วิธีเก็บเงิน เริ่มยังไง มาเก็บเงินรายสัปดาห์ แบบง่าย ๆ กันเถอะ

วิธีง่าย ๆ ที่จะทำให้มีเงินแสนใน 1 ปี ลอง วิธีเก็บเงินรายสัปดาห์ ที่จะช่วยรักษาวินัยทางการเงิน และทำให้เก็บเงินได้มากขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปฏิบัติการออมเงินนี้ เริ่มต้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถนำมาแปลงเป็นเงินบาทให้เหมาะกับประเทศไทยได้เลย หากทำตามนี้อย่างเคร่งครัดแล้วล่ะก็ รับรองเลยว่า คุณจะมีเงินแสนภายใน 1 ปีแน่นอน มาเริ่มเก็บเงินตามแบบ วิธีเก็บเงินรายสัปดาห์ โดยเริ่มต้นที่ 100 บาทในสัปดาห์แรก และเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 100 บาทไปเรื่อย ๆ ตารางออมเงิน 500 บาท ตารางเก็บเงิน52วัน หรือใครอยากจะตั้งต้นด้วยเงินจำนวนมากกว่านั้น ก็ได้ ในสัปดาห์สุดท้ายปลายปี เงินสะสมในบัญชีก็จะมากขึ้นไปอีก

วิธีเก็บเงินรายสัปดาห์ ฟังดูไม่ยากเลยสำหรับการเริ่มต้น แต่บางคนก็ถอดใจกลางทาง! เคล็ดลับง่าย ๆ ในการออมเงินให้ตลอดรอดฝั่งมีอยู่ 2 ข้อ คือ

ตารางออมเงิน หรือ ตารางออมเงิน 500 บาท

1. กำหนดเป้าหมายการออมเงิน ตารางออมเงิน

การกำหนดเป้าหมายจะทำให้คุณมีแรงจูงใจ จินตนาการบ่อย ๆ ว่าเมื่อครบ 52 สัปดาห์ คุณก็จะมีเงินก้อนไว้ทำสิ่งที่คุณต้องการ ซื้อของขวัญให้ตัวเอง และคนที่รัก การคิดถึงสิ่งที่ตัวเองอยากได้ อาจจะทำให้คุณมีความสุข มีความหวัง และมีความมุ่งมั่นที่จะเก็บเงินมากขึ้น ถ้าตั้งใจแล้วล่ะก็ เขียนบันทึกไว้ให้ชัดเจนไปเลยก็ได้ว่าแต่ละสัปดาห์ จะต้องออมเท่าไหร่

 

2. หากระปุกออมสินที่ถูกใจ

ตารางออมเงิน บางคนชอบกระปุกออมสินแบบใส จะได้เห็นว่ามีเงินเท่าไหร่แล้ว บางคนก็ชอบแบบทึบ ให้ความรู้สึกลึกลับ ไม่ต้องรู้ว่ามีเงินเท่าไหร่แล้วนะ เดี๋ยวค่อยมาตื่นเต้นทีเดียวตอนทุบกระปุกไปเลย หรือใครที่ชอบเห็นตัวเลขดิจิตอลบ้าง ตัวเลขบนสมุดบัญชี ก็เลือกวิธีฝากธนาคารบ่อย ๆ ก็ได้ การได้เห็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งแรงผลักดัน และกำลังใจในการเก็บเงินไปจนถึงปลายปีเหมือนกันนะ

 

ตารางออมเงิน500บาท บางคนชอบเห็นเงินเยอะ ๆ บางคนชอบเห็นตัวเลข การหาวิธีเก็บเงินที่ถูกใจ จะช่วยกระตุ้นให้ไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีออมเงินรายสัปดาห์ 1 ปี มีเงินเท่าไหร่ ? ตารางเก็บเงิน52วัน

ตารางออมเงิน วิธีเก็บเงินให้รวยนั้น วินัยทางการเงินสำคัญมาก เก็บเล็ก เก็บน้อยไม่เป็นไร สำคัญที่เก็บสม่ำเสมอแค่ไหนมากกว่า สำหรับใครที่ไม่อยากกดดันตัวเองมาก อาจจะเริ่มต้นที่ 1 บาท 5 บาท หรือ 10 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ไม่มากนัก อาจจะเก็บเหรียญที่ได้จากเงินทอนก็ได้ ใส่กระเป๋าสตางค์ไว้ก็หนัก เอามาหยอดกระปุกเล่น ๆ ดูซิว่า เมื่อครบ 52 สัปดาห์ จะมีเงินออมอย่างน้อย ๆ กี่บาท

  • เก็บเพิ่มสัปดาห์ละ 1 บาท เริ่มต้น 1 บาท 1 ปี ออมได้ 1,378 บาท

 

เก็บเงินเพิ่มสัปดาห์ละ 1 บาท ภาพจาก www.kuripotpinay.com

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • เก็บเพิ่มสัปดาห์ละ 5 บาท เริ่มต้น 5 บาท 1 ปี ออมได้ 6,890 บาท

 

ตารางออมเงิน500บาท เก็บเงินเพิ่มสัปดาห์ละ 5 บาท ภาพจาก www.kuripotpinay.com

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • เก็บเพิ่มสัปดาห์ละ 10 บาท เริ่มต้น 10 บาท 1 ปี ออมได้ 13,780 บาท

 

เก็บเงินเพิ่มสัปดาห์ละ 10 บาท ภาพจาก www.kuripotpinay.com

 

  • เก็บเพิ่มสัปดาห์ละ 100 บาท เริ่มต้น 100 บาท 1 ปี ออมได้ 137,800 บาท

ตารางเก็บเงินแสน สำหรับใครที่พอมีกำลังมากหน่อย ก็อาจจะเก็บเล็ก ผสมน้อยไปให้ครบตามเป้าหมายของแต่ละสัปดาห์ ตั้งเป้าหมาย และคิดถึงเงินแสนปลายปีเข้าไว้ จะได้มีกำลังใจ ฮึบ!

 

เก็บเงินเพิ่มสัปดาห์ละ 100 บาท ภาพจาก www.kuripotpinay.com

บทความที่เกี่ยวข้อง วิธีสอนลูกแต่ละช่วงวัย ให้รู้จักออมเงิน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สอนลูกอย่างไรให้รู้จักใช้เงิน

เก็บเงินเก่ง ออมเงินเป็น ก็ยังไม่เท่ากับการรู้จักใช้ และมีวินัยทางการเงิน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังตั้งแต่ยังเล็ก ให้เด็ก ๆ ค่อย ๆ ซึมซับไป ตั้งแต่การเลือกซื้อของ การจัดสรรปันส่วนรายจ่าย การจัดการกับรายได้ รวมทั้งการหาวิธีเพิ่มพูนจำนวนเงิน ไม่ว่าจะมาจากรายได้เสริม การลงทุน หรือรางวัลที่ได้จากความพยายามใด ๆ ก็ตาม

การปลูกฝังวินัยทางการเงินให้ลูก สามารถทำควบคู่ไปกับกระบวนการคิด ตัดสินใจ และการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะเป็นทักษะที่ส่งผลดีกับการดำเนินชีวิตของลูกในอนาคตอีกด้วย

 

การปลูกฝังวินัยทางการเงินให้ลูก สามารถทำควบคู่ไปกับกระบวนการคิด ตัดสินใจ และการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะเป็นทักษะที่ส่งผลดีกับการดำเนินชีวิตของลูกในอนาคตอีกด้วย ตารางออมเงิน500บาท

 

1. สอนให้ลูกรู้จักตัดสินใจ 

ในทุกก้าวของชีวิตทุกคนจะต้องผ่านการเลือกระหว่างสองสิ่ง หรือมากกว่านั้นมานับไม่ถ้วน การจะตัดสินใจเลือกในแต่ละครั้งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีทั้งข้อดี และข้อเสีย การสอนลูกให้รู้จักตัดสินใจเลือกโดยไม่โลเล ควรจะปลูกฝังตั้งแต่เล็ก ๆ จนถึงอายุ 2 ขวบ ปลูกฝังเรื่อย ๆ ให้ลูกเข้าใจว่า เราไม่สามารถจะซื้อทุกอย่างที่ต้องการได้

การสอนลูกตัดสินใจ พ่อแม่อาจจะเริ่มจากให้ลูกเลือกของสอง แล้วค่อยเพิ่มจำนวน อาจจะถามเหตุผลว่า ทำไมลูกจึงเลือกสิ่งนี้ มีวิธีการเลือกอย่างไร เพื่อฝึกฝนกระบวนการคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจให้กับลูก อีกทั้งคุณพ่อคุณแม่จะยังได้ฟังความคิดเห็นของลูกอีกด้วย

 

2. รายรับ - รายจ่ายรายสัปดาห์

สำหรับพ่อแม่ที่ให้ค่าขนมลูกเป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือนอยู่แล้วก็คุณผ่านข้อนี้ไปได้เลย แต่หากพ่อแม่คนไหนที่ยังไม่ได้ทำ คำแนะนำก็คือ ลองกำหนดค่าขนมให้ลูกเป็นรายสัปดาห์ ตั้งงบค่าของเล่น ค่าหนังสือ ค่าเครื่องเขียน หรือของจิปาถะอื่น ๆ เป็นตารางรายเดือน เพื่อให้ลูกรู้จักจัดการงบประมาณของตัวเอง

 

3. รักษากติกา

บางครั้งก็ต้องตามใจ บางครั้งก็ต้องเข้มงวด เพื่อสอนให้ลูกเข้าใจกฎ เคารพกติกา อันจะเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตต่อไปในภายภาคหน้า ในเรื่องของการใช้เงิน เมื่อคุณพ่อคุณแม่ได้ตั้งงบประมาณเอาไว้แล้ว ก็ต้องใจแข็ง เท่าไหร่ก็เท่านั้น หากอยากได้เพิ่ม ก็ต้องทำอะไรสักอย่างให้บรรลุเป้าหมาย เช่น ช่วยงานคุณพ่อคุณแม่ สอบผ่าน ได้คะแนนดี ก็อาจจะได้รางวัลพิเศษ เพื่อเป็นกำลังใจให้ลูกก็ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง พ่อแม่รู้ไหม ? แรงกระตุ้นทางบวกจะทำให้ลูกเป็นเด็กดี และมีความสุข

 

4. รู้จักรอคอย เก็บเล็กผสมน้อย เพื่อเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่

พ่อแม่ต้องปลูกฝังว่าเงินไม่ได้หาได้ง่าย ๆ กว่าจะได้มาต้องอดทนรอคอยมากขนาดไหน หากพ่อแม่เห็นว่า ของที่ลูกอยากได้มีราคาสูงมากเกินไปก็บอกว่าให้ลูกลองเก็บเงินดูก่อน เดี๋ยวพ่อแม่ช่วยสมทบให้นะ หรืออาจจะสอนให้ลูกทำงานพิเศษ โดยเริ่มจากงานในบ้านง่าย ๆ ก่อน แล้วค่อยเพิ่มระดับความยากขึ้นไป เพื่อที่ลูกจะได้รู้สึกภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองได้มาจากน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง สอนลูกให้ช่วยงานบ้านอย่างเต็มใจ

 

5. สนับสนุนให้ลูกทำงานพิเศษ

สำหรับเด็กเล็กอาจจะไม่เหมาะเท่าไหร่ แต่อาจเป็นการจ้างงานลูกภายในบ้านได้ เช่น ล้างรถ รดน้ำต้นไม้ หรือเลี้ยงน้อง เป็นต้น สำหรับเด็กโตแล้วแนะนำให้พ่อแม่ลองให้ลูกหางานพิเศษบ้าง แทนการให้ลูกไปเรียนพิเศษอย่างเดียว อาจจะทำเฉพาะในช่วงปิดเทอมก็ได้

 

6. ใช้เงินให้เป็น รู้จักคุณค่าของเงิน

เด็กหลายคุณเริ่มนับเลขเป็นแล้ว แน่นอนว่าเริ่มที่จะรู้จักการใช้จ่ายเงิน ดังนั้น ถ้าพ่อแม่เห็นว่า เมื่อไหร่ที่ลูกร้องไห้อยากได้ของเล่น หรือของอื่น ๆ ที่ตัวเองอยากได้ สิ่งแรกที่ควรทำคือ ถามลูกว่าอยากได้มากขนาดไหน โดยมีระดับตั้งแต่ 1 - 5 จากน้อยไปมาก ถ้าเด็กตอบว่า 5 แสดงว่ามาก หลังจากนั้นอีกหนึ่งสัปดาห์ลองมาถามใหม่ ดูว่าคำตอบยังเป็นเหมือนเดิมไหม เพื่อให้ลูกรู้จักการตัดสินใจ และการรู้คุณค่าของเงิน

 

7. พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด

พฤติกรรมของพ่อแม่ เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด เด็กเล็ก ๆ จะมีพฤติกรรมเลียนแบบคนใกล้ชิด เช่นเดียวกันกับวินัยทางการเงิน ถ้าพ่อแม่อยากสอนให้ลูกใช้เงินเป็น รู้จักเก็บออม แต่พ่อแม่กลับมีนิสัยตรงกันข้ามเสียทุกอย่าง ลูกก็จะไม่เชื่อ และไม่ทำตามสิ่งที่เห็น สิ่งที่ควรทำง่าย ๆ นั่นคือ การจ่ายเงินค่าขนมให้ลูกตรงเวลา ไม่ผิดสัญญาหากบอกว่าจะให้รางวัลลูก เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเด็ก ๆ จะจำฝังใจ พวกเขาจะรู้สึกแย่ ถ้าหากว่าพ่อแม่ผิดสัญญา ต้องระวังอย่างยิ่ง

 

ขอบคุณที่มา : Kuripotpinay.com

บทความที่น่าสนใจ :

วิธีสอนลูกออมเงิน ตั้งแต่เด็ก โตไปจะได้ไม่ลำบาก

ประโยชน์ของการออม มีเงินมันดีแบบนี้นี่เอง !! อยากรู้คลิกเลย

พ่อแม่ต้องรู้! 4 เคล็ดลับทำให้ลูกมีเงินแสนได้ตั้งแต่ก่อนเรียนจบ

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team