ท่าอุ้มเด็กแรกเกิด 4 ท่าปลอดภัย สร้างความผูกพัน กระตุ้นพัฒนาการทารก

หมดกังวลเมื่อต้องอุ้มเด็กแรกเกิดที่กล้ามเนื้อคอยังไม่แข็งแรง ต้องอุ้มอย่างไร เรามี ท่าอุ้มเด็กแรกเกิด 4 ท่าปลอดภัย มาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์การเลี้ยงเด็กมาก่อน อาจทำตัวไม่ถูกเมื่อต้องอุ้มทารกแรกเกิดในช่วงแรก กลัวลูกหลุดมือ อีกทั้งทารกแรกเกิดกล้ามเนื้อคอยังไม่แข็งแรง ต้องอุ้มประคองอย่างไรถึงจะถูกวิธี เรามี ท่าอุ้มเด็กแรกเกิด 4 ท่าปลอดภัยมาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ

 

การอุ้มลูกสำคัญอย่างไร?

  • สร้างความผูกพัน การสัมผัสและการอุ้มช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัยและเชื่อมโยงกับคุณพ่อคุณแม่
  • พัฒนาการทางสมอง การอุ้มและการพูดคุยกับลูกน้อยช่วยกระตุ้นการพัฒนาสมอง
  • ลดการร้องไห้ การอุ้มช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและทำให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย

 

ขั้นตอนการอุ้มทารกแรกเกิด

1. ล้างมือให้สะอาด

ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนอุ้มลูกน้อย เนื่องจาก ระบบภูมิคุ้มกันของทารกยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้นเชื้อโรคจากมือคุณพ่อคุณแม่อาจทำให้ลูกน้อยป่วยได้ นอกจากล้างมือด้วยสบู่แล้ว ควรเตรียมเจลล้างมือไว้รอบๆ สำหรับแขกที่มาเยี่ยมลูกน้อยของคุณด้วย 

 

2. พยุงศีรษะและคอ

ใช้มือข้างหนึ่งคอยพยุงศีรษะและคออยู่เสมอ เนื่องจาก กล้ามเนื้อคอของทารกยังไม่แข็งแรงมากพอที่จะรองรับศีรษะด้วยตัวเองจนกว่าจะเข้าสู่เดือนที่ 4 

และควรระมัดระวังเป็นพิเศษกับกระหม่อมของทารก ซึ่งเป็นจุดที่บอบบางที่สุดบนศีรษะ ซึ่งโดยทั่วไป กระหม่อมด้านหลังมักจะปิดก่อน โดยจะปิดสนิทเมื่ออายุประมาณ 3 เดือน ส่วนกระหม่อมด้านหน้าจะมีขนาดใหญ่กว่า และโดยเฉลี่ยจะปิดสนิทเมื่ออายุประมาณ 18-24 เดือน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. อุ้มด้วยท่าที่ปลอดภัย

การอุ้มทารกด้วยท่าอุ้มที่ถูกวิธี นอกจากจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยแล้ว ยังช่วยสร้างความผูกพันและพัฒนาการที่ดี จากการที่คุณพ่อคุณแม่ได้ใกล้ชิดกับลูกน้อย ส่งผลดีต่อพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจของลูกอีกด้วย

 

4 ท่าอุ้มเด็กแรกเกิด สำหรับลูกน้อยวัย 0-3 เดือน

1. ท่าอุ้มไกวเปล

เป็นท่าคลาสสิกที่ช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกเหมือนอยู่ในครรภ์แม่ เหมาะสำหรับการให้นมและการกล่อมนอน ท่าอุ้มเด็กแรกเกิด ท่านี้ช่วยสร้างความรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และช่วยให้ลูกน้อยผ่อนคลาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีอุ้มเด็กแรกเกิด ท่าอุ้มไกวเปล

  • วางลูกน้อยให้อยู่ในแนวนอนที่ระดับอก เลื่อนมือจากล่างขึ้นบนเพื่อรองรับคอของลูกน้อย
  • ค่อยๆ ดันศีรษะของลูกน้อยไปที่ข้อพับข้อศอก
  • ในขณะที่ยังประคองศีรษะอยู่ ให้ขยับมือจากแขนรองรับไปที่ก้นลูกน้อย
  • อีกแขนที่ว่างของคุณแม่สามารถทำสิ่งอื่นหรือจะช่วยประคองก็ได้

2. ท่าอุ้มพาดบ่า

 ท่านี้เหมาะสำหรับ อุ้มหลังให้นมเพื่อช่วยให้ลูกน้อยเรอ ช่วยลดอาการจุกเสียดและป้องกันการสำลัก ตำแหน่งนี้อาจช่วยให้ลูกน้อยได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจของคุณแม่ด้วย

วิธีอุ้มเด็กแรกเกิด ท่าอุ้มพาดบ่า

  • อุ้มโดยให้ลำตัวของลูกน้อยขนานกับลำตัวของคุณแม่ ให้ยกศีรษะลูกน้อยขึ้นถึงระดับไหล่
  • วางศีรษะไว้บนหน้าอกและไหล่ของคุณแม่ เพื่อให้ลูกน้อยสามารถมองออกไปข้างหลังคุณแม่ได้
  • วางมือข้างหนึ่งไว้บนศีรษะและคอของลูกน้อยเพื่อคอยประคอง และอีกมือหนึ่งไว้บริเวณก้นของลูกน้อย

3. ท่าอุ้มหันหน้าเข้าหากัน

เป็นท่าที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยได้สบตากัน สร้างความผูกพันและส่งเสริมพัฒนาการทางสังคม ช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัยและได้สื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีอุ้มเด็กแรกเกิด ท่าอุ้มหันหน้าเข้าหากัน

  • คุณแม่นั่งบนเก้าอี้โดยวางเท้าที่พื้นอย่างมั่นคงแล้ววางลูกน้อยไว้บนตัก ให้ศีรษะของลูกน้อยอยู่ที่หัวเข่าของคุณแม่ หงายหน้าขึ้น
  • ยกศีรษะขึ้นด้วยมือทั้งสองข้างเพื่อรองรับและยกแขนไว้ใต้ลำตัว เท้าของทารกควรสอดเข้าที่เอวของคุณแม่

4. ท่าอุ้มนอนคว่ำ

เป็นท่าที่ใช้อุ้มลูกน้อยเพื่อกล่อมให้ลูกน้อยนอนหลับและช่วยให้เรอได้ อย่างไรก็ตาม ทารกแรกเกิดยังมีกล้ามเนื้อคอและกล้ามเนื้อที่ควบคุมการหายใจยังไม่แข็งแรง การอุ้มในท่าคว่ำอาจทำให้ทางเดินหายใจของทารกอุดตันได้ง่าย โดยเฉพาะหากทารกยังไม่สามารถยกศีรษะได้ดี จึงไม่ควรอุ้มในท่านี้เป็นเวลานาน ควรทำเพียงแค่ระยะเวลาสั้นๆ เพื่อช่วยให้ลูกน้อยเรอเท่านั้น

วิธีอุ้มเด็กแรกเกิด ท่าอุ้มนอนคว่ำ

  • วางลูกน้อยโดยให้ท้องคว่ำพาดแขนคุณแม่
  • มืออีกข้างของคุณแม่ ประคองด้านบนศีรษะของลูกน้อย
  • ค่อยๆ ลูบหลังของลูกน้อยเพื่อไล่แก๊สในท้อง

6 เคล็ดลับอุ้มลูกน้อยให้ปลอดภัยและอบอุ่น

การอุ้มลูกน้อยเป็นช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ได้ใกล้ชิดและสร้างความผูกพันกับลูกน้อย เรามีเคล็ดลับเพิ่มเติมในการอุ้มลูกน้อยมาฝาก เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย ลองนำเคล็ดลับเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะคะ

  1. อุ้มแบบเนื้อแนบเนื้อ การสัมผัสผิวของลูกน้อยกับผิวของคุณแม่โดยตรง จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และผูกพันกับคุณแม่มากขึ้น ทำได้โดยถอดชุดของลูกน้อยให้เหลือเพียงผ้าอ้อม แล้ววางลูกน้อยไว้บนหน้าอกคุณแม่ จากนั้นคลุมด้วยผ้าห่มเบาๆ
  2. เลือกตำแหน่งที่นั่งที่เหมาะสม หากคุณแม่รู้สึกไม่มั่นใจหรือกลัวว่าจะอุ้มแล้วลูกจะหลุดมือ ลองนั่งลงบนเก้าอี้หรือโซฟาที่นุ่มและมีพนักพิง เพื่อเพิ่มความมั่นคงในการอุ้มลูกน้อย 
  3. ใช้เป้อุ้มเด็ก หรือผ้าอุ้มเด็ก จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถอุ้มลูกน้อยได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัย โดยไม่ต้องใช้แรงมากนัก ควรเลือกเป้อุ้มเด็กหรือผ้าอุ้มเด็ก ที่เหมาะสมกับวัยของลูกน้อยและอ่านคำแนะนำในการใช้งานอย่างละเอียด
  4. ใช้หมอนรองให้นมสำหรับทารก หมอนรองให้นมสำหรับทารกจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถอุ้มลูกน้อยได้นานขึ้น และยังช่วยรองรับตัวของลูกน้อยขณะให้นมอีกด้วย
  5. หลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยงขณะอุ้มลูก อย่าทำอาหาร พกพาเครื่องดื่มร้อน หรือทำกิจกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยขณะอุ้ม เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
  6. อุ้มด้วยมือทั้งสองข้างขณะขึ้นลงบันได การใช้มือทั้งสองข้างจะช่วยให้คุณแม่สามารถควบคุมลูกน้อยได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ
  7. ห้ามเขย่าลูกน้อย การเขย่าลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นหรือการแสดงออกถึงความไม่พอใจ อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่สมองได้อย่างรุนแรง

ข้อดีของการอุ้มลูกแนบอกให้ได้ยินเสียงหัวใจ

การอุ้มลูกแนบอกมีข้อดีมากมายต่อตัวลูกน้อย เช่น

  • สร้างความผูกพัน การสัมผัสใกล้ชิดและได้ยินเสียงหัวใจของแม่ จะช่วยสร้างความผูกพันระหว่างแม่และลูกได้อย่างลึกซึ้ง ทำให้ลูกน้อยรู้สึกอุ่นใจและปลอดภัย
  • ช่วยให้ลูกสงบ เสียงหัวใจของแม่เป็นเหมือนเสียงกล่อมที่ช่วยให้ลูกน้อยสงบและหลับง่ายขึ้น ลดอาการร้องไห้และความเครียด
  • ส่งเสริมพัฒนาการ ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมองของลูกน้อย ส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ได้ดี
  • ช่วยให้นมแม่ได้ง่ายขึ้น ช่วยให้ลูกน้อยเข้าเต้าได้ง่ายขึ้น ทำให้การให้นมแม่เป็นไปอย่างราบรื่น
  • ช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกายของลูกน้อยให้คงที่ ช่วยป้องกันภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ
  • ลดความเครียดในแม่ ช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียด และเพิ่มความมั่นใจในการเลี้ยงลูก

นอกจากนี้ การอุ้มลูกแนบอกยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพของแม่ด้วย เช่น

  • ช่วยให้มดลูกหดตัว การอุ้มแนบอกจะช่วยให้มดลูกหดตัวกลับเข้าอู่เร็วขึ้น ลดโอกาสการเกิดภาวะเลือดออกหลังคลอด
  • เพิ่มการผลิตน้ำนม การให้นมลูกบ่อยๆ จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้มากขึ้น

 

คุณแม่ได้ทราบข้อดีของการอุ้มลูกน้อย พร้อมทั้งวิธีอุ้มเด็กแรกเกิดที่ถูกต้องแบบ Step by Step ไปแล้ว ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ ต่อไปก็คือการอุ้มอย่างมั่นใจ เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกมั่นคงและปลอดภัยค่ะ theAsianparent ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่คุณพ่อมือใหม่ทุกบ้านนะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : healthline , hfocus

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

การมองเห็นของทารก ทารกเริ่มมองเห็นตอนไหน จะกระตุ้นการมองเห็นได้อย่างไร 

การดูแลทารกแรกเกิด เมื่อกลับบ้าน ในสัปดาห์แรกแม่มือใหม่ต้องเจอกับอะไรบ้าง?

วิธีเล่นกับลูกวัย 0 – 3 เดือน สำหรับคุณแม่มือใหม่ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อย