ลูกคือของขวัญที่ล้ำค่าของคุณพ่อคุณแม่ แต่หากลูกน้อยมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย อาจสร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่ได้ เพราะลูกจะต้องการการดูแลเป็นพิเศษกว่าเด็กทั่วไป อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าด้วยความรักและการดูแลที่ถูกต้องจะสามารถทำให้ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย เติบโตได้อย่างแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้ำหนักตามเกณฑ์ แต่คุณแม่ควรต้องทำความเข้าใจก่อนค่ะว่าสาเหตุที่ทำให้ ลูกแรกเกิดน้ำหนักน้อย คืออะไร และมีวิธี บำรุงยังไง ให้แข็งแรง
สารบัญ
ลูกหนักเท่าไร เข้าข่าย ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย
โดยปกติแล้วทารกแรกเกิดในไทยจะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยประมาณ 3,000 กรัม มีตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร หรือมีน้ำหนักตัวระหว่าง 2,500-4,000 กรัม หากน้อยกว่า 2,500 กรัม ถือว่าทารกน้ำหนักน้อยกว่าปกติ ซึ่งหลังจากทารกคลอดได้ 5-7 วัน น้ำหนักตัวจะลดลงเล็กน้อย โดยมีอัตราการลดลงของน้ำหนักที่แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ทารกที่กินนมแม่ น้ำหนักตัวจะลดลงประมาณ 7-10% ของน้ำหนักแรกเกิด
- ทารกที่กินนมชง น้ำหนักตัวจะลดลงประมาณ 5% ของน้ำหนักแรกเกิด
อย่างไรก็ตาม น้ำหนักของลูกน้อยจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับน้ำหนักแรกเกิดเมื่ออายุ 10-14 วันขึ้นไป แต่กรณีที่ลูกน้อยมีอาการป่วย หรือเป็นเด็กที่คลอดก่อนกำหนดก็อาจต้องใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์กว่าน้ำหนักจะกลับมาเท่ากับตอนแรกเกิดได้
สาเหตุที่ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย
หนึ่งในสาเหตุหลักของภาวะ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ที่พบได้บ่อยก็คือ “การคลอดก่อนกำหนด” (preterm birth) ซึ่งโดยปกติคุณแม่ตั้งครรภ์จะคลอดที่อายุครรภ์ประมาณ 38-40 สัปดาห์ แต่หากคุณแม่คลอดลูกน้อยก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์เต็ม นับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายก่อนตั้งครรภ์ ถือว่า เป็นการคลอดก่อนกำหนด ที่อาจส่งผลให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม โดยหากคลอดก่อน 30-32 สัปดาห์ และมีน้ำหนักเฉลี่ยน้อยกว่า 1,500 กรัม จัดได้ว่า “ทารกน้ำหนักน้อยมาก” ค่ะ
ทั้งนี้ ทารกคลอดก่อนกำหนด จะมีระยะเวลาในการเจริญเติบโตน้อยระหว่างอยู่ในครรภ์ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำหน้าที่ได้อย่างไม่สมบูรณ์ ยิ่งอายุครรภ์และน้ำหนักแรกเกิดน้อยเท่าไร ยิ่งต้องการการดูแลเป็นพิเศษมากขึ้นเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม นอกจากการคลอดก่อนกำหนดแล้ว สาเหตุที่ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย อาจเกิดได้จากปัจจัยต่อไปนี้ได้เช่นกัน
- ครรภ์แฝด ซึ่งทำให้เกิดการแบ่งพื้นที่ในครรภ์ รวมทั้งการแบ่งอาหารระหว่างทารกแฝดด้วย
- โรคทางพันธุกรรม
- มีปัญหาเกี่ยวกับรก เช่น รกเสื่อม รกลอกตัวก่อนกำหนด เลือดจึงไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ได้
- เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะเลือดข้นขณะตั้งครรภ์
- แม่ท้องไม่พร้อม ตั้งครรภ์ในขณะที่ยังอายุน้อย อาจทำให้บำรุงครรภ์ไม่ดีเท่าที่ควร
- ติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส เริม
- ตั้งครรภ์ท้องที่ 2 หลังจากที่คลอดลูกท้องแรกไม่ถึง 6 เดือน
- ภาวะทุพโภชนาการของแม่ ไปจนถึงการได้รับควันบุหรี่มือสองจากคนรอบตัวคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์
ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย บำรุงยังไง ให้แข็งแรง
นมแม่ดีที่สุด ในการบำรุงร่างกายลูกทารกวัยแรกเกิดค่ะ ไม่ว่าลูกจะเป็นเด็กที่คลอดปกติ หรือคลอดก่อนกำหนดก็ตาม โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำว่า ทารกควรได้กินนมแม่เป็นอาหารหลักตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน และกินนมแม่ควบคู่กับการกินอาหารที่มีประโยชน์ตามช่วงวัยตั้งแต่อายุ 6 เดือน – 2 ปี หรือกินต่อเนื่องนานกว่านั้นหากเป็นไปได้
ดังนั้น หากพบว่าลูกน้อยแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย คุณแม่ควรให้ลูกได้กินนมแม่อย่างต่อเนื่อง เพราะทารกที่มีภาวะนี้มักต้องการสารอาหารต่าง ๆ สูงกว่าทารกที่มีน้ำหนักปกติ ทั้งโปรตีน เกลือแร่ วิตามิน แคลเซียม ซึ่งนมแม่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและเสริมสร้างการเจริญเติบโตให้กับลูกน้อยที่มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยได้เป็นอย่างดี รวมถึงช่วยให้ลูกน้อยกลับมาเป็นเด็กที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงได้
นอกจากนี้ คุณแม่ที่มีลูกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยควรหมั่นตรวจเช็คน้ำหนักและการเจริญเติบโตของลูกอยู่เสมอ และลูกน้อยควรได้รับการฉีดวัคซีนครบทุกอย่างตามกำหนด อีกทั้งควรดูแลระบบทางเดินหายใจของลูกให้โล่งอยู่เสมอด้วยการดูดเสมะที่ค้างในปากและลำคอ ป้องกันลูกอาเจียนระหว่างให้นม ซึ่งหากลูกอาเจียนระหว่างหรือหลังให้นม คุณแม่ต้องดูดเสมหะในปากก่อน ตามด้วยการดูดที่จมูก เพื่อไม่ให้เกิดการสำลักเข้าหลอดลม และอย่าลืมควรจับทารกเรอเพื่อไล่ลมทุกครั้งหลังจากให้นม เพื่อป้องกันการสำลัก เนื่องจากระบบย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหารของลูกน้อยยังไม่ดีพอนั่นเองค่ะ
บำรุงร่างกายทารกคลอดก่อนกำหนดด้วยน้ำนม
อย่างที่บอกค่ะว่าทารกที่คลอดก่อนกำหนดควรได้รับนมแม่เป็นอาหารหลักเพื่อการบำรุงร่างกาย แต่หากมีกรณีใด ๆ ก็ตามที่ลูกไม่สามารถกินนมแม่ได้ คุณแม่ก็อาจเลือกนมผงสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดให้กับลูกน้อยได้ โดยจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำการเลือกนมผงจากแพทย์ก่อน และปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดค่ะ
-
บำรุงด้วยนมแม่
การให้นมแม่นั้นลูกควรได้ดูดนมจากเต้าดีที่สุดค่ะ แต่บางครั้งก็อาจมีเหตุให้ลูกน้อยยังไม่สามารถดูดนมจากเต้าได้ทันทีเช่นกัน ซึ่งกรณีที่ลูกน้อยคลอดในขณะอายุครรภ์ค่อนข้างเยอะ ประมาณ 34-37 สัปดาห์ และมีน้ำหนักตัวไม่น้อยเกินไป คือมากกว่า 2,000 กรัม ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยพบปัญหาความไม่พร้อมด้านร่างกาย สามารถให้กินนมแม่จากเต้าได้ตามต้องการ
กรณีที่ลูกน้อยมีน้ำหนักตัวที่ค่อนข้างน้อยมาก น้อยกว่า 2,000 กรัม หรืออายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ มักมีปัญหาความไม่สมบูรณ์ของอวัยวะต่าง ๆ เช่น การหายใจ ลูกตัวเล็กมาก ไม่มีแรงดูดได้ดีพอ หรือดูดกลืนได้อย่างสัมพันธ์กันไม่ได้ ลูกน้อยจะยังไม่สามารถเริ่มการกินนมแม่ทั้งจากขวดหรือเต้าได้ แพทย์อาจให้การดูแลโดยให้สารน้ำทางเส้นเลือดดำ และจะเริ่มให้นมแม่ทางปากเร็วที่สุด โดยเริ่มทีละนิดเมื่อสภาพร่างกายของลูกน้อยมีความพร้อม ซึ่งคุณแม่ควรเริ่มบีบเก็บน้ำนมเพื่อเตรียมไว้ป้อนเมื่อลูกน้อยพร้อมเริ่มกินนมไว้ได้เลยค่ะ
เคล็ดลับเพิ่มน้ำหนักทารกคลอดก่อนกำหนดด้วยนมแม่ |
|
|
|
-
แก้ปัญหาด้วยนมผง
หากทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดมีน้ำหนักตัวเกิน 2,000 กรัม แต่มีเหตุที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ และไม่มีปัญหาทางสุขภาพเป็นข้อห้าม อาจเลือกใช้นมผงสูตรปกติ (20 แคลอรี/30 มิลลิลิตร) แก่ลูกน้อย โดยเริ่มให้นมลูกในปริมาณน้อย ๆ ก่อน ครั้งละ 2 ซีซี/มื้อ ในวันแรก วันละ 4-6 ครั้ง แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนกระทั่งได้ปริมาณ 150-160 ซีซี/น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)/วัน ซึ่งจะให้แคลอรีประมาณ 110-120 แคลอรี/กิโลกรัม/วัน แล้วติดตามน้ำหนักและการเจริญเติบโตว่าเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ ถ้าน้ำหนักลูกยังเพิ่มได้ไม่ดี อาจต้องเลือกใช้นมงสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด (premature formula) ที่จะมีการผสมให้มีแคลอรีสูงขึ้นเป็น 24-27 แคลอรี ต่อ 20-30 มิลลิลิตร ทั้งนี้ การให้นมลูกน้อยที่คลอดก่อนกำหนด ควรอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลและคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดนะคะ
วิธีเลือก นมผงเด็กคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย
เด็กที่คลอดก่อนกำหนดซึ่งมีน้ำหนักตัวที่น้อยกว่าปกติ จะมีความต้องการพลังงานมากกว่าทารกปกติเพื่อช่วยให้ร่างกายเติบโตและพัฒนา นมผงที่จะนำมาให้ลูกน้อยที่มีภาวะดังกล่าวจึงต้องมีสารอาหารที่ครบถ้วน ทั้งโปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุในปริมาณที่สูงกว่านมสูตรปกติ เพื่อร่างกายลูกน้อยได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ และนมผงสำหรับเด็กคลอดก่อนกำหนดมักถูกพัฒนาสูตรมาเพื่อรองรับความต้องการดังกล่าวของลูกน้อย โดยคุณแม่ควรพิจารณาเลือกนมผงสำหรับทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยจากการคลอดก่อนกำหนด โดย เลือกตามคำแนะนำของแพทย์ เป็นอันดับแรก เนื่องจากคุณหมอที่ดูแลครรภ์คุณแม่คือผู้ที่รู้จักและเข้าใจสภาวะทางร่างกายของลูกน้อยมากที่สุด ทั้งน้ำหนัก อายุ และสุขภาพโดยรวมของลูก
นอกจากนี้ ควรเลือกนมผงที่มีสารอาหารจำเป็นและมีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูกอย่างครบถ้วน และปริมาณสูงเพียงพอ ทั้งพลังงาน โปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุ ดังนี้
สารอาหารที่ควรมีในนมผงเด็กคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย |
|
|
ในปริมาณสูง เพื่อช่วยในการย่อยและดูดซึมไขมันและแคลเซียมได้ดี |
|
ในปริมาณที่สูงเพียงพอกับความต้องการของทารกคลอดก่อนกำหนด และมีความใกล้เคียงนมแม่ |
|
ตามมาตรฐานองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) / องค์การอนามัยโลก (WHO) |
|
เป็นกลูโคสและแลคโตสชนิดเดียวกันกับนมแม่ เพื่อการย่อยและการดูดซึม เป็นแหล่งพลังงานที่เหมาะสม |
|
ให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี ต่อนม 20 มิลลิลิตร (ซีซี) |
|
จำเป็นต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้และความจำ |
|
ในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน |
|
ลดการเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ |
ตัวอย่าง นมเด็กคลอดก่อนกำหนด และ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย
ยี่ห้อ | ปริมาณ | เหมาะสำหรับ | สารอาหารที่จำเป็น/ส่วนผสม 100 มิลลิลิตร |
Enfalac A+ Catch-up Care
สูตร 1 |
400 กรัม | สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าปกติ รวมถึงเด็กที่คลอดก่อนกำหนด |
|
Pre NAN Gold Pro | 400 กรัม | สำหรับทารกเกิดก่อนกำหนดและทารกที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่า 1,800 กรัม |
|
Nutricia Infatrini | 400 กรัม | สำหรับทารกที่มีภาวะขาดสารอาหารหรือเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร วัยแรกเกิด – 12 เดือน |
|
Similac Neosure | 370 กรัม | สำหรับเด็กคลอดก่อนกำหนดแรกเกิด-1 ปี |
|
นมผงสำหรับเด็กคลอดก่อนกำหนดที่นำมาเป็นตัวอย่างให้คุณแม่เลือกนี้ นอกจากจะมีสารอาหารที่ให้พลังงานครบถ้วนแล้ว ยังมีกรดไขมันโอเมก้า 3, 6 และ 9 รวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ มากมายที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างพัฒนาการของทารก อย่างไรก็ดี นมแม่ยังเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็กคลอดก่อนกำหนด ดังนั้น การเลือกนมผงเด็กคลอดก่อนกำหนด สำหรับทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย แทนการให้นมแม่ ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล หรือนักโภชนาการนะคะ
ที่มา : www.pobpad.com , www.phyathai.com , สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
วิธีอาบน้ำทารกแรกเกิด จำเป็นต้องอาบทุกวันไหม อาบอย่างไรไม่ให้ลูกป่วย
6 โยเกิร์ตสำหรับทารก 6 เดือน ที่แพ้แลคโตส และท้องเสียบ่อย
White noise เสียงไดร์เป่าผม ช่วยกล่อมทารก หลับสบายจริงไหม ?