วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ แก้ปัญหาลูกในท้องตัวเล็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง?

รู้สึกว่าลูกในท้องตัวเล็ก ทำยังไงดี มาดูวิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์จากคุณหมอกันเถอะ ลูกจะได้ออกมาแข็งแรงสมบูรณ์ น่ารักสมใจคุณพ่อคุณแม่

วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ แก้ปัญหาลูกในท้องตัวเล็ก ทำได้อย่างไร อยากให้ลูกในท้องแข็งแรง เติบโตเต็มที่ แต่ก่อนที่จะไปดูวิธีเพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง ก็ขอไขความกระจ่างเรื่องท้องเล็กกันก่อน แม่แต่ละคนมีรูปร่างที่ต่างกัน ท้องบางคนจึงใหญ่เล็กแตกต่างกันไป โดยเฉพาะท้องแรก ดังนั้น การที่แม่ท้องเล็กไม่ได้หมายความว่า ลูกในท้องจะตัวเล็กเสมอไป ฉะนั้น ลองมาดูแนวทางการดูแลตัวเองในช่วงตั้งท้องกันดีกว่า โดยข้อมูลดังกล่าวจาก นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์ สูตินรีแพทย์ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ประจำโรงพยาบาลพญาไท 3

นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์ นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์

 

วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ แก้ปัญหาลูกในท้องตัวเล็ก

1. เราจะสงสัยว่าทารกในครรภ์ตัวเล็ก ถ้า…

  • น้ำหนักคุณแม่ ไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ปกติ

สำหรับการตั้งครรภ์ทารกคนเดียว น้ำหนักแม่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังอายุครรภ์ 3 เดือน เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.2-0.5 กิโลกรัม แต่ในช่วง 3 เดือนแรก เนื่องจากมีอาการแพ้ท้อง ดังนั้น น้ำหนักอาจลดลง หรือ ไม่เพิ่มขึ้นได้ ไม่ต้องกังวล

  • การวัดความสูงของมดลูกโดยแพทย์เมื่อมาฝากครรภ์ แล้วมีขนาดน้อยกว่าปกติ

ขนาดมดลูกที่สังเกตได้ง่าย คือ ช่วงอายุครรภ์ 5 เดือน หรือ 20 สัปดาห์ ซึ่งจะมีขนาดเท่ากับระดับสะดือของคุณแม่ แต่อายุครรภ์หลังจากนั้นแพทย์จะทำการวัด โดยใช้สายวัดซึ่งความสูงของมดลูกหน่วยเป็นเซนติเมตรจะมีค่าเท่ากับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ เช่น วัดความสูงของมดลูกได้ 28 เซนติเมตร ก็จะเท่ากับขนาดมดลูกที่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์

 

2. เราจะยืนยันได้อย่างไรว่าทารกในครรภ์ตัวเล็กหรือไม่

  • เนื่องจากทารกที่ตัวเล็กกว่าปกติ มีความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ไม่แข็งแรง และ อาจจำเป็นต้องคลอดก่อนกำหนด ดังนั้นคุณหมอที่ดูแลจะทำการตรวจทารกด้วยอัลตราซาวน์ เพื่อยืนยันว่า ทารกตัวเล็กจริงหรือไม่ โดยจะใช้เกณฑ์น้ำหนักตัวทารกที่น้อยว่า 10% เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวทารกปกติในอายุครรภ์นั้นๆ
  • ถ้าตรวจพบว่า ทารกตัวเล็กจริง คุณหมอจะทำการตรวจอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุ และ วางแผนการดูแลรักษาต่อไป

 

วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ แก้ปัญหาลูกในท้องตัวเล็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง? หากคุณแม่กังวลว่าลูกในท้องจะตัวเล็กกว่าปกติหรือไม่ ลองปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และรับการตรวจครรภ์ เพื่อวางแผนและดูแรรักษากันต่อไป อาหารเพิ่มน้ำหนัก

 

3. สาเหตุ "ทารกตัวเล็ก" ไม่ใช่ "ทารกที่ผิดปกติ" เสมอไป

  • ทารกตัวเล็ก สามารถเป็นทารกที่ปกติ มีการพัฒานาของร่างกาย และ ระบบประสาท และ สมองปกติ แต่มีน้ำหนักตัวที่น้อยกว่าปกติได้ สาเหตุหลัก จะเป็นเรื่องของพันธุกรรมพ่อแม่ ที่มีขนาดร่างกายที่เล็กเหมือนกัน แต่ที่คุณหมอและพ่อแม่จะกังวลคือ ทารกตัวเล็ก เป็นทารกที่ผิดปกติ และ จะส่งผลต่อสุขภาพของทารกเอง ซึ่งมีสาเหตุมากมายที่ทำให้เกิดภาวะนี้ เช่น
    • สาเหตุจากแม่ : แม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดัน โรคไต โรคเบาหวาน มีการใช้ยาบางอย่าง ดื่มเหล้า สูบบุหรี่
    • สาเหตุจากลูก : ลูกมีพันธุกรรมที่ผิดปกติ มีความพิการแต่กำเนิด มีการติดเชื้อในครรภ์ ทารกในภาวะครรภ์แฝด
    • สาเหตุจากรก: ภาวะรกเสื่อมก่อนกำหนด รกเกาะตำเหน่งที่ผิดปกติ มีการติดเชื้อที่รก

 

4. การดูแลรักษา

การดูแลรักษาที่สำคัญ คือ "การส่งเสริมสุขภาพทารกให้แข็งแรงตลอดการตั้งครรภ์ และ คลอดเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม" ไม่ใช่เน้นการเพิ่มน้ำหนักตัวเด็กให้กลับมาเป็นปกติ

บทความที่น่าสนใจ : วิจัยเผย คนท้องกินข้าวดึก มีผลต่อน้ำหนัก คนท้องกินข้าวมือดึกแล้วอ้วน

 

ท้องเล็ก ลูกในท้องตัวเล็กไหม วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ ต้องกินเยอะๆ จริงหรือ รู้สึกว่าลูกในท้องตัวเล็ก ทำยังไง มาดู วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ จากคุณหมอกันเถอะ ลูกจะได้ออกมาแข็งแรงสมบูรณ์ น่ารักสมใจคุณพ่อคุณแม่ วิธีเพิ่มน้ำหนักลูก อาหารเพิ่มน้ำหนัก

แนวทางการดูแลรักษา วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์

  • อาหารเพิ่มน้ำหนัก

น้น "สารอาหารที่มีประโยชน์ (nutritions)" ไม่ใช่เน้น "พลังงาน (calories)" ทานอาหารที่หลากหลาย เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ โดยเน้นโปรตีน แต่ให้หลากหลาย และ มาจากธรรมชาติ เช่น ปลา ไก่ หมู ไม่ใช่ทานอาหารอย่างเดียวปริมาณมาก เช่น ไข่ 10 ฟองต่อวัน นมวันละ 2 ลิตร ทารกคลอดออกมาจะเสี่ยงต่อแพ้ไข่ แพ้นม

บทความที่น่าสนใจ : กินอะไรเพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง กินอะไรลูกในท้องถึงตัวใหญ่ คลอดมาแข็งแรง

 

วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ แก้ปัญหาลูกในท้องตัวเล็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง? เลือกทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และเป็นอาหารที่มาจากธรรมชาติ อาหารเพิ่มน้ำหนัก

  • พักผ่อน

การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด ความกังวล ก็ทำให้ลูกตัวเล็กได้เช่นกัน

    • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่
    • ออกกำลังกาาย: การออกกำลังกายที่เหมาะสม สามารถทำได้ และพบว่าอาจช่วยให้สุขภาพลูกแข็งแรงด้วย
    • ดูแลรักษาโรคประจำตัวของมารดา
    • ตรวจติดตามกับคุณหมอที่ดูแลอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากทารกที่ตัวเล็ก คุณหมออาจนัดตรวจติดตามถี่กว่าปกติ เพื่อตรวจสุขภาพทารกอย่างละเอียด

 

วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ แก้ปัญหาลูกในท้องตัวเล็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง? ออกกำลังให้พอเหมาะ ไม่ฝืนร่างกายจนเกินไป

 

The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ


 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาหารต้านหวัดคนท้อง เมนูอาหารต้านหวัด แก้ไอ เสริมสร้างภูมิต้านทานคนท้อง

ลูกในท้อง หัวโต ขนาดรอบศีรษะ ทารกในครรภ์ บอกโรคได้ แบบไหนอันตราย

แม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ลูกในท้องจะเป็นอันตรายไหม?

ที่มา : parenting.firstcry

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!