ความแตกต่างของการเลี้ยงลูกชายและลูกสาว

การดูแลลูกชายลูกสาว แตกต่างกันไหม ถ้ามีพี่น้อง 2 คนขึ้นไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับรายการ TAP Ambassador ของเราในสัปดาห์นี้ ยังคงจะมาพูดคุยกันเกี่ยวกับเพศศึกษาในครอบครัวกันเหมือนเดิม ต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนที่เราได้คุยกันเรื่องวิธีตอบคำถามเรื่องเพศของเด็ก ๆ โดยหัวข้อในวันนี้คือ “ ความแตกต่างของการเลี้ยงลูกชายและลูกสาว ” ซึ่งในวันนี้  theAsianparent จะพาคุณพ่อคุณแม่ทุกคนมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการวิธีการเลี้ยงดูลูกสาวและลูกชายไปพร้อม ๆ กันกับคุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาสมองและการเรียนรู้ของเด็ก

 

การดูแลลูกชายลูกสาว แตกต่างกันไหม

คุณหมอ : จริง ๆ แล้ว ระหว่างลูกสาวและลูกชายควรจะแบ่งเป็นตามวัยมากกว่า ถ้าอยู่ในช่วงวัยเด็กหลักการนั้นเหมือนกัน เพียงแต่วิธีการจะต่างกัน โดยหลักการคือ การส่งเสริมให้ลูกได้เรียนรู้ในสิ่งที่ลูกสนใจ และส่งเสริมให้ลุกได้เรียนรู้ว่าสิ่งไหนทำได้ สิ่งไม่ควรทำ รวมไปถึงเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของตัวเอง และสิทธิบนร่างกายของตนเอง รวมถึงการให้เกียรติผู้อื่นด้วย ในส่วนของวิธีการนั้น โดยตามธรรมชาติผู้ชายและผู้หญิง ก็จะต่างกัน ซึ่งเด็กผู้ชายส่วนใหญ่ ชอบที่จะเคลื่อนไหว ชอบที่จะเรียนรู้ที่จะต้องใช้พลัง และเด็กผู้ชาย จะมีความอยากรู้อยากเห็น หากเป็นเพศหญิงก็ต้องทำให้ลูกรู้ว่าอย่าให้ใครมาล่วงละเมิดร่างกายเขา เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยประถมเด็ก ๆ ก็จะเริ่มมีเพื่อนทั้งเพื่อนเพศเดียวกัน และเพื่อนต่างเพศเยอะขึ้น รวมถึงเด็กบางที่เริ่มแสดงออกว่าความชอบไม่ตรงกับเพศสภาพ

บทความที่น่าสนใจ : พี่น้องรักกัน เลี้ยงลูกยังไงให้พี่น้องรักกัน ช่วยเหลือ ดูแลกัน

 

คุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาสมองและการเรียนรู้ของเด็ก

 

หากลูกเข้าสู่วัยเรียนแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกเรื่องเพศศึกษาเลยดีไหม

คุณหมอ : สำหรับเรื่องนี้ จริง ๆ สามารถสอนได้เลย เช่น ผู้หญิง ผู้ชายต่างกันอย่างไร อวัยวะ หน้าที่ของร่างกาย และเรื่องที่ว่าเด็กเกิดมาได้อย่างไร ตรงนี้สามารถสอนได้เลย ซึ่งก็จะมีนิทานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ ที่สามาถเอาไปสอนเด็กได้อีกด้วย ซึ่งตรงนี้ก็ถือว่าเป็นการสอนเรื่องเพศศึกษาไปในตัว โดยหลายคนอาจคิดว่าไม่จำเป็น เพราะคิดว่าเมื่อเด็กโตขึ้นคงจะรู้ได้เอง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น หากเมื่อเขาโตขึ้นจนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น จะทำให้พวกลูกไม่กล้าที่จะถามแม่ ส่วนแม่ก็ไม่กล้าที่จะสอนลูก ทำให้เด็กขาดความรู้จากคนที่ควรจะถาม ซึ่งตรงนี้ยังช่วยป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศได้อีกด้วย เพราะจากการที่ลูกเข้าใจเกี่ยวกับบทบาททางเพศของตนเอง และสิทธิบนร่างกายของตัวเอง จะทำให้ลูกสามารถดูแลตัวเองได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ลูกเข้าสู่วัยเรียนแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกเรื่องเพศศึกษาเลยดีไหม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ควรสอนลูกยังไงว่า นอกจากเพศชายเพศหญิงแล้ว ยังมีเพศทางเลือกอื่น ๆ อีก

คุณหมอ : สิ่งเหล่านี้เริ่มต้นได้โดยการทำให้ดูเป็นตัวอย่างก่อน ซึ่งคนสมัยก่อนมักจะชินกับการใช้คำอย่าง ไอ้อ้วน ไอ้ผอม ในการเรียกเด็ก ซึ่งคำเหล่านี้ถือเป็นการบูลลี่ ซึ่งควรเราจะบอกลูกว่าคำแบบนี้ไม่ควรพูด เพราะบางครั้งคนฟังเอง ก็ไม่ได้รู้สึกยินดี แต่ถ้าหากลูกเกิดสงสัย และมีคำถามเกี่ยวกับ LGBT คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้โอกาสตรงนี้ในการสอนลูกได้เลยว่าคนเราไม่จำเป็นต้องชอบเหมือนกัน ให้เด็ดเข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องธรรมดา เป็นแค่เรื่องความชอบที่ต่างกัน

บทความที่น่าสนใจ : พื่อนต่างเพศของลูกคืออะไร และอธิบายคำว่า แฟน กับลูกวัยอนุบาลอย่างไรดี

 

เราจะสอนลูกยังไงว่า นอกจากเพศชายเพศหญิงแล้ว ยังมีเพศทางเลือกอื่น ๆ อีก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ลูกสาวมักติดคุณพ่อ ลูกชายมักติดคุณแม่ เป็นเรื่องจริงใช่หรือไม่

คุณหมอ : เป็นเรื่องจริง ซึ่งจะจริงประมาณ 70% – 90% ซึ่งจะเกิดในช่วงประมาณอนุบาล ประมาณ 2 – 4 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกเริ่มเรียนรู้บทบาททางเพศมากขึ้น ซึ่งในทางจิตวิทยาเกิดจากการที่เด็กผู้หญิงรักพ่อ และอยากให้พ่อรักเขา ซึ่งเมื่อเห็นว่าพ่อรักแม่ ลูกสาวเลยจะเลียนแบบแม่ ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้เพศสภาพของตัวลูก ซึ่งถ้าเป็นลูกชายก็จะสลับกัน คือ อยากให้แม่รักเขา เลยเกิดการเลียนแบบพ่อ

 

ลูกชายวัย 10 เดือน หวงแม่มาก คุณพ่อก็ชอบแกล้งหยอก เราควรอธิบายยังไงดี

คุณหมอ : ตรงนี้ควรอธิบายให้คุณพ่อเข้าใจ เพราะที่ลูกหวงเพราะลูกเข้าใจว่าแม่คือโซนอบอุ่นของเขา แม่คือของเขา แม่กับตัวเขาคือคนคนเดียวกัน เพราะฉะนั้นเวลาที่พ่อมาจับโซนที่เขารู้สึกว่าเป็นของเขา เขาก็จะไม่ชอบ ซึ่งเด็กบางคนอาจจะถึงขั้นโกรธ โมโห และร้องไห้ได้ ซึ่งก็ไม่ควรทำให้เด็กโมโหจนบ่อยเกินไป

 

ลูก 1 ขวบ น้องซนมาก อยู่ไม่เฉยเลย สงสัยว่าน้องเป็นโรคสมาธิสั้นหรือเปล่า

คุณหมอ : จริง ๆ สำหรับเรื่องของสมาธิสั้น เราจะไม่วินิจฉัยกันในช่วง 1 – 3 ปีแรก เพราะส่วนใหญ่ในช่วงปีนี้จะเป็นช่วงที่ซนตามวัย แต่ถ้าหากเด็กบางคนที่สมาธิสั้นแบบอาการหนักจริง ๆ ก็สามารถวินิจฉัยในช่วงนี้ได้ ซึ่งสามารถแยกได้ระหว่างการซนตามวัยกับการเป็นโรคสมาธิสั้นขั้นรุนแรง โดยเด็กที่ซนตามวัยนั้น จะสามารถโฟกัสในสิ่งที่ตัวเองสนใจได้นาน โดยประมาณ 2 – 5 นาที ต่ออายุประมาณ 1 ขวบ ถ้า 2 ขวบ จะสามารถโฟกัสในสิ่งที่สนใจได้ประมาณ 4 -10 นาที เป็นต้น เพราะฉะนั้นควรสังเกตว่าลูกรอได้ไหม แต่อย่างไรก็ตามหากเด็กที่ซนมาก ๆ ไฮเปอร์มาก ๆ การเลี้ยงดู คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ซึ่งจะส่งผลว่าเด็กจะโตไปเป็นเด็กที่มีพลังงานสูง แต่สมาธิดี หรือเด็กสมาธิสั้น ซึ่งการที่ให้ลูกเล่นโทรศัพท์จะส่งผลให้เด็กมีสมาธิที่สั้น

บทความที่น่าสนใจ : ลูกเป็นสมาธิสั้นทำยังไง? กิจกรรมแก้โรคสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ซุกซน

 

ลูกสาว 3 ขวบ รู้จักผลไม้และตัวอักษร แต่ว่าไม่สามารถแยกสีได้ ต้องทำอย่างไร

คุณหมอ : เป็นสิ่งที่ค่อย ๆ สอนกันไปได้ แต่ต้องไม่ใช่การสอนแบบกดดัน แต่ต้องเป็นการสอนผ่านการเล่นแทน เช่น รถที่ขับผ่านมาเป็นสีอะไร เพราะวัยนี้เป็นวัยที่ซึมซับ

อยากทราบเกี่ยวกับการดูแลแผลที่เกิดจากการตัดเล็บโดนเนื้อทารก ที่ถูกต้อง

คุณหมอ : คุณแม่ไม่ต้องกังวล ทายาฆ่าเชื้อที่สามารถหาซื้อได้ และระวังไม่ให้โดนน้ำ หรือเปื้อนโคลนก็พอ

 

เด็กผู้ชายจะพูดช้ากว่าเด็กผู้หญิงจริงไหม ?

คุณหมอ : โดยส่วนมากจะเป็นอย่างนั้นค่ะ เพราะความถนัดในการเรียนรู้ของเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายจะต่างกัน เด็กผู้หญิงจะสนใจรายละเอียด ความแตกต่างของน้ำเสียง ความแตกต่างของการแสดงสีหน้า โดยธรรมชาติของการเลี้ยงดูเด็กผู้ชายส่วนใหญ่ จะไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนมากเท่าเด็กผู้หญิง เด็กผู้ชายเลยจะมีธรรมชาติของการเริ่มพูดช้ากว่าเด็กผู้หญิงนิดหน่อย

 

การดูแลและทำความสะอาดใบหู ตามข้อพับต่าง ๆ ของเด็กแรกเกิด มีวิธีการอย่างไรบ้าง

คุณหมอ : ในส่วนของรูหู แค่ใช้สำลีเช็ดบริเวณรอบนอก ไม่ต้องแคะ เพราะธรรมชาติของคนเราขี้หูจะหลุดออกมาได้เอง หากเป็นตามซอกพับให้ใช้สำลีชุบน้ำ ค่อยเช็ด ๆ หากเป็นร่องคอแดง ๆ ที่เกิดจากการเสียดสี ก็สามารถใช้ครีมป้องกันการเสียดสีทาได้ แต่ไม่แนะนำให้ทาแป้ง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

และก่อนที่จะจากกันในวันนี้ หมอขอสรุปหัวข้อ “ ความแตกต่างของการเลี้ยงลูกชายและลูกสาว ” นั้น สำหรับหลักการนั้นมีเหมือนกัน คือ ส่งเสริมการเรียนรู้จากสิ่งที่ลูกสนใจ แต่ต้องไม่ปิดกั้นการเรียนรู้ แต่ถ้าหากลูกถามให้ใช้โอกาสนั้นสอนลูกในเรื่องความแตกต่างทางเพศ และหลักการข้อที่สองคือ อย่าเรียกใครด้วยการบูลลี่ เพราะคนฟังอาจจะรู้สึกว่าไม่ได้ยินดีที่จะถูกเรียกแบบนั้น เพราะฉะนั้นจึงอยากให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจในเรื่องของหลักการการเรียนรู้ โดยสามารถศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาการเลี้ยงลูก หรือการเลี้ยงลูกเชิงบวกได้ ซึ่งปัจจุบันก็มีข้อมูลมากมาย ทั้งในเพจ theAsianparent หรือจะเป็นเพจ เรื่องเด็ก ๆ by หมอแอม หรือจะเป็นเพจของคุณหมอหรือนักจิตวิทยาท่านอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งหากนำมาปรับใช้อย่างถูกวิธีจริง ๆ ก็จะทำให้ลูกของเราโตไป เป็นบุคคลที่มีคุณภาพถึงแม้ว่าลูกจะโตขึ้นไปเป็นเพศใดก็ตาม

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : 

เพศเรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา คุณพ่อคุณแม่มีวิธีรับมือยังไง!

สอนลูกอย่างไรให้เป็นเด็กที่เคารพตนเอง และยอมรับความแตกต่างของผู้อื่น

 

ที่มา : คุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ

เจ้าของเพจ เรื่องเด็ก ๆ by หมอแอม

บทความโดย

watcharin