ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นโรคตาขี้เกียจ (Lazy eyes)

ดูเหมือนลูกของคุณจะตาเขหรือตาสองข้างไม่หันมองไปทางทิศเดียวกันหรือเปล่า อาจเป็นอาการของโรคตาขี้เกียจ (Lazy eyes) ลองอ่านดูนะคะว่าควรต้องทำอย่างไรบ้างเมื่อลูกมีอาการบ่งบอกว่าอาจเป็นโรคตาขี้เกียจ หรือ Lazy eyes

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำอย่างไรเมื่อลูกมีอาการของ โรคตาขี้เกียจ  (Lazy eyes) 

โรคตาขี้เกียจ (Lazy eyes) คืออะไร?

โรคตา ขี้เกียจ (Lazy eyes) หรือ โรค Amblyopia เป็นหนึ่งในอาการช่วงวัยเด็กที่ระยะการมองของตาข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้พัฒนาขึ้นตามปกติ หรืออาจจะพูดได้ง่าย ๆ ว่า โรคตา ขี้เกียจ (Lazy eyes) นั้นเป็นอาการที่ความสามารถในการมองของดวงตาข้างหนึ่งนั้นไม่มากเท่ากับอีกข้าง

บทความที่เกี่ยวข้อง : แว่นตา เลือกยังไงให้เหมาะกับเด็ก เด็กสายตาสั้นต้องใส่แว่นตาแบบไหน

 

อาการ / รู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นโรคตา ขี้เกียจ (Lazy eyes)

มีรายงานว่าเด็กเล็ก 1 ใน 50 คน มีอาการโรคตา ขี้เกียจด้วย โดยเด็กที่เป็นโรคตา ขี้เกียจ (Lazy eyes) มักมีปัญหาในการมองวัตถุต่าง ๆ และไม่สามารถบอกระยะห่างระหว่างตนเองกับวัตถุได้อย่างถูกต้อง วิธีดูอย่างคร่าว ๆ ว่าลูกเป็นโรคตา ขี้เกียจ (Lazy eyes) หรือไม่ คือ ลองโยนลูกบอลให้ลูก แล้วดูว่าลูกสามารถจับลูกบอลได้ตามปกติไหม หรือจับลูกบอลที่โยนมาได้ยากลำบากกว่าคนทั่วไปไหม

 

สาเหตุของโรค สายตาขี้เกียจ

โรคตา ขี้เกียจอาจเกิดจากการที่เส้นประสาทระหว่างตาและสมองไม่ได้รับการกระตุ้นตามปกติ หรืออาจเกิดจากปัญหาทางสายตาอื่น ๆ เช่น ตายาว ตาเอียง ตาเหล่ หรือโรคทางสายตาที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นโรคตา ขี้เกียจ (Lazy eyes)?

ลองอ่านวิธีแก้ปัญหาหรือวิธีช่วยรักษาอาการต่อไปนี้ดูค่ะ

1. หาแว่นสายตาที่เหมาะกับลูก

ลองไปพบแพทย์ หรือ จักษุแพทย์ที่ร้านแว่นสายตา เลือกแว่นที่เหมาะกับอาการตาเอียง หรือแว่นที่เหมาะสม

2. ใช้ที่ปิดตา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพื่อกระตุ้นการทำงานของตาข้างที่อ่อนแอกว่า ให้ลองใช้ที่ปิดตากับตาข้างที่แข็งแรงกว่า โดยอาจให้เด็กอายุ 4ปีขึ้นไปใส่ที่ปิดตา 3-6 ชั่วโมงต่อวัน

3. ใช้ที่หยอดตา หรือ ยาหยอดตา

อาจใช้ที่หยอดตา หรือ ยาหยอดตาอะโทรพีน (Atropine eye drop) หยอดลงตาข้างที่ใช้งานได้มากกว่าของลูก เพื่อกระตุ้นการทำงานของตาข้างที่อ่อนแอกว่า หรือให้ลูกได้ใช้งานตาข้างที่อ่อนแอมากขึ้น นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกนอกเหนือไปจากการใช้ที่ปิดตา

4. ผ่าตัด หรือ ทำศัลยกรรม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในบางกรณีการผ่าตัด หรือ การทำศัลยกรรมก็ช่วยรักษาโรคตา ขี้เกียจ หรือ อาการตาเหล่ได้ โดยการผ่าตัดจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อในส่วนที่ต้องการแข็งแรงขึ้น

รู้จักตาขี้เกียจในเด็ก

ตาขี้เกียจ (Lazy Eye) คือ การที่ตาข้างใดข้างหนึ่งมองเห็นได้ไม่ดีเท่าอีกข้างหนึ่ง หรือข้างหนึ่งเห็นไม่ชัด อีกข้างหนึ่งเห็นชัดปกติ ซึ่งดวงตาข้างที่มองเห็นไม่ชัดเกิดจากการสูญเสียพัฒนาการการมองเห็น เรียกว่า ตาขี้เกียจ โดยปกติพัฒนาการการมองเห็นในเด็กจะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอดไปจนถึง 7 ขวบ หลังจากนั้นจะหยุดพัฒนา ดังนั้นถ้ารักษาไม่ทันปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป เจ้าตัวเล็กอาจสูญเสียการมองเห็นในระยะยาว

 

สาเหตุของโรค

  1. สายตาไม่เท่ากัน เด็กที่มีสายตาผิดปกติไม่เท่ากัน เช่น สายตาสั้นของตาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน ข้างหนึ่ง 0 อีกข้างหนึ่ง 300 หากไม่ได้สวมแว่นตาเด็กจะไม่รู้ว่าตาอีกข้างหนึ่งที่ไม่ได้สวมแว่นตามองเห็นไม่ชัด ดังนั้นพัฒนาการของดวงตาจึงไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นหากใส่แว่นตาสามารถแก้ปัญหานี้ได้ แต่ถ้าไม่รู้ไม่ได้รักษาอาจเป็นตาขี้เกียจได้
  2. ตาเข ตาเหล่ โดยปกติมนุษย์มีดวงตาตรงและรวมภาพเป็นหนึ่งเดียว เพราะฉะนั้นหากตาเขหรือตาเหล่แสดงว่ากล้ามเนื้อตาผิดปกติ มีทั้งการเขเข้า เขออก เขขึ้น เขลง หากปล่อยไว้นานจะส่งผลต่อพัฒนาการการมองเห็น
  3. โรคอี่น ๆ ทางตาที่บดบังการมองเห็น เช่น ต้อกระจกในเด็ก แผลที่กระจกตาในเด็ก หนังตาตกตั้งแต่กำเนิด ตาตกข้างเดียว ล้วนทำให้พัฒนาการการมองเห็นไม่ดี ไม่เกิดการพัฒนาและกลายเป็นตาขี้เกียจ

 

รักษาโรคตาขี้เกียจ

  • วัดการมองเห็นในเด็กเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคตาขี้เกียจ
  • รักษาโดยปิดตาดีให้หยุดพัฒนา กระตุ้นตาข้างที่เสียให้พัฒนาทัน ระยะเวลาในการปิดตาขึ้นอยู่กับอายุเด็ก
  • เด็กสายตาสั้นต้องใส่แว่น
  • เด็กตาเขต้องผ่าตัดให้ตรง
  • ตรวจเช็กติดตามอาการต่อเนื่อง

 

ป้องกันได้แค่ตรวจเช็ก

วิธีการป้องกันตาขี้เกียจในเด็กที่ดีที่สุดคือ การพาเจ้าตัวเล็กมาตรวจเช็กสายตากับจักษุแพทย์ผู้ชำนาญการตั้งแต่อายุ 2 ขวบ และพามาตรวจเช็กเป็นประจำปีละ 1 ครั้ง เว้นแต่ในกรณีที่คุณแม่คลอดก่อนกำหนดจะต้องตรวจเช็กตั้งแต่ก่อน 2 ขวบ เพื่อเช็กในเรื่องต้อกระจกและตาเข ตาเหล่ ส่วนในช่วง 3 – 5 ขวบ เมื่อเด็กเริ่มไปโรงเรียนและใช้สายตา หากมาตรวจเช็กแล้วพบว่าสายตาผิดปกติในช่วงนี้จะได้รักษาได้ทันท่วงที เช่น พบว่าสายตาสั้นจะได้ใส่แว่นสายตา เป็นต้น

โรคตาขี้เกียจในเด็กยิ่งรักษาเร็วเท่าไรยิ่งได้ผลดีเท่านั้น เพราะฉะนั้นหากพ่อแม่ผู้ปกครองสงสัยควรพามาตรวจทันที โดยจักษุแพทย์จะมีเทคนิควิธีการตรวจตาสำหรับเด็กโดยเฉพาะ พ่อแม่จึงไม่ต้องกังวลใจ สิ่งสำคัญคือ ไม่ควรละเลยอย่างเด็ดขาด เพราะยิ่งมาช้า ยิ่งรักษายาก หรือรักษาไม่ได้

ที่มาจาก :https://www.bangkokhospital.com/content/lazy-eye

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

6 อาหารบำรุงสายตา ให้ลูกกินอะไรบำรุงสายตาดี อาหารอะไรที่ทำให้ลูกสายตาดี

เด็กที่ชอบเล่นกลางแจ้งจะมีสายตาดีกว่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา