5 เรื่องสำคัญที่ควรปลูกฝัง ในช่วง 2 ปีแรกของลูกน้อย

lead image

คำแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่ 5 เรื่องสำคัญที่ควรปลูกฝัง ในช่วง 2 ปีแรกของลูกน้อย ที่เป็นประโยชน์และนำไปปรับใช้ได้จริง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ช่วง 2 ปีแรกของชีวิตถือเป็นช่วงเวลาทองของพัฒนาลูกน้อยในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างรากฐานของนิสัยต่างๆ ที่จะติดตัวลูกน้อยไปตลอดชีวิต บทความนี้ มีคำแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่ 5 เรื่องสำคัญที่ควรปลูกฝัง ในช่วง 2 ปีแรกของลูกน้อย ที่เป็นประโยชน์และนำไปปรับใช้ได้จริง ในการปลูกฝังนิสัยเชิงบวกให้กับลูกน้อย เพื่อให้เติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพและมีความสุข

5 เรื่องสำคัญที่ควรปลูกฝัง ในช่วง 2 ปีแรกของลูกน้อย

1. นิสัยการกินที่ดี

การสร้างนิสัยการกินที่ดีให้ลูกน้อยตั้งแต่ 2 ปีแรกของลูกน้อย เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะช่วงวัยนี้เป็นช่วงที่เด็กกำลังพัฒนาทั้งร่างกายและสมองอย่างรวดเร็ว การปลูกฝังนิสัยการกินที่ดีในช่วงนี้จะส่งผลดีต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของเด็กในระยะยาว ทั้งในด้าน พัฒนาการทางร่างกายที่แข็งแรง พัฒนาการทางสมองที่ดี มีความสุขกับการกินอาหารที่มีประโยชน์ และสร้างนิสัยการกินที่ดีในระยะยาว

7 ข้อพ่อแม่ต้องรู้ สร้างนิสัยการกินที่ดีให้ลูกน้อย

  • ใส่ใจสัญญาณหิวอิ่มของลูก ในช่วงแรก คุณแม่ควรสังเกตความหิวและความอิ่มของลูกน้อย ตอบสนองอย่างอ่อนโยนและรวดเร็ว และควรสร้างบรรยากาศการกินที่ผ่อนคลาย โดยงานวิจัยพบว่า เด็กที่กินนมแม่มักมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมเมื่อโตขึ้น และสามารถควบคุมปริมาณนมที่กินได้ดีกว่า ลดความเสี่ยงของการกินมากเกินไป overfeeding น้อยลง 
  • ​​การฝึกกินอาหารด้วยตัวเอง ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการกล้ามเนื้อ การหยิบจับอาหารช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมือและนิ้ว การตักอาหารเข้าปากช่วยพัฒนาการประสานงานระหว่างมือและตา ทั้งยังช่วยให้ลูกรู้สึกเป็นอิสระและมีความมั่นใจในตัวเอง
  • กินอาหารหลากหลาย ลดอาหารจุกจิก การให้ลูกน้อยได้ลองอาหารหลากหลายชนิดตั้งแต่เด็ก จะช่วยลดโอกาสที่ลูกจะติดกินอาหารจุกจิกในอนาคต ทำให้ลูกมีแนวโน้มที่จะเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์มากกว่า
  • เริ่มรสชาติเมื่อ 9 เดือน ทารกจะเริ่มรับรู้รสชาติได้ดีเมื่ออายุประมาณ 9 เดือน ดังนั้น เมื่อเริ่มให้อาหารตามวัย ควรให้ลูกได้กินอาหารที่มีสีสัน เนื้อสัมผัส และรสชาติที่หลากหลาย (แต่ไม่ควรปรุงรสก่อน 1 ขวบ) จะช่วยให้ลูกคุ้นเคยกับรสชาติและเนื้อสัมผัสที่หลากหลาย ทำให้ลูกไม่เลือกกิน และได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน 
  • ผักผลไม้สำคัญ การให้ลูกกินผักและผลไม้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และเป็นประจำ จะช่วยให้ลูกคุ้นเคยและมีแนวโน้มที่จะชอบกินผักและผลไม้เมื่อโตขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว
  • เลี่ยงน้ำหวาน ทารกและเด็กเล็กที่ดื่มน้ำผลไม้และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล มีความเสี่ยงที่จะฟันผุ และอาจดื่มน้ำเปล่าน้อยลงเมื่อโตขึ้น 
  • น้ำ นม สำหรับเด็กเล็ก สำหรับเด็กวัยเตาะแตะ ทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพที่สุดคือ น้ำ นม หรือนมแม่ หากให้น้ำผลไม้ ควรจำกัดปริมาณไม่เกิน 4 ออนซ์ต่อวัน

2. ฝึกการนอนหลับให้เป็นเวลา

การฝึกให้ลูกนอนหลับเป็นเวลาเป็นสิ่งสำคัญต่อการเติบโตของลูก ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

  • สร้างกิจวัตรประจำวันในการนอนหลับให้ลูก

การกำหนดเวลานอนและเวลาตื่นที่แน่นอนในแต่ละวัน แม้กระทั่งในวันหยุดสุดสัปดาห์ จะช่วยให้ร่างกายของลูกน้อยปรับตัวเข้ากับวงจรการนอนหลับตามธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น 

นอกจากนี้ การทำกิจกรรมก่อนนอนเป็นประจำ เช่น การอาบน้ำอุ่นๆ การอ่านนิทานสนุกๆ หรือการฟังเพลงบรรเลงเบาๆ จะช่วยส่งสัญญาณให้ร่างกายของลูกน้อยรู้ว่าถึงเวลาพักผ่อนแล้ว 

หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระตุ้นให้ตื่นตัวก่อนนอน เช่น การดูโทรทัศน์หรือการเล่นเกม จะช่วยให้ลูกน้อยผ่อนคลายและหลับได้ง่ายขึ้น 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลองพูดกับลูกว่า “ถึงเวลานอนแล้วนะ เดี๋ยวพรุ่งนี้ตื่นมาจะได้สดชื่น” หรือ “ก่อนนอน เรามาอ่านนิทานสนุกๆ กัน” จะช่วยให้ลูกน้อยเข้าใจและคุ้นเคยกับกิจวัตรก่อนนอน

  • ให้ลูกได้นอนหลับอย่างเพียงพอ

การนอนหลับอย่างเพียงพอเป็นสิ่งจำเป็นต่อพัฒนาการของลูกน้อย เด็กแต่ละวัยมีความต้องการเวลานอนที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะเด็กเล็กอาจต้องการเวลานอนมากถึง 10-12 ชั่วโมงต่อวัน 

การสังเกตอาการง่วงของลูกน้อย เช่น การหาวบ่อยๆ หรือการขยี้ตา จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ทราบว่าลูกน้อยต้องการพักผ่อน และจัดเวลานอนให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกน้อยได้

ลองพูดกับลูกว่า “นอนหลับพักผ่อนเยอะๆ จะได้แข็งแรง” หรือ “ถ้าหนูง่วง บอกแม่ได้นะ” จะช่วยให้ลูกน้อยรับรู้ถึงความสำคัญของการนอนหลับได้ดีขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการนอนหลับ

การสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมในห้องนอนส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับของลูกน้อย ห้องนอนที่เงียบสงบและมืดสนิทจะช่วยให้ลูกน้อยหลับได้สนิทและไม่ถูกรบกวน ควรการปิดไฟ ลดเสียงดัง ควบคุมอุณหภูมิในห้องนอนให้เหมาะสม ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป นอกจากนี้ ที่นอนที่สบาย สะอาด และถูกสุขลักษณะ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม 

ลองพูดกับลูกว่า “ปิดไฟแล้วนะ นอนหลับฝันดี” หรือ “ห่มผ้าอุ่นๆ จะได้หลับสบาย” จะช่วยสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและผ่อนคลาย ทำให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัยและหลับได้ง่ายขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. การสื่อสารที่ดี

เริ่มต้นจากการพูดคุยกับลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งการกระทำนี้ไม่ได้เป็นเพียงการสื่อสารธรรมดา แต่เป็นการกระตุ้นพัฒนาการทางภาษาของลูกน้อยโดยตรง ทำให้ลูกคุ้นเคยกับเสียงและจังหวะของภาษาที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน 

ตัวอย่างการเล่าเรื่องให้ลูกฟัง

  • เล่าเรื่องประจำวัน เช่น วันนี้แม่ไปตลาดมา เจอผักเยอะแยะเลย มีมะเขือเทศสีแดง ๆ ด้วย
  • เล่าเรื่องที่เกี่ยวกับลูก เช่น เมื่อวานหนูหัวเราะเสียงดังเลย ตอนที่พ่อเล่นจ๊ะเอ๋ด้วย
  • อธิบายสิ่งที่คุณกำลังทำ เช่น แม่กำลังเปลี่ยนผ้าอ้อมให้หนูนะ พ่อกำลังทำอาหารเย็นนะ

ตัวอย่างการถามคำถามลูก (แม้ลูกจะยังตอบไม่ได้)

  • ถามคำถามง่ายๆ เช่น หนูอยากกินนมไหมลูก?
  • ถามคำถามเปิด เช่น วันนี้อากาศดีจังเลยเนอะ?

นอกจากนี้ การอ่านนิทานให้ลูกฟังก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มพูนคำศัพท์และทักษะการฟังของลูกเท่านั้น แต่ยังเป็นการปลูกฝังความรักในการอ่านให้กับลูกน้อยอีกด้วย

เคล็ดลับการอ่านหนังสือกับลูก

  • เลือกหนังสือที่เหมาะสมกับวัย เช่น หนังสือภาพสีสันสดใส หนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์ สิ่งของ หรือเรื่องราวใกล้ตัว
  • อ่านออกเสียงอย่างชัดเจน ใช้โทนเสียงที่แตกต่างกันไปตามเนื้อหา ทำเสียงประกอบ
  • ชี้ภาพในหนังสือ นี่คือแมว แมวร้อง ‘เหมียว’
  • ถามคำถามเกี่ยวกับหนังสือ แมวอยู่ที่ไหน? หนูชอบตัวละครตัวไหน?

และสุดท้าย การร้องเพลงไม่เพียงแต่จะช่วยพัฒนาทักษะทางภาษาและจังหวะของลูกเท่านั้น แต่ยังเป็นกิจกรรมที่สร้างความผูกพันอันแน่นแฟ้นระหว่างพ่อแม่และลูกน้อยได้อีกด้วย

เคล็ดลับการร้องเพลงกับลูก

  • เลือกร้องเพลงเด็ก เพลงที่มีเนื้อหาและทำนองง่าย ๆ เพลงที่มีท่าทางประกอบ
  • ชวนลูกร้องเพลงไปด้วยกัน สบตาขณะร้องเพลง ปรบมือ เต้นไปด้วยกัน
  • ใช้เพลงในการทำกิจกรรม เช่น ร้องเพลงกล่อมลูกนอน ร้องเพลงขณะอาบน้ำให้ลูก

4. ฝึกให้ลูกทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง 

การให้ลูกได้ทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง รวมถึงได้สำรวจและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างอิสระ ดีต่อพัฒนาการของลูกน้อยหลายด้าน

  • การทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง เช่น การกินอาหารด้วยมือ การพยายามใส่เสื้อผ้า การหยิบจับของเล่น จะช่วยให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้สำเร็จ ซึ่งจะนำไปสู่ความรู้สึกภาคภูมิใจและความมั่นใจในตนเอง
  • การสำรวจและเรียนรู้ด้วยตัวเอง เมื่อลูกได้สำรวจสิ่งแวดล้อมและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวเอง จะช่วยให้ลูกมีความอยากรู้อยากเห็น มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการเรียนรู้
  • พัฒนากล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวร่างกาย การหยิบจับสิ่งของ การเดิน การวิ่ง จะช่วยพัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของลูกน้อย
  • ทักษะการแก้ปัญหา เมื่อลูกได้สำรวจและเรียนรู้ด้วยตัวเอง ลูกจะได้เผชิญกับปัญหาต่างๆ และเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น
  • ทักษะทางสังคมและอารมณ์ การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและผู้อื่น จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ทักษะทางสังคม เช่น การปรับตัว การเข้าสังคม และการควบคุมอารมณ์
  • การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การที่ลูกได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ในการสำรวจและเรียนรู้ จะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและส่งเสริมพัฒนาการทางสมอง
  • การสร้างการเชื่อมต่อในสมอง การที่ลูกได้ทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะช่วยสร้างการเชื่อมต่อใหม่ๆ ในสมอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้และความจำ

วิธีส่งเสริมให้ลูกทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง 

  • ให้ลูกได้ฝึกกินอาหารด้วยตัวเอง โดยอาจเริ่มจากการใช้มือหยิบอาหารชิ้นเล็กๆ
  • ให้ลูกได้ฝึกแต่งตัวด้วยตัวเอง โดยอาจเริ่มจากการใส่หรือถอดเสื้อผ้าที่ง่ายๆ
  • ให้ลูกได้ฝึกเก็บของเล่นด้วยตัวเอง โดยอาจให้ลูกเก็บของเล่นใส่กล่องหรือตะกร้า
  • ให้ลูกได้สำรวจและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างอิสระ จัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้ลูกได้เรียนรู้ โดยมีพ่อแม่คอยดูแลและให้กำลังใจ

 

5. ฝึกการดูแลสุขอนามัยส่วนตัว

การฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยส่วนตัวเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการปลูกฝังนิสัยรักความสะอาดและป้องกันโรคต่างๆ เด็กที่ได้รับการฝึกฝนให้ดูแลตัวเองตั้งแต่เล็กจะมีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพแข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต ซึ่งสามารถทำได้โดยดังนี้

  • สอนให้ลูกรู้จักการล้างมือให้สะอาด บอกลูกว่า ล้างมือจะช่วยให้มือสะอาด ไม่มีเชื้อโรค และสร้างบรรยากาศให้สนุกสนาน เช่น ร้องเพลงขณะล้างมือ หรือทำฟองสบู่ให้ลูกเล่น
  • สอนให้ลูกรู้จักการดูแลร่างกายให้สะอาด สอนลูกให้อาบน้ำ สระผม แปรงฟัน และตัดเล็บให้ลูกเป็นประจำ เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรค

หวังว่า 5 เรื่องสำคัญที่ควรปลูกฝัง ตั้งแต่เนิ่นๆ ที่เรานำมาฝาก จะช่วยคุณพ่อคุณแม่วางในการรากฐานให้ลูกเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ มีความสุข และประสบความสำเร็จในชีวิตนะคะ

ที่มา : healthychildren, จิตวิทยาเด็กและวัยรุ่นโดยนักจิตวิทยา

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

15 วิธีกระตุ้นสมองทารก ช่วยให้ลูกฉลาด ทำได้ตั้งแต่แรกเกิด

20 กิจกรรมพัฒนาสมองลูกน้อย ปลดล็อคพลังสมองลูกวัยเตาะแตะ

2 พื้นฐานสำคัญในการดูแลทารก คู่มือสำหรับพ่อแม่มือใหม่ ที่คุณอาจไม่เคยรู้