ลูก 3 ขวบ กรีดร้อง เกิดจากอะไร
ลูก 3 ขวบ กรีดร้อง นั้นเป็นเรื่องปกติของเด็ก เนื่องจากเด็กในช่วง 2 – 6 ขวบ เป็นช่วงวัยที่เริ่มมีพัฒนาการด้านพัฒนาการรายบุคคล (Individual Development) และพัมนาการทางด้านความรู้สึกของตนเอง (Sense of self) ทำให้เด็กมีพฤติกรรมซุกซนที่แตกต่างกันไป ทำให้เด็กวัย 3 ขวบ มักมีพฤติกรรมที่กรีดร้อง ร้องไห้งอแงเพื่อเรียกร้องความสนใจของตนเองค่ะ และปัจจัยที่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมดังกล่าว ก็มีดังนี้
1.เด็กต้องการอิสระ
Erik Erikson นักจิตวิยาวิเคราะห์เด็ก ได้อธิบายว่า เด็กจะเริ่มมีพฤติกรรมการต่อสู้เพื่อที่จะเรียกร้องอิสรภาพของตนเองเมื่ออายุประมาณ 2 – 3 ขวบ โดยจะเริ่มเมื่อลูกน้อยเริ่มเดินได้และเขาก็มีความอยากรู้อยากเห็น จึงชอบที่จะเดินสำรวจตามไปในสถานที่ต่างๆ อย่างไม่หยุดนิ่ง ทั้งยัง ไม่ต้องการเรียกร้องให้พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการแต่เขาจะพยายามทำมันด้วนตัวเองมากกว่า
2.เด็กจะเริ่มมีความคิดริเริ่ม
ลูกน้อยในช่วงอายุ 3-6 ปี จะเริ่มมีพัฒนาการทางด้านความคิดริเริ่มะความมุ่งมั่นมากขึ้น ทำให้เด็กเกิดการต่อสู้ดิ้นรนกับความต้องการของตนเองและจะแสดงความต้องการของตัวเองต่อผู้อื่นจนทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่แสดงออกมาทั้งทางด้านร่างกายและทางทำพูด ทั้งการกรีดร้อง หรือชักดิ้นชักงอ และบ่อยครั้งที่พ่อแม่เองก็พยายามควบคุมลูกโดยการสอนใหลูกฝึกการระงับอารมณ์ของตัวเอง ซึ่งมีแบบทั้งถูกวิธีและผิดวิธี
3.เด็กเริ่มฝึกการควบคุมตนเอง
เมื่อลูกน้อยเริ่มเดินได้พวกเขาจะต้องการอิสระมากขึ้นทำให้ไม่อยู่นิ่ง สิ่งเหล่านี้พ่อแม่อาจมองว่าลูกซนเหลือเกิน ดื้อ ไม่ยอมเชื่อฟัง แต่รู้หรือไม่ว่าสิ่งที่เด็กแสดงออกมานั้นเป็นวิธีการเสริมสร้างพัฒนาการของตนอย่างธรรมชาติ ดังนั้น พ่อแม่จึงจำเป็นต้องสอนลูกให้รู้จักการควบคุมตัวเอง สิ่งไหนควรทำไม่ควรทำ เพื่อที่เขาจะได้หยุดคิดและตัเสินใจทำในสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ
4.ลูกน้อยเกิดการเลียนแบบ
เด็กบางคนมีแนวโน้มที่จะแสดงออกทางคำพูดมากกว่าการแสดงออกทางร่างกาย ทำเขาบ่อยครั้งที่เขามักจะแสดงอาการกรีดร้องออกมาเมื่อได้ตามที่ตนเองต้องการ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้อาจเกิดมาจากการเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่ที่ชอบดุ ชอบด่า หรือตะคอกกับลูก จนลูกแสดงความก้าวร้าวออกมา รวมถึงเพื่อนเล่นของเด็กๆ เองก็เช่นกัน หากเด็กเห็นว่าเพื่อนแสดงพฤติกรรมนั้นออกมา พวกเขาก็จะจำและนำมาทำบ้างเพื่อแสดงความต้องการของตนเอง
5.การเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่และแบบควบคุม
นักจิตวิทยาเด็กส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้พ่อแม่เลี้ยงลูกแบบเอาใจใส่ (authoritative) มากกว่าแบบควบคุม (authoritarian) เนื่องจากการเลี้ยงลูกแบบเอาใจใส่นั้นเป็นการที่พ่อแม่เน้นไปในทางสนับสนุนให้เด็กมีพัฒนาการตามวัย มีการให้อิสระลูกบ้าง แต่มีการกำหนดขอบเขตพฤติกรรมของเด็กอย่างชัดเจน รวมถึงมีข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติของลูกน้อยอย่างมีเหตุผล เปิดโอกาสให้ลูกพูด รับฟังเหตุผลของลูก และสนับสนุนความต้องการของลูก ไม่ใช่เป็นการควบคุมหรือบังคับให้ลูกอยู่ในความต้องการของพ่อแม่ คือ มีการวางกฏระเบียบที่ชัดเจนแต่ไม่มีการอธิบายเหตุผลให้ลูกฟะง ทั้งยังไม่ยินยอมให้ลูกพูดหรืออธิบายเหตุผลของตัวเอง มีการใช้อำนาจในการบังคับและมักจะลงโทษลูกเมื่อเห็นว่าลูกไม่ทำตามที่พ่อแม่สั่งหรือเป็นไปตามที่คาดหวัง พอลูกโดนพ่อแม่กดดันมากๆ เด็กจึงแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว มีอารมณ์ไม่ค่อยดี โกรธง่าย ไม่เป็นมิตร ขาดความคิดริเริ่ม ขาดความเป็นผู้นำ
ลูก 3 ขวบ โมโหร้าย พ่อแม่ควรทำอย่างไร
1.สอนให้ลูกรู้จักเหตุผล
เวลาที่ลูกเล่นหรือทำกิจกรรมอะไรที่ดูแล้วไม่ปลอดภัยเป็นอันตรายต่อเด็ก พ่อแม่ไม่ควรห้ามลูกโดยไม่ม่เหตุผล แต่ใช้วิธีอธิบายชี้แจงให้ลูกได้เข้าใจอย่างนิ่มนวล อย่าใช่อารมณื หรือเป็นการตะคอกลูก เช่น “ห้ามเล่นมีดนะ” “อย่าปีนต้นไม้” แต่ให้บอกลูกว่า “ลูกไม่ควรเล่นมีดนะ เพราะเดี่ยวมีดจะบาดมือ พอเลือดออกก็จะเจ็บมือนะ”
2.ลงโทษเด็กแบบมีเหตุผล
เวลาที่ลูกทำผิดอย่าเดินเข้าไปตีโดยทันที หรือใส่อารมณ์ลงไป หรือบอกว่าถ้าลูกทำแบบนี้แม่จะไม่รักแล้วแม่จะรับน้องหรือรักคนอื่นแทน เพราะสิ่งเหล่านี้จะยิ่งผลักดันให้เด็กเกิดการเลียนแบบและใช้อารมณ์รุนแรง เมื่อลูกทำพิษพ่อแม่ควรเข้าไปถามว่าลูกไม่ควรทำแบบนี้จากนั้นก็ทำโทษ พร้อมอธิบายเหตุผลว่าทำไมต้องทำโทษ และควรบอกว่าพฤติกรรมนี้ไม่เหมาะสมลูกไม่ควรทำแบบนี้อีก ถ้าทำอีกแม่ก็จะลงโทษ
3.หากิจกรรมให้ลูก
การทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมที่ลูกน้อยสนใจ จะเป็นการสนับสนุนให้ลูกมีพฤติกรรมที่สร้างสรรค์ และได้เลียนรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบ กฏกติการ่วมกัน รู้จักการระงับอารมณ์ และไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อผู้อื่นทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทั้งยังเป็นการพัฒนาจุดเด่ดและจุดด้อย เพื่อเพิ่มทักษะและพัฒนาการที่ดีที่เป็นประโยชน์ต่ออนาคต
4.คอยให้กำลังใจ
การจะทำให้ลูกมีความสุขทั้งทางกายและทางจิตใจ ส่วนหนึ่งต้องมาจากการให้กำลังลูกเมื่อลูกทำความดี ทำสิ่ที่ถูกต้อง หรือเมื่อลูกได้ลองพยายามทำอะไรได้สำเร็จ การชมเชยลูกเมื่อลูกทำได้จะเป็นการเสริมแรงทางบวกให้ลูกเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง แต่หากลูกทำไม่ได้ก็ไม่ควรต่อว่า แต่ใช้การพูดเพื่อเป็นกำลังใจให้ลูก เช่น “ลูกทำได้นะ แม่คิดว่าลูกน่าจะทำได้ดีกว่านี้ครั้งหน้าค่อยเอาใหม่”
5.คอยสังเกตลูก
พ่อแม่ควรคอยสังเกตลูกว่าสิ่งที่ลูกน้อยทำอยู่หรือเล่นอยู่นั้นเป็นสิ่งที่เด็กสนใจหรือไหม ของเล่นที่เด็กเล่นอยู่หรือกิจกรรมที่เด็กทำอยู่มีความน่าเบื่อหรือยุ่งยากมากเกินไปหรือเปล่า เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทำให้ลูกน้อยหมดความอดทนและเกิดอารมณ์ไม่ดีเอาได้ พ่อแม่ควรเปลี่ยนให้ลูกลองเล่นของเล่นอื่นแทน และอย่าลืมเตือนลูกว่ากิจกรรมที่ลูกเล่นอยู่จะหมดเวลาในอีกกี่นาที เพราะการที่ใหลูกหยุดเล่นทันทีจะทำให้เด็กหงุดหงิดได้ค่ะ
6.สนับสนุนให้ลูกแสดงอารมณ์
การที่ให้ลูกแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นทางที่ดีหรือไม่ดี และคอยเตือนหากลูกมีการแสดงอารมณืที่มากเกินไป พ่อแม่ก็ต้องคอยตักเตือน แต่ถ้าลูกไม่อสดงออกเด็กก็จะกลายเป็นคนเก็บกดและกลายเป็นเด็กมีปัญหาที่หลังได้ค่ะ
ที่มา: livestrong, honestdocs, taamkru
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
เด็กติดเกม ทำเด็กก้าวร้าว-ควบคุมตัวเองไม่ได้ จิตแพทย์แนะ! วิธีป้องกันและแก้ไข
แบบคัดกรองพัฒนาการเด็ก แต่ละช่วงอายุ ตั้งแต่แรกเกิด – 6 ปี [ออนไลน์] เช็กเลย!