วิธีล้างจมูกทารก ล้างจมูกลูก ทำยังไงไม่สำลัก ดูดน้ำมูกให้หายใจโล่งสบาย

ช่วงฤดูฝน เด็ก ๆ เป็นหวัดกันเยอะ คุณพ่อคุณแม่หลายท่านสังเกตว่าลูกมีอาการหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล นอนหลับไม่สนิทเพราะหายใจไม่ออก แต่ไม่ทราบว่าจะช่วยลูกได้อย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลายท่านรู้จักการล้างจมูกแต่ไม่กล้าทำเพราะกลัวจะเป็นอันตราย วันนี้หมอมี วิธี ล้างจมูกลูก สอนล้างจมูก ดูดน้ำมูก อย่างปลอดภัย ในทารกมาฝากกันค่ะ

 

ล้างจมูกลูก ทำยังไงไม่สำลัก วิธีล้างจมูกด้วยน้ําเกลือ

การล้างจมูก กำจัดน้ำมูกในทารก มีด้วยกัน หลากหลายวิธี ตามปริมาณน้ำมูก และอายุของทารก
ได้แก่

  • การหยอดน้ำเกลือ ทำได้โดยหยอดน้ำเกลือ (Normal saline) เข้าไปในรูจมูก ข้างละ 2-3 หยด เพื่อให้น้ำมูกที่เหนียวข้นและแห้งติดจมูกอ่อนตัวลง ไม่แห้งกรัง เหมาะกับเด็กเล็กที่มีปริมาณน้ำมูกไม่มาก โดยหลังจากหยอดน้ำเกลือแล้ว หากมีปริมาณน้ำมูกน้อยควรเช็ดจมูก เอาน้ำมูกออกด้วยไม้พันสำลี แต่หากมีปริมาณน้ำมูกมาก ควรดูดน้ำมูกออก ด้วยลูกยางแดงหรือเครื่องดูดต่อกับอุปกรณ์ดูดน้ำมูก
  • การพ่นจมูก เป็นการกำจัดน้ำมูก โดยใช้อุปกรณ์พ่นน้ำเกลือแบบสเปรย์ เหมาะกับเด็กเล็กที่มีปริมาณน้ำมูกน้อย ไม่เหนียวข้นมาก มีข้อดีคือสามารถพกพาไปในที่ต่างได้สะดวก
  • การล้างจมูกด้วยกระบอกฉีดยา เป็นการล้างจมูกที่สามารถทำได้โดยใช้น้ำเกลือปริมาณมาก จึงเหมาะกับการกำจัดน้ำมูกปริมาณมากที่ติดอยู่ในโพรงจมูก แบ่งตามอายุได้เป็น 2 วิธีการคือ

 

สอนล้างจมูก การล้างจมูกเด็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน หรือมากกว่า 6 เดือนแต่ไม่ร่วมมือในการล้าง วิธีล้างจมูกด้วยน้ําเกลือ มีขั้นตอนดังนี้

  1. ให้เด็กนอนในท่าศีรษะสูง เพื่อป้องกันการสำลัก
  2. สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูกข้างที่จะล้าง โดยให้ปลายกระบอกฉีดยาชิดด้านบนรูจมูก
  3. ค่อยๆฉีดน้ำเกลือเข้าไปในจมูกครั้งละประมาณ 1-5 ซี ซี หรือปริมาณมากที่สุดเท่าที่เด็กจะทนได้
  4. ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกในจมูกออก

 

เด็กทารกอายุมากกว่า 6 เดือน ที่เคยล้างจมูกมาก่อน สามารถให้ความร่วมมือได้ดี มีขั้นตอนดังนี้

  1. ให้เด็กอยู่ในท่านั่ง ก้มหน้าเล็กน้อย
  2. สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูก
  3. ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในจมูกครั้งละประมาณ 1-5 ซี ซี หรือปริมาณมากที่สุดเท่าที่เด็กจะทนได้ จนน้ำเกลือและน้ำมูกไหลออกมาทางจมูกอีกข้างหนึ่ง
  4. ล้างซ้ำได้หลาย ๆครั้ง จนไม่มีน้ำมูกออกมา

 

หมายเหตุ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • หากสวมจุกล้างจมูกไว้ที่ปลายกระบอกฉีดยา ก็จะสามารถเพื่อป้องกันปลายกระบอกฉีดยาทิ่มที่ผนังกั้นจมูกได้ ทำให้ล้างจมูกได้ง่ายขึ้น
  • การล้างจมูกด้วยขวดบีบขนาดใหญ่ ไม่แนะนำให้ใช้กับเด็กทารก เพราะมีแรงดัน และปริมาณน้ำเกลือเยอะ อาจสำลักได้ง่าย
  • การล้างจมูกเด็กเล็กวัยทารก ควรใช้กระบอกฉีดยาขนาดเล็กไม่เกิน 5 ซีซี ปริมาณน้ำเกลือน้อย เว้นช่วงให้เด็กหายใจ เพื่อป้องกันไม่ให้สำลัก

 

การล้างจมูกในทารกก่อให้เกิดอันตรายหรือไม่?

อันตรายจากการล้างจมูกพบได้น้อยมาก ภาวะแทรกซ้อนที่มีรายงานจากการล้างจมูก ยกตัวอย่าง อาเจียนหรือสำลัก หรือเชื้อโรคเข้าไปในโพรงไซนัส สามารถป้องกันได้โดยการล้างจมูกอย่างถูกวิธี ในช่วงที่ท้องว่าง คือ ก่อนทานอาหาร หรือหลังทานอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมงขึ้นไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่พบได้ เช่น เลือดกำเดาไหล ปวดหู หูอื้อ และหน้ามืด จะเกิดในกรณีที่สั่งน้ำมูกแรง ๆ จึงป้องกันได้โดยไม่สั่งน้ำมูกแรงจนเกินไป อาการแสบจมูกอาจพบได้บ้างแต่มักไม่รุนแรง นอกจากนี้อาจมีโอกาสติดเชื้อได้หากอุปกรณ์ ไม่ได้ล้างสะอาด น้ำเกลือเปิดทิ้งไว้นานเกินไปค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ดูกันยัง คลิปหนูน้อยลูกครึ่งวัยขวบเศษ ล้างจมูก น่ารักอ่ะ ไม่งอแง ยอดวิวพุ่ง ไลก์ แชร์กระจาย
โรคลำไส้กลืนกัน ความเจ็บปวดที่ลูกบอกไม่ได้
การขับถ่ายของทารกแรกเกิด ปีต้องมีฉี่มีอึกี่ครั้งถึงเรียกว่า ปกติ