ปัจจัยที่ทำให้เด็กสูงหรือ เตี้ย
1. พันธุกรรม
โดยทางการแพทย์แล้ว พันธุกรรมทางฝ่ายแม่ มีอิทธิพลต่อการกำหนดส่วนสูงของลูกมากกว่าฝ่ายพ่อ และบางกรณีที่พ่อแม่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอในวัยเด็ก ทำให้ตัวเล็ก ซึ่งไม่เกี่ยวกับพันธุกรรม แต่ลูกได้รับสารอาหารที่เพียงพอกว่า ก็อาจจะตัวสูงกว่าพ่อแม่ได้
2. การเลี้ยงดู
ได้แก่ อาหารและการออกกำลังกาย อาหารที่ช่วยให้กระดูกลูกแข็งแรงและมีการเติบโตได้ดีนั้น ก็คืออาหารที่มีคุณค่าครบทั้ง 5 หมู่โดยเริ่มตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ และระหว่างการตั้งครรภ์ ควรได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ตลอดจนหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ จนกระทั่งลูกคลอดออกมา ส่วนการออกกำลังกายก็สำคัญ ถ้าลูกได้ออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนัก เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง กระโดด จะช่วยกระตุ้นให้กระดูกมีการเติบโตดี และมีการหลั่งฮอร์โมนช่วยเจริญเติบโตเพิ่มมากขึ้น
3. ไม่ขาดฮอร์โมนช่วยเจริญเติบโต
การที่กระดูกคนเราจะเจริญเติบโตเต็มที่หรือไม่นั้น มีกลไกควบคุมอยู่หลายอย่าง โดยเฉพาะฮอร์โมนสำคัญคือ growth hormone ซึ่งควบคุมการเติบโตที่ผลิตมาจากต่อมใต้สมอง กับอีกตัวคือ ไทรอยด์ ที่ผลิตจากต่อมไทรอยด์บริเวณคอ ฮอร์โมนเหล่านี้จะควบคุมสมดุลของการสร้างกระดูก และทำให้เด็กตัวสูงตามกรรมพันธุ์กำหนดไว้ โดยมีอาหารที่รับประทานเข้าไปเป็นตัวเสริม
การที่ฮอร์โมนจะเติบโตผิดปกติหรือไม่ ต้องดูว่าทั้งสองระบบนี้สมดุลกันหรือเปล่า เหตุเพราะว่ามันทำงานออกฤทธิ์เสริมซึ่งกันและกัน ถ้าร่างกายสร้างฮอร์โมนของการเจริญเติบโตน้อยเกินไป แล้วคุณหมอตรวจพบก็อาจจะให้ฮอร์โมนเสริม แต่กรณีเหล่านี้จะพบว่ามีน้อยมาก ถ้าปกติดี ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ก็ไม่จำเป็นต้องเพิ่มฮอร์โมน
4. ความเจ็บป่วย
หากเด็กไม่สบายบ่อย มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังบางอย่าง เช่น เป็นหอบ หืด ต้องรักษากันยาวนาน กระบวนการรักษา ตลอดจนการใช้ยาบางอย่าง ก็อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตได้ นอกจากนี้ ควรต้องระมัดระวัง ไม่ให้เด็กได้รับความกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะอย่างแรง เช่น หกล้ม ตกชิงช้า ตกบันได ศีรษะกระแทกพื้น ล้วนส่งผลเช่นเดียวกัน
5. ความเครียด
ความเครียดจากสภาพแวดล้อมในครอบครัว โรงเรียน โดยเฉพาะการเรียนในปัจจุบันมุ่งเน้นผลสำเร็จ และการแข่งขันสูง ส่งผลให้เด็กเครียดมากขึ้น ความเครียด มีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ
อ่าน จริงหรือที่พ่อแม่เตี้ย ลูกต้องเตี้ยไปด้วย คลิก
จริงหรือที่ พ่อแม่ตัว เตี้ย ลูกต้องเตี้ยไปด้วย
นพ.จักรกฤษณ์ ภูมิสวัสดิ์ ประธานมูลนิธิเพื่อพัฒนาการแพทย์ทางเลือก กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “พ่อแม่ที่มีรูปร่างเล็ก เตี้ย มักจะเข้าใจว่าพันธุกรรมจะมีผลต่อพัฒนาการด้านความสูงของลูก นั่นคือความเชื่อแบบเดิมๆ แต่ความจริงแล้วถึงแม้ว่าพ่อแม่จะไม่สูง แต่ถ้าลูกได้รับการกระตุ้นอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้สูงได้ เพราะจากการศึกษาและค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์พบว่ากรรมพันธุ์ไม่ได้มีผลต่อความสูงอีกต่อไป
คุณหมอเผยถึงความเป็นไปได้ว่า ถ้ากินอาหาร และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม คนไทยจะสูงได้ประมาณ 170-180 เซนติเมตร นั่นแสดงว่าพฤติกรรมจากการเกิดมาแล้วสำคัญกว่าเรื่องพันธุกรรม เพราะจากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า ถ้าดูแลให้ถูกต้องทุกคนมีโอกาสสูงได้หมด” สรุปว่า พันธุกรรมจากพ่อแม่เตี้ย ลูกไม่จำเป็นต้องเตี้ยเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทั้งเรื่องอาหารและโภชนาการ การออกกำลังกาย และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ค่าเฉลี่ยส่วนสูงปกติของเด็ก
อายุ (ปี) อัตราการเพิ่มความสูง / ปี (เซนติเมตร)
แรกเกิด-1 ปี 25 ซม.ต่อปี
1 – 2 ปี 10 – 12 ซม.ต่อปี
2 – 4 ปี 7 – 8 ซม.ต่อปี
4 – 8 ปี (เด็กผู้หญิง) 5 ซม.ต่อปี
4 – 9 ปี (เด็กผู้ชาย) 5 ซม.ต่อปี
9 ปีขึ้นไป มากกว่า 5 ซม.ต่อปี
13 – 16 ปี (เด็กผู้หญิง) 5 – 7.5 ซม.ต่อปี
15 – 18 ปี (เด็กผู้ชาย) 5 – 7.5 ซม.ต่อปี
เทคนิคเพิ่มส่วนสูงให้เด็ก
1. การออกกำลังกาย
นพ.จักรกฤษณ์ ภูมิสวัสดิ์ ประธานมูลนิธิเพื่อพัฒนาการแพทย์ทางเลือก การใช้เทคนิคการออกกำลังกายกระตุ้นในแนวดิ่ง โดยใช้แทรมโพลีน (Trampoline) ซึ่งจากการอ้างอิงขององค์การนาซ่า (NASA) ระบุว่าเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุด เพราะถือเป็นการออกกำลังกายของเซลล์ในทุกส่วนของร่างกาย เพียงแค่วันละ 20 นาที ซึ่งการออกกำลังกายจากการกระโดดบนแทรมโพลีนจะช่วยยืดกล้ามเนื้อที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มความสูง (Proper Stretching and Exercising Techniques) เพราะจะทำให้กระดูกหนาและแข็งแรงขึ้นจากการกระตุ้นการหลั่งสาร Growth Hormone ทำให้ความหนาที่เพิ่มขึ้นของกระดูกขาจะช่วยเพิ่มความสูงได้อย่างน้อย 2.5 เซนติเมตร ซึ่งถ้าหากออกกำลังกายอย่างถูกต้อง และเหมาะสมก็จะช่วยเพิ่มความสูงได้มากถึง 5 เซนติเมตร
2. การนอนหลับ
โดยในช่วง 5 ทุ่มถึง ตี 2 เป็นช่วงเวลาที่ต่อมพิทูอาทารีใต้สมองจะผลิตฮอร์โมนการเจริญเติบโตหรือ Growth Hormone จะหลั่งออกมาในช่วงนี้ ถ้าหากนอนดึก เวลาเที่ยงคืน ตีหนึ่งตีสอง หรือวัยรุ่นส่วนใหญ่เที่ยวกลางคืนนอนเช้า ฮอร์โมนก็จะไม่หลั่งออกมา ทำให้ร่างกายโดยเฉพาะความสูงไม่เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นควรเข้านอนประมาณสามทุ่มหรือสี่ทุ่ม และตื่นประมาณตีห้าหรือหกโมงเช้า จะทำให้ร่างกายสดชื่น และเจริญเติบโตขึ้น
3. ด้านโภชนาการ
ถือเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น เพราะการเลือกรับประทานอาหารโดยเฉพาะสารอาหารที่สำคัญ และจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ก็จะทำให้ร่างกายสามารถพัฒนาและเพิ่มความสูงขึ้นได้ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ งดการดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และงดการสูบบุหรี่ด้วยถ้าเป็นไปได้
ดูแลลูกรักให้มีพัฒนาการดี เติบโตสมวัย สูงสมส่วน มีน้ำหนักตามเกณฑ์
รับฟรี พีเดียชัวร์ ขนาดทดลอง คลิกที่นี่
4. ทางการแพทย์
จะมีการเสริมด้วยเทคนิคทางการแพทย์ เช่น การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ที่จะปล่อยกระแสไฟฟ้าไปช่วยกระตุ้นการทำงานของร่างกาย หรือการฝังเข็มที่จะช่วยให้การไหลเวียนโลหิตได้ดีขึ้น รวมทั้งเครื่องดึงหลัง ดึงคอ ซึ่งจะคล้าย ๆ กับการโหนบาร์ ที่จะช่วยกระตุ้นส่วนของหมอนรองกระดูกหรือเนื้อเยื่ออ่อน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยเพิ่มความสูงทันที 1 ซ.ม.
5. วิธีการเพิ่มความสูงสำหรับทุกวัย
โดยจะช่วยเพิ่มความสูงได้ประมาณ 1 ซม. โดยต้องทำวันละ 1 นาที ซึ่งเป็นเทคนิคจากแพทย์โรคกระดูกญี่ปุ่น โดยวิธีการง่าย ๆก็คือ ให้นั่งคุกเข่า แล้วโน้มตัวไปด้านหลังจนนอนราบ ส่วนแขนก็ยืดขึ้นด้านบนราบกับพื้น และค้างไว้ทานี้ประมาณ 1 นาที ซึ่งจะช่วยให้กระดูกที่งอหรือคดตามกาลเวลาให้กลับมาอยู่ในแนวตรงเหมือนเดิม ผลที่ได้ก็คือจะได้ความสูงตามความจริงของเรากลับมานั่นเอง
จากข้อมูลที่นำเสนอมา คงทำให้คุณพ่อคุณแม่ทราบแล้วว่าพันธุกรรมไม่ได้มีผลที่ทำให้ลูกเตี้ย เราสามารถเพิ่มความสูงให้ลูกได้หลากหลายวิธี ดังนั้น สรุปว่า พ่อแม่เตี้ย ลูกไม่จำเป็นต้องเตี้ยตามพ่อแม่ค่ะ
อ้างอิงข้อมูลจาก
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ลูกนอนดึก เสี่ยงตัวเตี้ย เพราะขาดโกรทฮอร์โมน
โรคเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม