วิธีสร้างวินัยให้ลูกน้อย เคล็ดลับการสอนลูก ให้รู้จักการแบ่งเวลาเรียนและเล่นได้ดี

ทำอย่างไรจึงจะสร้างวินัยให้ลูกน้อยได้ วิธีสร้างวินัยให้ลูกน้อย เคล็ดลับการสอนลูก ให้รู้จักการแบ่งเวลาเรียนและเล่นได้ดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีสร้างวินัยให้ลูกน้อย

ปัจจุบันมีข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเทคโนโลยีมากมาย ที่อาจทำให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ขาดวินัยในการควบคุมตนเอง จนเกิดความเสียหายในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนและสังคมส่วนรวมได้ การสร้างวินัยเป็นสิ่งที่จำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่ควรปลูกฝังให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็กเพื่อให้ลูกน้อยสามารถควบคุมตนเองและแสดงพฤติกรรมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมอันจะเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จของชีวิตในด้านต่างๆ ต่อไปในอนาคต มาดู วิธีสร้างวินัยให้ลูกน้อย กันดีกว่าค่ะ

การสร้างวินัยไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก แต่ก็ไม่ได้ยากจนเกินความตั้งใจและความสามารถของคุณพ่อคุณแม่อย่างแน่นอนค่ะ หลักในการสร้างวินัยเชิงบวกมีดังนี้

1. กำหนดกฎกติกาหรือข้อตกลงให้ชัดเจน

พ่อแม่ควรกำหนดกฎกติกาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องต่างๆที่ลูกจะต้องปฏิบัติ อันเป็นวินัยที่ดี ให้ลูกทราบ ด้วยคำพูดง่ายๆ ซึ่งสามารถเข้าใจได้ในวัยที่ลูกเข้าใจภาษา สามารถตอบสนองและทำตามคำสั่งได้รู้เรื่อง โดยพูดให้ชัดเจน สั้น กระชับ หากลูกไม่เข้าใจก็ควรพูดซ้ำจนกว่าแน่ใจว่าลูกเข้าใจถึงข้อตกลงดังกล่าว เมื่อตกลงกันแล้วคุณพ่อคุณแม่และผู้ดูแลเด็กทุกคนจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นอย่างเคร่งครัด เช่น บอกลูกว่า “เราจะเข้านอนแต่หัวค่ำไม่เล่นเพลินจนดึกดื่น” เมื่อถึงเวลาที่คุณแม่บอกให้เข้านอน ก็ต้องปิดไฟให้ลูกเข้านอนจริงๆ โดยชี้แจงว่า “เราได้ตกลงกันเอาไว้แล้วนะจ๊ะ” หรือเมื่อลูกโตขึ้นจนสามารถเข้าใจเรื่องของเวลา ก็ควรกำหนดข้อตกลงเรื่องการแบ่งเวลาให้ชัดเจนในการทำการบ้าน อ่านหนังสือ ทำงานบ้าน และเล่น เมื่อถึงเวลานั้นก็ต้องทำตามข้อตกลงที่วางไว้ โดยบอกเหตุผลว่าควรทำหรือไม่ควรทำสิ่งนั้นเพราะอะไร

เคล็ดลับการสอนลูก

2. ควรใช้ “การสอน” แทน “การสั่ง”

เพื่อให้ลูกไม่รู้สึกว่าโดนตำหนิและไม่ได้ถูกห้ามในสิ่งที่ลูกอยากทำ เพื่อให้ลูกไม่รู้สึกอยากต่อต้าน และจะได้รับฟังคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น โดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น ให้ทางเลือก เช่น แทนที่จะสั่งลูกว่า “ไปอ่านหนังสือ” ก็อาจจะถามลูกว่า “ลูกจะอ่านหนังสือก่อนหรือทำการบ้านก่อนดี” บอกพฤติกรรมที่เหมาะสมตามด้วยสิ่งที่ลูกอยากทำ เช่น แทนที่จะสั่งลูกว่า “ไปทำการบ้านเดี๋ยวนี้” ก็อาจบอกลูกว่า “เมื่อทำการบ้านเสร็จแล้ว ลูกมาเล่นได้เลยนะจ๊ะ” ให้คำขอบคุณ เช่น แทนที่จะสั่งลูกว่า “หยุดเล่นได้แล้ว ลูกต้องไปเรียนหนังสือ” ก็อาจจะพูดว่า “ขอบคุณนะจ๊ะที่ลูกกำลังจะเลิกเล่น แล้วไปเรียนหนังสือกัน”

3. ชื่นชมเมื่อลูกทำตามข้อตกลง

การชื่มชนลูกเมื่อลูกทำตามข้อตกลงอันเป็นวินัยที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อให้แรงเสริมเชิงบวก ช่วยเสริมแรงให้ลูกมีพฤติกรรมที่ดีต่อไป โดยไม่จำเป็นที่จะต้องให้เป็นวัตถุสิ่งของ อาจใช้เป็นคำชมเชยด้วยวาจา เช่น “แม่ภูมิใจในตัวลูกมากที่หนูมีวินัยทำตามที่เราตกลงกันไว้” หรือใช้ภาษากายที่แสดงความรัก เช่น การกอดหรือหอมแก้ม

วิธีสร้างวินัยให้ลูกน้อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. ใช้วิธีการสั่งสอนโดยไม่ใช้ความรุนแรง

หากลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมไม่มีวินัยหรือไม่ทำตามข้อตกลง ก็ควรใช้วิธีการสั่งสอนโดยไม่ใช้ความรุนแรง เช่น หากลูกยังเล็กอายุไม่ถึง 5 ปีอาจใช้วิธีการ “เบี่ยงเบนความสนใจ” โดยชักชวนให้ลูกหยุดทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แล้วหันไปทำพฤติกรรมอื่นๆที่เหมาะสมแทน หรือ “tme out” คือ แยกลูกให้ไปอยู่ตามลำพัง ในสถานที่จำกัดซึ่งอยู่ภายในสายตาของคุณพ่อคุณแม่ เช่น ในมุมห้องที่เงียบ โดยไม่มีของเล่นใดๆ แล้วเพิ่งเฉย ไม่สนใจลูก ในเวลาสั้นๆ เช่น 2 ถึง 5 นาที หรือใช้วิธี “งดสิทธิพิเศษ” โดยงดสิ่งที่ลูกชอบและต้องการ เช่น การไปเที่ยว การทานไอศครีม หากลูกไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง

ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกเสมอในเรื่องของระเบียบวินัยเพราะเด็กๆจะเรียนรู้และซึมซับพฤติกรรมต่างๆจากคนใกล้ชิดได้มากที่สุด โดยย้ำเรื่องของระเบียบวินัยให้เป็นไปในทางเดียวกันสำหรับทุกคนในบ้าน และอย่าลืมให้เวลากับลูกในทุกๆวัน แม้คุณพ่อคุณแม่จะต้องทำงานนอกบ้านและมีเวลาที่จำกัด ก็ควรจะใช้เวลาได้ทำกิจกรรมดีๆ มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันกับลูก เพราะความรักและความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวจะเป็นรากฐานที่สำคัญของการสร้างวินัยให้กับลูกค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำให้ลูกดู ไม่ใช่แค่บอกให้ลูกทำ อยากสอนลูกใช้วิธีนี้สิดี!!

วิธีสอนลูกให้กตัญญู เคล็ดลับสอนลูกหลานกตัญญูรู้คุณพ่อแม่ ตอบแทนผู้มีพระคุณ ไม่อกตัญญูต่อพ่อแม่

22 ไอเดียจัดแต่งอาหาร จากตัวการ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่องโปรด เอาใจหนูน้อยกินยาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา