อาการไข้หวัดใหญ่ 2021 (Flu or Influenza) คือ โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจในส่วนของจมูก ลำคอ และปอด อาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัดธรรมดา มีไข้ ตัวร้อน น้ำมูกไหล ไอหรือจาม แต่มีความรุนแรง และมีโอกาสพัฒนาสู่ภาวะแทรกซ้อนได้ ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่สามารถพบได้ตลอดปี และระบาดในช่วงเปลี่ยนผ่านฤดูที่มีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน โดยเฉพาะในฤดูหนาว และฤดูฝนที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี
ข้อแตกต่างเบื้องต้นของไข้หวัด (Cold) และไข้หวัดใหญ่ (Flu)
แม้อาการของไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่จะค่อนข้างคล้ายกันจนอาจทำให้หลายคนสับสน แต่ผู้ป่วยมักแสดงอาการแตกต่างกันอยู่บ้าง ซึ่งสามารถสังเกตได้ ดังนี้
อาการของไข้หวัด
- ผู้ป่วยจะค่อย ๆ แสดงอาการป่วยทีละน้อย
- ผู้ป่วยมักมีอาการในระบบหายใจส่วนต้น เช่น คัดจมูก ไอ จาม เจ็บคอ มีเสมหะ เป็นต้น
- ผู้ป่วยไข้หวัดยังคงสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติแม้จะมีอาการป่วยรบกวนเป็นระยะ
อาการของไข้หวัดใหญ่
- ป่วยจะเกิดอาการอย่างเฉียบพลัน มีไข้สูง และมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัด
- ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเป็นลักษณะเด่น ร่วมกับมีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย
- ผู้ป่วยจะรู้สึกเพลียมากกว่าไข้หวัด และต้องการพักผ่อนมากกว่าปกติ ซึ่งควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาหากมีไข้สูงมากหรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
รศ.พญ.สิริอร วัชรานานันท์ แพทย์อายุรกรรมโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า แนะนำการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ว่า วิธีการป้องกันการติดเชื้อและแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สามารถทำได้เพียงดูแลตัวเองด้วย
- การปิดปากปิดจมูกเมื่อป่วย ไอ จามโดยใช้กระดาษทิชชู่ สามหน้ากากอนามัย หรือไอใส่ต้นแขนตนเอง
- ล้างมือบ่อย ๆ ก่อนรับประทานอาหาร หลังไอจาม สั่งน้ำมูก จับต้องสิ่งของหรือพื้นผิวที่มีคนสัมผัส
- เลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ที่มีอาการป่วย มีไข้ ไอ จาม เลี่ยงสถานที่ที่คนมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก (โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาด)
- หยุดงาน หยุดเรียน หยุดกิจกรรมกับผู้อื่นเมื่อป่วย เพื่อให้หายป่วยเร็วและไม่แพร่เชื้อให้คนอื่น
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพื่อสร้างภูมิต้านทานและลดโอกาสเสี่ยง ซึ่งการได้รับวัคซีนเป็นหนึ่งวิธีการเพิ่มภูมิคุ้มกัน เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงทุกปี
ประเภทของไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่มีกี่พันธุ์ และอะไรบ้าง?
ไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ Influenza Virus โดยการติดเชื้อที่พบในมนุษย์ คือ สายพันธุ์ A B C และD
ไวรัสชนิด A
คนอื่น ๆ ทางการไอ จาม และอากาศหายใจที่มีเชื้อไวรัสกระจายอยู่ จึงสามารถแพร่ระบาดได้เป็นวงกว้าง หรือระบาดไปทั่วโลกได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
โครงสร้างของไวรัสชนิด A แตกต่างจากไวรัสชนิดอื่น คือ มีไกลโคโปรตีน 2 แบบ ได้แก่ Hemagglutinin (HA) และ Neuraminidase (NA) โดย HA มีหน้าที่จับกับตัวรับสารของเซลล์แล้วบุกรุกเซลล์ สร้างอนุภาคไวรัสขึ้นมาใหม่ เมื่อติดเชื้อแล้ว NA จะทำหน้าที่ส่งไวรัสที่สร้างขึ้นใหม่แพร่กระจายไปสู่เซลล์อื่น ๆ
โปรตีน HA มีทั้งสิ้น 15 ชนิดย่อย และ NA มี 9 ชนิดย่อย สายพันธุ์ของไวรัสจึงถูกตั้งชื่อตามการจับตัวของโปรตีน อย่างสายพันธุ์ที่มีการระบาดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เช่น H1N1 (ไข้หวัดหมู) H5N1 (ไข้หวัดนก)
ไวรัสชนิด B
มักแพร่ระบาดตามฤดูกาลที่มีสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการติดเชื้อ อย่างฤดูหนาวและฤดูฝน เช่น ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (Seasonal Flu) อาจแพร่ระบาดได้ในระดับภูมิภาค
ไวรัสชนิด C
เป็นการติดเชื้อทางระบบหายใจที่ไม่รุนแรง มีอาการป่วยเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการป่วยเลย ไม่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาด
ไวรัสชนิด D
เป็นการติดเชื้อที่พบเฉพาะในสัตว์ และยังไม่พบการติดเชื้อที่แพร่มาสู่คน
อาการของไข้หวัดใหญ่
ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่จะมีอาการเบื้องต้นคล้ายผู้ป่วยไข้หวัดธรรมดา แต่อาการป่วยไข้หวัดใหญ่จะส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายได้มากกว่า มีไข้สูงมาก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียหมดแรง ไอ จาม เจ็บคอ คออักเสบ บางคนมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและท้องร่วงร่วมด้วย บางราย ผู้ป่วยมีอาการแสดงอย่างอื่น แต่ไม่มีไข้ และอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นได้ด้วย ทั้งนี้อาการป่วยที่อาจเกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับร่างกาย อายุ และโรคประจำตัวเดิมของแต่ละบุคคลด้วย
สาเหตุของไข้หวัดใหญ่
สาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากร่างกายได้รับเชื้อไวรัสกลุ่ม Influenza Virus ผ่านทางประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่นเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายอยู่ในอากาศเข้าสู่ร่างกายผ่านการหายใจ การรับของเหลวที่มีเชื้อไวรัสปะปนอยู่ผ่านการกิน การดื่ม หรือการสัมผัสเชื้อเข้าสู่เนื้อเยื่อร่างกายโดยตรงทางเลือด น้ำเหลือง น้ำหล่อลื่นที่ดวงตา
ทั้งนี้ การติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ไวรัสด้วย บางสายพันธุ์สามารถติดต่อจากสัตว์เลือดอุ่นที่เป็นพาหะสู่คนได้ โดยเฉพาะปศุสัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่มีความใกล้ชิดกับคน ไข้หวัดใหญ่บางสายพันธุ์จึงมีความเสี่ยงในการแพร่ระบาดในหมู่ปศุสัตว์และเกษตรกรค่อนข้างสูง
การวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่
หากสงสัยว่าตนหรือคนใกล้ชิดเป็นไข้หวัดใหญ่ อาจสังเกตได้จากอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น โดยปกติผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่จะมีไข้สูง หนาวสั่น ไอ เจ็บคอ คัดจมูก ปวดหัว และอ่อนเพลีย บางรายอาจอาเจียน หรือมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ซึ่งอาการป่วยเหล่านี้จะค่อย ๆ ดีขึ้น และหายเป็นปกติภายใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่หากอาการไม่ดีขึ้น มีอาการแย่ลง หรือมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ อย่างปอดบวม หอบหืด ติดเชื้อที่หู หรือการทำงานของหัวใจผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
หากไปพบแพทย์แล้วแพทย์สงสัยเกี่ยวกับอาการป่วย หรือหากการตรวจอาการในเบื้องต้นยังไม่สามารถให้ผลวินิจฉัยที่แน่ชัดได้ แพทย์อาจใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยเทคนิคต่าง ๆ เพิ่มเติมตามเหมาะสม เช่น การเก็บตัวอย่างเชื้อจากน้ำมูกหรือเสมหะไปตรวจ การเพาะเลี้ยงเชื้อ หรือการตรวจหาไวรัสด้วยกล้องจุลทรรศน์ เป็นต้น
การรักษาไข้หวัดใหญ่
เมื่อป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ แพทย์จะจ่ายยาเพื่อรักษาตามอาการที่ป่วย หรือหากมีอาการป่วยเพียงเล็กน้อย สามารถใช้ยารักษาได้ด้วยตนเองภายใต้คำแนะนำของเภสัชกร เช่นยาลดไข้ ยาแก้หวัด เช็ดตัวลดไข้ และควรนอนหลับพักฟื้นให้เพียงพอ เพราะการป่วยไข้หวัดใหญ่จะทำให้ร่างกายอ่อนล้า และต้องการการพักผ่อนมากกว่าปกติ
หากมีอาการที่น่าสงสัยหรือจัดอยู่ในผู้ป่วยสายพันธุ์อันตรายที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ เพื่อรับยาต้านไวรัสป้องกันหรือลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของไวรัส
การป้องกันไข้หวัดใหญ่
ในปัจจุบันมีวัคซีนสำหรับฉีดป้องกันไวรัสที่สามารถฉีดได้ปีละครั้ง แต่ไม่สามารถป้องกันไวรัสได้ทุกชนิด รวมถึงมียาต้านไวรัสที่ได้รับการแนะนำให้ใช้ในผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และการสร้างเสริมสุขภาพร่างกาย และสุขอนามัยในการใช้ชีวิต ก็เป็นวิธีที่ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการป่วยไข้หวัดใหญ่ได้ด้วยเช่นกัน
ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่
โรคไข้หวัดใหญ่อาจเป็นเหตุให้ร่างกายเกิดภาวะแทรกซ้อนและโรคต่าง ๆ ได้ เช่น ภาวะร่างกายขาดน้ำ การติดเชื้อในหู การติดเชื้อที่ไซนัส หลอดลมอักเสบ ปอดบวม ปอดอักเสบ ปัญหาที่ระบบประสาทส่วนกลาง กล้ามเนื้ออักเสบ หัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน และมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่มีความรุนแรงกว่า
นอกจากนั้น อาการของไข้หวัดใหญ่ยังเป็นเหตุทำให้อาการป่วยโรคอื่นที่เป็นอยู่ก่อนหน้าทรุดหนักลง เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด และโรคหัวใจ
ที่มาจาก: www.roche.co.th
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
เป็น RSV ทันที หลังลูกโดนจูบ! ทารกเป็น RSV ง่ายๆ อย่าให้ใครหอมลูก ชีวิตเปลี่ยนเพราะจูบเดียว
โรคหน้าฝน โรคที่มากับฤดูฝน ฝนตก ลูกเสี่ยงป่วยง่าย โรคไหนที่ต้องระวังในหน้าฝน โรคหน้าฝนในเด็ก
แม่ท้องฉีดวัคซีน หรือยัง วัคซีนไข้หวัดใหญ่ฉีดในหญิงตั้งครรภ์ ป้องกันภาวะปอดอักเสบ