย ป่วยเป็นไข้หวัดได้ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นไข้หวัดใหญ่หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ มาดูวิธีสังเกตอาการ ไข้หวัดใหญ่ พร้อมเกล็ดความรู้ ไข้หวัดใหญ่มีกี่ชนิด? แต่ละชนิดมีอาการอย่างไร? พร้อมวิธีการดูแล รักษาตนเองเบื้องต้น

 

ไข้หวัดใหญ่เกิดจากอะไร?

ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากร่างกายได้รับเชื้อไวรัส ที่มีชื่อว่า Influenza ผ่านการสัมผัสเชื้อโรคจากที่ต่าง ๆ ซึ่งอาจแพร่กระจายอยู่ในอากาศ และเข้าสู่ร่างกายผ่านทางการหายใจ การดื่ม หรือ การรับประทานอาหาร ซึ่งการแพร่กระจายของเชื้อ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัสด้วย โดยเชื้อไวรัสบางตัว อาจติดต่อจากสัตว์ เป็นพาหะสู่คนได้ โดยเฉพาะปศุสัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่ใกล้ชิดกับคน

 

 

ประเภทของไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ ที่พบในมนุษย์ มี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ A , B และ C ดังนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A

ไวรัสสายพันธุ์ A เป็นเชื้อที่มีความรุนแรง และมีความอันตรายมากที่สุด เป็นเชื้อที่สามารถติดต่อมาจากสัตว์ สู่คนได้ และยังสามารถติดเชื้อจากคนสู่คน ผ่านการไอ การจาม และอากาศที่มีเชื้อไว้รัสกระจายอยู่ จึงสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว

 

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B

ไวรัสสายพันธุ์ B เป้นการแพร่ระบาดตามฤดูกาล ต้องการสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ในการติดเชื้อ เช่น ฤดูหนาว และ ฤดูฝน ซึ่งสามารถแพร่กระจาย ในระดับภูมิภาคได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ C

ไวรัสสายพันธุ์ C เป็นการติดเชื้อ ในระบบทางเดินหายใจ ที่ไม่ค่อยมีความรุนแรงมากนัก ผู้ที่ได้รับเชื้อ จึงมักมีอาการเล็กน้อย หรือ ไม่แสดงอาการ และไวรัสชนิดนี้ ไม่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาด

 

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ D

ไวรัสสายพันธุ์ D เป็นเชื้อที่พบได้เฉพาะในสัตว์เท่านั้น และยังไม่มีรายงานการติดเชื้อในคน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการของไข้หวัดใหญ่

อาการของไข้หวัดใหญ่ เมื่อเป็นในช่วงแรก จะมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดธรรมดา คือ มีไข้ มีน้ำมูก แต่อาการของไข้หวัดใหญ่ จะส่งผลกระทบในร่างกายมากกว่า คือ มีไข้สูงมาก ไอ จาม เจ็บคอ มีภาวะคออักเสบ มีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และในบางราย อาจมีอการคลื้นไส้ อาเจียน รวมถึงท้องเสีย ร่วมด้วย ซึ่งอาการป่วยที่พบ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วย อายุ และ โรคประจำตัวร่วมด้วย

  • อาการไข้สูง 39-40 องศา
  • อาการหนาวสั่น
  • อาการไอ จาม
  • อาการหวัด
  • เจ็บคอ คออักเสบ
  • ปวดเมื่อยกล้มเนื้อ
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • เบื่ออาหาร

 

 

การรักษาไข้หวัดใหญ่

การรักษาไข้หวัดใหญ่ แพทย์จะทำการจ่ายยาเพื่อรักษาตามอาการ แต่หากผู้ป่วยมีอาการไม่มาก หรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อย ก็สามารถซื้อยารักษาตามอาการได้ เช่น ยาแก้ปวด ลดไข้ ยาแก้หวัด ลดน้ำมูก เป็นต้น โดยผู้ที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ ควรนอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากร่างกายจะเหนื่อยล้ากว่าปกติ แต่หากมีอาการรุนแรง และเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด ก็ควรพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง ลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน ลดความเสี่ยงอาการป่วยรุนแรง และ ควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

 

การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

  1. ล้างมือบ่อย ๆ เป็นประจำ

การล้างมือบ่อย ๆ จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อได้ ซึ่งการล้างมือ ควรล้างด้วยน้ำสบู่ หรือ แอลกอฮอล เพื่อกำจัดเชื้อโรค และ ไวรัส อันเป็นตัวการของการติดเชื้อ

 

2. หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น

ในช่วงที่มีการระบาดของไวรัส ควรหลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือ มีอาการต้องสงสัย เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น การดื่มน้ำร่วมกัน การรับประทานอาหารในภาชนะเดียวกัน การใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน เป็นต้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วย

ควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรค เช่น มีอาการหวัด ไอ จาม เป็นต้น หรือหากมีความจำเป็น ให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

 

4. ดูแลสุขภาพของตนเอง

ในช่วงที่อาการเปลี่ยนแปลงบ่อย และมีการระบาดของเชื้อไวรัส ทางที่ดี เราควรดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้แข็งแรง ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

5. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด

ในช่วงที่มีการระบาดของไวรัส ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด และอากาศถ่ายเทไม่ดี เพื่อป้องกันการรับเชื้อจากผู้อื่น

 

6. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่ สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็กอายุ 6 เดื่อน – เด็กอายุ 19 ปี ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และผู้ที่มีโรคประจำตัว เบาหวาน หัวใจ ปอด เป็นต้น ควรเข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ และลดความรุนแรงของโรค 

 

โรคไข้หวัดใหญ่ สามารถป้องกันได้ ด้วยการดูแลตนเองให้แข็งแรง และหลีกเลี่ยงการพาตนเองเข้าไปอยู่ในสถานที่เสี่ยง กับบบุคคลที่เสี่ยง เพราะแม้ไข้หวัดใหญ่ จะไม่ใช่โรคที่อันตรายร้ายแรง แต่ก็สร้างความทรมานให้กับผู้ป่วยได้ไม่น้อย ดังนัน การไม่เป็นโรคจึงจะดีที่สุด

 

ที่มาข้อมูล : พบแพทย์ , โรงพยาบาลกรุงเทพ

บทความที่น่าสนใจ :

ไซนัสอักเสบ อารการเป็นอย่างไร โรคไซนัสอักเสบรักษาอย่างไร เหตุเกิดจากอะไร

ลมพิษคืออะไร ? ประเภทของลมพิษ อาการของโรคลมพิษ และวิธีรักษา

มีอาการท้องเสีย เมื่อมีอาการท้องเสียทำอย่างไร ท้องร่วงสิ่งที่ควรกินและไม่ควรกิน

บทความโดย

Waristha Chaithongdee