การรักษาผู้มีบุตรยาก ทำอย่างไรให้ท้องได้สักที คำแนะนำแม่ท้องยาก

undefined

การรักษาผู้มีบุตรยาก ทำอย่างไรให้ท้องได้สักที คำแนะนำแม่ท้องยาก

มีคุณแม่ หลายคนที่ต้อง ประสบปัญหา การมีบุตรยาก และ ปัญหานี้ มักจะชอบเกิดกับ คุณแม่ หรือ ครอบครัว ที่อยากมีลูกมากๆ มันน่าเศร้าจริงๆ ที่ผู้หญิงบางคนอยากจะมีลูก แต่ด้วยปัญหาหลายๆอย่าง ทำให้การมีลูกนั้น อาจจะเป็นปัญหาที่ยากลำบาก วันนี้ เราจะมาแนะนำ การรักษาผู้มีบุตรยาก ไม่แน่ว่า ทำตามวิธีนี้ คุณแม่ อาจจะมีความหวังขึ้นมาใหม่ก็ได้ เราเชื่ออย่างนั้นค่ะ

การรักษาผู้มีบุตรยาก มีลูกยาก อยากมีลูก

การรักษาผู้มีบุตรยาก

วิธีการรักษาผู้มีบุตรยากมีดังนี้

1. ใช้ยา หรือ ฉีดยากระตุ้น การเติบโต ของไข่จากรังไข่ ตัวอย่าง ของยากินเช่น เซโลฟีน (Serophene) โคลมีฟีน (Clomiphene) แต่ถ้า หากว่าต้องการ การกระตุ้นมากขึ้นกว่านี้ หรือยา ที่ใช้กินได้ผลไม่เป็นที่พอใจ ก็ต้อง ฉีดยากระตุ้น ตัวยาที่ใช้ฉีดคือ โกนอลเอฟ (Gonal F) ซึ่งเป็นการ ฉีดฮอร์โมน ที่ใกล้เคียง กับ ฮอร์โมนธรรมชาติ หรือ โฟลลิคูลาร์ (Follicular)

2. อีกวิธีหนึ่ง คือการฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก โดยใช้รอบตกไข่ ตามธรรมชาติ ของผู้หญิง หรือ การกระตุ้น ที่ได้กล่าวไปแล้ว ตามด้วย การฉีดอสุจิของสามี เข้าไปในรังไข่ ซึ่งทำที่คลินิค หรือ โรงพยาบาล

3. วิธีที่ได้ผลดี และ ก้าวหน้า ที่สุดคือ การปฏิสนธิ ภายนอกร่างกาย ที่เราคุ้นเคยกันว่าเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF แพทย์ จะฉีดโกนอลเอฟ ในปริมาณที่สูงขึ้นเป็นเวลา 10 วัน

การรักษาผู้มีบุตรยาก

การรักษาผู้ มีบุตรยาก

จากนั้นแพทย์ จะฉีด โอวิดริว (Ovidrel) เพื่อทำให้ไข่สุก จากนั้นคุณหมอ จะใช้ การอัลตราซาวด์ เพื่อดูตำแหน่ง ของไข่ และ ใช้เค็ม ช่วยเขี่ยไข่ ออกมายังช่องคลอด กระบวนการ นี้มีการ ฉีดยาชาเล็กน้อย ผู้ป่วยไม่ต้องนอนพักที่ โรงพยาบาล ไข่จะถูกดูดออกมาจากท่อนำไข่และนำมาผสมกับอสุจิในห้องทดลอง จากนั้นภายใน 3-5 วัน จะเกิดการปฏิสนธิ และ เกิดตัวอ่อนที่เรียกว่า เอ็มบริโอ (Embryo) แพทย์จะเลือก ตัวอ่อนที่แข็งแรงที่สุด เพื่อฉีดผ่าน ท่อนำปัสสาวะ 2-5 วันหลังจากที่ ไข่ออก มาจาก ร่างกายของผู้หญิง

มีทางเลือกธรรมชาติ โดยไม่ต้องพึ่งยา สำหรับผู้มีบุตรยากหรือไม่

การรักษาผู้มีบุตรยาก

การรักษาผู้มี บุตรยาก

สิ่งสำคัญ ที่แต่ละ คู่ควรทำคือ พยายามมี ลูกตอนอายุ ยังน้อย เพราะยิ่งมีอายุเพิ่มขึ้น ผู้หญิงก็จะยิ่งมีโอกาส มีลูกได้น้อยลง เนื่องจากไข่ ที่มีคุณภาพจะตกช่วงอายุ 24-35 ปี ดังสถิติต่อไปนี้

ช่วงโอกาสที่ผู้หญิงเจริญพันธุ์ได้มากที่สุดคือ ช่วงอายุ 20-25 ปี

เมื่อมีอายุตั้งแต่ 25-30ปี อัตราการเจริญพันธุ์จะลดลงระหว่างร้อยละ 4-8

ช่วงอายุ 30-35ปี อัตราการเจริญพันธุ์ลดลงถึงร้อยละ 15-19

ช่วงอายุ 35-40 ปีอัตราการเจริญพันธุ์ลดลงถึงร้อยละ 26-46

และช่วงอายุ 40-45ปี อัตราการเจริญพันธุ์ของผู้หญิงลดลงร้อยละ 95

การรักษาผู้มีบุตรยาก อยากมีลูก มีลูกยาก

ทำอย่างไร เมื่อมีลูกยาก

ปัจจัยสำคัญ 2 ประการที่คู่ สามี ภรรยา ควรรักษาให้คงที่คือ น้ำหนักที่เหมาะสมกับร่างกาย หลีกเลี่ยงภาวะโรคอ้วน หรือน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน และควรงดสูบบุหรี่ เพราะ การสูบบุหรี่ ทำให้สมรรถภาพทางเพศ และ การเจริญพันธุ์ลดลง

การรักษาผู้มีบุตรยาก

การรักษาผู้มีบุ ตรยาก

นอกจากนี้ทั้งคู่ ควรป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ด้วย หากมีการ ติดโรคกามโรค (STD) ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพราะโรคนี้สามารถทำลายอวัยวะที่ใช้ในการสืบพันธุ์ได้ การใช้สารเสพติดและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ก็ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์เช่นกัน นอกจากนี้คุณควรหลีกเลี่ยงอาหารและน้ำที่ดูสกปรกหรืออาจมีการปนเปื้อน แม้ว่าจะทำได้ยาก แต่หากคุณรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีการปรุงอาหารที่ถูกสุขลักษณะก็จะช่วยรักษาระบบสืบพันธุ์ที่ดีได้เช่นกัน

สำหรับฝ่ายชายก็ไม่ควรใส่ กางเกงใน ที่รัดจนเกินไป หรือแช่อ่างน้ำร้อนเป็นเวลานานบ่อยนัก ตลอดจนหลีกเลี่ยงการใช้ คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค บนตักของคุณ เพราะความร้อนมีผลต่อการผลิตและประสิทธิภาพของอสุจิ

การรักษาผู้มีบุตรยาก

การรักษาผู้มี บุตรยาก

ควรออกกำลังกายในปริมาณที่พอเหมาะและสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม เพราะจะส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ได้

นอกจากนี้จึงควรฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคที่สามารถบั่นทอนประสิทธิภาพของระบบสืบพันธุ์ได้ ควรใช้หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่สะอาด และพยายามรักษาสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยป้องกันวัณโรคและโรคคางทูม เพราะโรคนี้ส่งผลเสียต่อระบบสืบพันธุ์และลดประสิทธิภาพของภาวะเจริญพันธุ์

Source : healthline

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :

สารอาหารที่ทำให้ท้องง่าย กินอะไรให้ท้องเร็ว อาหารเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

ท้องแล้วทำไงต่อ? สิ่งที่ควรทำหลังจากที่คุณแม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์

7 ฮวงจุ้ย เสริมพลังงานความสมบูรณ์ อยากท้อง ทำยังไง ฮวงจุ้ยเสริมให้ท้อง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!