ผัวเมียไม่ได้จดทะเบียน เลิกกัน! ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลูกเป็นสิทธิ์ของใคร

ถ้าพ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แล้วเกิดเลิกรากันไป ลูกเป็นสิทธิ์ของใคร ถ้าพ่อเอาลูกไปแล้วแม่ไม่ยินยอมจะผิดไหม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทนายเกิดผล แก้วเกิด ไขข้อข้องใจ ผัวเมียไม่ได้จดทะเบียน หากเลิกกัน ลูกจะเป็นอย่างไร ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลูกเป็นสิทธิ์ของใคร

 

ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลูกเป็นสิทธิ์ของใคร

มีคำถามว่า ชายหญิงอยู่กินด้วยกันตามประเพณี มีลูกด้วยกัน แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แล้วต่อมาภายหลังต่างเลิกร้างกันไป

ฝ่ายชายเอาลูกไปด้วย โดยฝ่ายหญิงไม่ยินยอม ฝ่ายชายทำได้หรือไม่ และจะมีความผิดอะไรหรือไม่

ในเรื่องนี้มีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจนแล้ว ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 ซึ่งบัญญัติว่า

มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วย กฎหมายของหญิงนั้น

หมายความว่า ลูกทุกคน เป็นลูกของผู้หญิงฝ่ายเดียว ฝ่ายชายไม่มีสิทธิ์ในตัวบุตร

มารดาจึงมีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวตามกฎหมาย และ มีอำนาจดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจการปกครองมีสิทธิ

(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร

(2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน

(3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป

(4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เมื่อพิจารณาตามกฎหมายแล้ว แม่เท่านั้นที่มีอำนาจปกครองบุตร กำหนดที่อยู่ของบุตร และเรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นที่กักบุตรไว้ได้

คำว่า ” #บุคคลอื่นหมายความรวมถึงชายที่เป็นบิดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสด้วย” ตามฎีกาที่ 3461/2541 วินิจฉัยว่า

ฎีกาที่ 3461/2541#บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(4)หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งได้แก่บิดา มารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร จำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์จำเลยจึงไม่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมายย่อมไม่มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(1)ถึง (4) #การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ #และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้เป็นมารดาของผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้
พิพากษายืน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หรือแม้ มารดาจะเคยยินยอมหรือตกลงให้บุตรไปอยู่กับฝ่ายบิดา ข้อตกลงดังกล่าวก็สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้เสมอ ฝ่ายบิดา จะยกเหตุนี้มาอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดไม่ได้ ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 3780/2543

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2543

โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ดังนั้น จึงถือได้ว่าเด็กชาย จ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ดังนั้นอำนาจปกครองเด็กชาย จ. นั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง คือต้องอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็นบิดาตามความหมายของมาตรา 1566 ดังกล่าว #การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยที่ให้เด็กชาย จ. อยู่ในความปกครองของจำเลย #จึงไม่มีผลผูกพันเป็นเหตุให้จำเลยมีอำนาจปกครองเด็กชาย จ. ตามมาตรา 1566 วรรคสอง (6) จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของเด็กชาย จ. ให้อยู่กับตนตามมาตรา 1567 (1) ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยส่งมอบเด็กชาย จ. คืนจากจำเลยตามมาตรา 1567 (4)

ดังนั้น หากฝ่ายชาย ไม่ว่าจะเป็นพ่อ ลุงป้าน้าอาปูและย่า พาลูกหรือหลานไปโดยแม่เด็กไม่ยินยอม ย่อมมีความผิดฐาน #พรากผู้เยาว์

คุณแม่ทั้งหลาย สบายใจได้ #แชร์ต่อๆไปให้คลายกังวล

 

เลิกกัน! ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลูกเป็นสิทธิ์ของใคร

 

ที่มา : https://www.facebook.com/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไม่อยากหย่า การรักษาชีวิตคู่ ต้องตั้งสติ! หยุดเลยอย่าพูด 8 คำนี้กับสามีหรือภรรยา

12 ข้อดีของการจดทะเบียนสมรส ข้อดีของทะเบียนสมรสที่เมียถูกกฎหมายต้องรู้

วิธีบอกลูกพ่อแม่เลิกกัน พ่อแม่ควรบอกลูกตอนไหน

เชื้อชั่วๆ ท้องแล้วไม่รับ ฟ้องได้ไหม ทำอะไรได้บ้าง จัดการยังไงกับผู้ชายประเภทนี้

 

www.facebook.com/photo.php?fbid=419715115106257&set=a.113116982432740.1073741828.100012033163351&type=3&theater

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team