วิธีดูแลลูกเป็นไข้ วัยทารกหรือวัยเตาะแตะเป็นไข้ วิธีดูแลทำยังไง

เมื่อลูกวัยทารกหรือวัยเตาะแตะเป็นไข้ จะต้องเรียกหมอมาหรือเปล่า? ไข้ขนาดไหนถึงเรียกว่ามีไข้สูง? เรามีวิธีดูวว่าอาการลูกหนักมากหรือไม่ และวิธีดูแลทารกเป็นไข้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีดูแลลูกเป็นไข้ วัยทารกหรือวัยเตาะแตะเป็นไข้ วิธีดูแลทำยังไง

โรคที่เด็กเป็นกันบ่อย และ ไม่มีทางที่จะหายไปเลย มีอยู่โรคหนึ่งก็คือ โรคไข้หวัด ที่เป็นกันทุกเพศทุกวัย ในเด็กเล็กอาการ เหล่านี้อาจจะรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ และ อาจจะเป็นเพราะเด็กไม่เคยเจออะไรแบบนี้มาก่อน ทำให้เขารู้สึก ไม่สบายเนื้อ ไม่สบายตัว เราจะพามาดูกันว่า วิธีดูแลลูกเป็นไข้ ทำได้อย่างไร มีวิธีไหน ที่จะทำให้ลูกตัวน้อยของเรา สบายตัว สบายกาย มากยิ่งขึ้น

ข้อเท็จจริง: เมื่อร่างกาย พยายามจะต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย และ การติดเชื้อไวรัส ในตัวเองมันเอง เราก็จะมีอาการเป็นไข้ ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องแย่ ตราบที่ ร่างกายของเรา ไม่ได้ต่อสู้กับเชื้อหวัด นี้นานเกินไป

สิ่งที่คน ทั้งหลายยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่แน่นอนได้ คืออาการรุนแรงเท่าไหนถึงจะเรียกว่าน่าเป็นห่วง อาการประมาณไหน ถึงเรียกว่าปกติ สามารถรักษาตัวที่บ้านได้ คำตอบนั้นก็ขึ้นอยู่กับอายุของลูกน้อย และอาการอื่น ๆ รวมถึงระยะเวลาของไข้ ฉะนั้นเราลองมาดู อายุของเด็ก แต่ละวัยและ อาการของเขา ว่าเราจะมี การรับมือ กับการที่ ลูกเป็นไข้ ได้อย่างไรบ้าง

เมื่อทารกเป็นไข้

วิธีดูแลลูก เป็นไข้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับทารก ที่มีอายุ 6 เดือน หรือน้อยกว่า นั้น เมื่อมีไข้เกินกว่า 37 องศาพร้อมกับ มีอาการอื่น ที่แทรกซ้อนเช่น มีอาการอาเจียน ท้องเสีย ผื่นขึ้น เซื่องซึม ผิวหนังเริ่มเปลี่ยนสี การหายใจติดขัด หรือลูกคุณมีอาการปวดเจ็บ โดยเฉพาะบริเวณคอควรพาไปพบแพทย์ทันที

ทารกที่มีอายุ 6 เดือน ถึง 1 ขวบ

เด็กที่มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 6  เดือนถึงหนึ่งขวบ คุณควรจะรีบพาเขาไปพบแพทย์ทันที ถ้าหากเขามีไข้นานเกินกว่า 1 วัน หรือว่ามีอาการแทรกซ้อนเพิ่มเติม ตามที่ได้กล่าวอาการเหล่านั้นไว้ข้างต้น

บางคนอาจจะเถียงว่าการเป็นไข้ในเด็กไม่ได้เกิดจากการขึ้นของฟัน แต่แม่ที่ได้ผ่านพ้นตอนนั้นมา จะบอกคุณได้ว่าทุกครั้งที่ลูกมีฟันขึ้น เด็กจะมีอาการเป็นไข้ระดับต่ำ

เด็กวัยเตาะแตะ ที่มีอายุ 1-2 ขวบ

วิธีดูแลลู กเป็นไข้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กวัยหัดเดิน ถ้ามีไข้ที่น้อยกว่า 39 องศา และ สามารถควบคุม ได้โดยการทาน ยาลดไข้สำหรับเด็ก ที่ซื้อได้จากตาม ร้านขายยา หรือ จากยาสามัญประจำบ้าน ก็ไม่จำเป็นที่จะต้อง พาไปพบแพทย์ แต่อย่างไรก็ดี ถ้าไข้ยังสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนมากกว่า 39 องศา และ ไม่สามารถ ควบคุม ได้ด้วยยาทั่วไป หรือวิธีอื่น ๆ และ มีไข้นานเกินกว่า 2 วัน พร้อมกับมี อาการอื่นแทรกซ้อน เข้ามาก็ควรพาไป พบแพทย์โดยทันที

การรักษาที่บ้านเมื่อลูกเป็นไข้

วิธีดูแลลูกเ ป็นไข้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ให้ ลูกคุณดื่มน้ำสะอาด หรือ น้ำผลไม้ที่เจือจาง เด็กที่มีอายุ 6 เดือน หรือ น้อยกว่าควรดื่มน้ำบ่อย ๆ
  • ให้ลูก ของคุณสวมใส่เสื้อผ้าบาง ๆ หรือใช้ผ้าขนหนูบาง ๆ ห่มให้เขา อย่าพยายาม ที่จะห่มผ้าหนา เพียงเพื่อที่จะให้ เขาเหงื่อออก การห่มผ้าหนา ยิ่งทำให้ มีไข้เพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าอากาศหนาวการห่มผ้าหนา ๆ ให้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี แต่เมื่อ ร่างกายลูกของ คุณอุ่นขึ้นแล้ว ก็ควรจะใช้ผ้าบางขึ้น
  • เช็ดตัวเด็ก โดยใช้ผ้าค่อนข้างเปียก บิดผ้าไม่หมาดเกินไป เพื่อให้น้ำ เป็น ตัวช่วย ลดความร้อนจากร่างกายลูก
  • การรักษาโดยการทานยา จากตามร้านขายยา ควรอ่านวิธีการกินยา ให้ดีไม่ควรที่จะให้ ลูกกินยาเกินขนาด

เด็กที่มีอายุ 2 ขวบ หรือ มากกว่า

วิ ธีดูแลลูกเป็นไข้

เด็กที่มี อายุ 2 ขวบหรือมากกว่า ที่มีไข้เกินกว่า 39 องศา และ ได้รับ การรักษา จาก ยาแผนปัจจุบันมานาน 6 วัน จำเป็น ต้องได้รับ การพักผ่อนที่เพียงพอ เพื่อที่จะให้ ร่างกายมีแรงต่อสู้กับโรค

ถ้ายังมี ไข้เกินกว่า 6 วัน พร้อมกับมี อาการอื่นแทรกซ้อน ก็ควรที่จะพาไป พบแพทย์ทันที

สัญชาตญาณของแม่

วิธีดูแ ลลูกเป็นไข้

ผู้เป็นแม่จะรู้จักลูกดีกว่าใคร คุณอาจจะตัดสินเองได้ว่าการเป็น ไข้ของลูกไม่น่าจะเป็นอะไร หรือเป็นบางอย่างที่อันตราย แต่ถ้าคุณเป็นคุณแม่มือใหม่ อย่าไปคิดว่าการพา ลูกไปหาหมอเป็น การวิตกกังวล หรือ คิดมากไป เมื่อมันเกิดกับลูกคุณ คุณควรที่จะ เลือกความปลอดภัยดีกว่ามานั่งเสียใจทีหลัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Source : webmd.com

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :

7 สาเหตุของอาการ คันในที่ลับ คันไข่ ทำยังไงดี หาคำตอบให้คุณผู้ชาย!

เป็นไข้ขนาดไหนถึงควรพาลูกไปหาหมอ

กรมควบคุมโรค เตือนให้ เฝ้าระวัง โรคไข้เลือดออกในเด็ก ในช่วงนี้!!

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team