ทำอย่างไรดีเมื่อมีบางอย่างติดคอลูกน้อย?

เราต่างก็เคยได้ยินเรื่องน่ากลัวเกี่ยวกับเด็กที่เอาสิ่งของใส่ในปากและของติดคอ ของต่าง ๆ ที่ลูกชอบเอาเข้าปาก เช่น ก้อนหิน แม่เหล็ก ถ่านนาฬิกา ตัวต่อของเล่น เหรียญบาท หรือฝาขวดน้ำ คุณจะเห็นว่าไม่มีสิ่งใดปลอดภัยกับลูกน้อยของคุณเลย เราลองมาดูคำแนะนำว่าเราควรทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยพยายามกลืนสิ่งของที่พวกเขาไม่สมควรกลืนลงไป หรือมันติดคอลูกอยู่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็ก ๆ อาจกลืนสิ่งของขนาดเล็กเมื่อใดหรือจากที่ใดก็ได้ ถึงแม้ว่าคุณจะพยายาม (อย่างที่สุด) ที่จะดูแลเขาให้ดีแล้วก็ตาม ของบางอย่างอาจผ่านลงคอลูกน้อยไปได้โดยไม่เกิดอันตราย แต่บางอย่างไม่เป็นเช่นนั้นและบางอย่างก่อให้เกิดอันตรายกับผนังลำไส้ถึงขั้นทำให้ลำไส้ทะลุได้

เมื่อลูกกลืนอะไรลงไป หรือสิ่งนั้นติดคอลูกอยู่

เมื่อเด็กกลืนสิ่งของ…

หากลูกน้อยกลืนบางสิ่งที่ไม่คมหรือไม่อันตรายและไม่ติดคอลูก สิ่งของนั้นจะลงท้องและออกมากับของเสียที่ลูกขับถ่ายเองโดยไม่เป็นอันตราย

ในขณะที่คุณรอให้ลูกขับถ่าย เรารู้ว่าพ่อแม่เป็นทุกข์มากแค่ไหน หากลูกเริ่มอาเจียน น้ำลายไหล ไม่กินอาหาร มีไข้ ไอ หายใจลำบาก หรือมีเสียงหวีดหวิวเมื่อหายใจเข้า ให้คุณดูแลลูกอย่าให้ห่างและให้โทรศัพท์ปรึกษาแพทย์ถึงอาการของลูก

และหากคุณไม่เห็นสิ่งที่ลูกกลืนลงไปออกมากับอุจจาระของลูกน้อยภายในสองวัน ให้โทรศัพท์ปรึกษาแพทย์ เพื่อดูว่าสิ่งที่ลูกกลืนลงไปออกมาหรือยัง ให้คุณนำอุจจาระของลูกใส่ในตะแกรงและเปิดน้ำร้อนผ่าน เรารู้ว่ามันน่ารังเกียจ แต่นั่นเป็นของเสียจากลูกน้อยของคุณ ความรักที่มีต่อลูกทำให้พ่อแม่ทำได้ทุกอย่าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากลูกคุณกลืนสิ่งของมีคม เช่น ไม้จิ้มฟันหรือเข็ม หรือสิ่งที่เป็นอันตรายมากอย่างถ่านนาฬิกา หรือแม่เหล็กเล็ก ๆ หลายก้อน ให้พาลูกไปพบแพทย์ในทันที ไม่ว่าลูกน้อยอาจดูไม่มีอาการเจ็บป่วยอะไร สิ่งของเหล่านี้อาจจำเป็นต้องให้แพทย์ช่วยเอาออกแทนที่จะให้ผ่านระบบย่อยอาหารลงไปเนื่องจากอาจทิ่มทะลุหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หรือลำไส้ของลูกได้

เมื่อไปถึงโรงพยาบาล!

อะไรคือสิ่งที่แพทย์จะทำเมื่อคุณพาลูกไปถึงโรงพยาบาล?

นี่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ลูกน้อยของคุณได้กลืนลงไป และแพทย์จะดูว่าสิ่งนั้นติดคอหรือส่วนใดของร่างกายเขา หรือแพทย์อาจทำการ X-ray เพื่อหาว่าสิ่งของนั้นอยู่จุดใด และแพทย์อาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือเพื่อไม่ให้สิ่งที่ลูกกลืนลงไปนั้นติดหลอดลม ส่วนมากแล้วแพทย์จะใช้กล้องส่องตรวจภายในที่มีทั้งยาวและบาง มีน้ำหนักเบา เพื่อดูว่าสิ่งของอยู่ในหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหาร

หากแพทย์วินิจฉัยว่าสิ่งนั้นจะออกจากระบบทางเดินอาหารของลูกได้เองอย่างปลอดภัย แพทย์จะกำชับให้คุณดูแลลูกอย่างใกล้ชิดเป็นระยะเวลา 2-3 วัน ในระหว่างนี้ แพทย์อาจ X-ray เพิ่มเติมเพื่อติดตามสิ่งติดค้างว่าอยู่ส่วนใดของร่างกายแล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากสิ่งติดค้างติดอยู่ที่ทางเดินหายใจหรือติดอยู่ที่หลอดอาหารหรือกระเพาะอาหาร และเป็นอันตรายเกินไปที่จะรอให้ออกมาเอง เนื่องจากเป็นของมีคมและก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ แพทย์จะเอาสิ่งของออกโดยทันที

ในบางสถานการณ์อาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดเพื่อเอาสิ่งติดค้างออก แต่นั่นเป็นสถานการณ์ขั้นรุนแรงที่พ่อแม่อย่างเราไม่อยากจะนึกถึงและหวังว่าจะไม่เกิดกับลูกของเรา

ป้องกันดีกว่าแก้ไข

เรารู้ว่าตอนนี้คุณกำลังคิดอะไรอยู่ คุณกำลังคิดว่า “มีทางที่จะไม่ให้ลูกเอาสิ่งของเข้าปากได้หรือไม่?” คำคอบคือ “ไม่ซะทีเดียว”

การเอาสิ่งของเข้าปากเป็นสิ่งที่เด็กทำเป็นปกติอยู่แล้ว คุณจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงนี้จนกว่าลูกของคุณจะอายุ 4 ขวบ ถึงอย่างนั้นก็ตาม คุณก็ยังคงต้องระวังอันตรายที่อาจเกิดได้โดยไม่คาดคิดอยู่ดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การที่คุณนั่งบอกลูกถึงอันตรายจากการกลืนสิ่งของที่ไม่ใช่อาหารนั้นเป็นเรื่องไร้ความหมาย เพราะลูกจะไม่ฟังสิ่งที่คุณพูด ดังนั้น การระมัดระวังอยู่เสมอในช่วงนี้จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

ระมัดระวังอยู่เสมอ

คุณควรจำไว้เสมอว่าสิ่งของที่ลูกสามารถกลืนได้เป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็น เหรียญ ลูกโป่ง ก้อนหิน ถั่ว เมล็ดพืช องุ่น ข้าวโพดคั่ว หมูชิ้น หรือชิ้นแครอท เป็นต้น สิ่งของชิ้นเล็ก ๆ สามารถติดที่คอลูกและทำให้ลูกสำลักจนเป็นอันตรายได้ ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ที่มีลักษณะแข็งอย่างเมล็ดพันธุ์ สามารถเข้าไปทางเดินหายใจและติดที่หลอดลมของลูก ทำให้เกิดการติดเชื้อหรือปิดกั้นทางเดินหายใจได้

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว สิ่งที่คุณทำได้ดีที่สุดคือดูแลลูกของคุณอย่างใกล้ชิด คอยดูเขาบ่อย ๆ เมื่อคุณพาเขาไปเยี่ยมบ้านคนอื่นที่มีสิ่งล่อตาล่อใจและลูกคุณสามารถหยิบเข้าปากได้ง่าย ๆ นอกจากนี้ คุณต้องมั่นใจว่าของเล่นหรือตุ๊กตาที่คุณซื้อให้ลูกต้องไม่มีชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่หลุดออกมาและลูกสามารถหยิบเข้าปากได้

ยิ่งไปกว่านั้น หากคุณ สามี/ภรรยาของคุณ หรือคนในครอบครัวได้เข้าคอร์สเรียนการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก็จะเป็นประโยชน์กับลูกคุณมาก

อันตรายซ่อนอยู่ในทุกมุมของบ้านคุณ โดยเฉพาะในบ้านที่มีเด็กเล็กอยู่ ดังนั้น การระแวดระวังอยู่ตลอดเวลาจะช่วยคุณได้

หยุดลูกเอาสิ่งของเข้าปาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team