คุณแม่ทราบไหมคะว่า แสงแดด มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าที่คุณแม่คิด และ แสงแดด ยังช่วยทำให้ตัวคุณแม่และลูกน้อยในท้องแข็งแรงอีกด้วย
รับแดดอย่างไรให้ได้ประโยชน์ ?
สัมผัสแดดโดยไม่ทาครีมกันแดดป้องกันเพียง 2-3 วัน/สัปดาห์ วันละประมาณ 5-15 นาที ก็ทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดีจากแดดในปริมาณเพียงพอแล้ว
ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การโดนแสงแดด
แสงแดดในยามเช้าจะช่วยให้คุณแม่ได้รับแคลเซียมซึ่งมีผลดีต่อร่างกาย
- ก่อนเวลา 10:00น. ซึ่งเป็นเวลาที่มีแสงแดดอ่อนๆ ช่วงเวลาก่อนเวลานี้จะไม่ใช่แสงแดดที่ร้อนจัดจนเกินไป คุณแม่เดินเล่นสัก 10 – 15 นาที ก็เพียงพอค่ะ
- เวลาประมาณ 17:00น. ขึ้นไป การเดินเล่นรับแสงแดดในช่วงเวลานี้นอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังทำให้คุณแม่ได้รับวิตามินดีจากแสงแดดอีกด้วย
คุณแม่สามารถรับแสงแดดได้ตั้งแต่เดือนที่ 2 เป็นต้นไป เพราะเป็นช่วงที่ทารถพัฒนาสมบูรณ์แล้ว และควรรับแสงแดดทุกวันในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด
ประโยชน์จากแสงแดด
- เสริมวิตามินดี หากร่างกายขาดวิตามินดี ร่างกายจะเปราะบางจนเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน หรือโรคกระดูกอ่อนในเด็กได้
- รักษาสุขภาพจิต ประโยชน์ต่อผู้ที่มีสุขภาพปัญหาจิต เช่นอารมณ์ผิดปกติ อาการเครียดจากการตั้งครรภ์ และภาวะซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากไม่โดนแสงแดดเท่าที่ควรหรือน้อยเกินไป
- อารมณ์ดี การสัมผัสแสงแดดอาจช่วยให้สมองหลั่งสารเซโรโทนินเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจช่วยกระตุ้นด้านอารมณ์ ช่วยให้มีสมาธิ และใจเย็นขึ้นได้ด้วย
- รักษาอาการทางผิวหนัง แพทย์อาจแนะนำการรักษาด้วยแสง โดยให้ผู้ป่วยสัมผัสแดดเพื่อให้รังสี UV ช่วยรักษาโรคทางผิวหนังบางชนิด เช่น โรคสะเก็ดเงิน ผื่นผิวหนังอักเสบ ดีซ่าน และสิว แต่การรักษาอาการทางผิวหนังด้วยการรับแดดขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เพราะการรักษาผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกันไปตามภาวะของแต่ละบุคคลด้วย
- ป้องกันมะเร็ง แดดอาจมีประโยชน์ต่อการป้องกันมะเร็งชนิดอื่น ๆ ได้ หากสัมผัสแสงแดดอย่างเหมาะสม เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งรังไข่ มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น
อาการหรือโรคผิวหนังที่เกิดจากแสงแดดที่พบบ่อย
- ผิวไหม้แดด (Sunburn) ส่วนใหญ่เกิดจาก รังสี UVB ทำให้ผิวมีสีแดง เจ็บและพุพอง อาการอาจไม่เกิดขึ้นทันที อาจใช้เวลาถึง 5 ชั่วโมงหลังจากนั้น การรักษาคือ ใช้ผ้าเย็นหรือผลิตภัณฑ์ที่เย็นประคบไว้ลดอาการปวดและบรรเทาการอักเสบ ถ้ามีอาการมากอาจต้องทาสเตียรอยด์
- อาการแพ้แดดไม่ทราบสาเหตุ (Polymorphus Light Eruption: PMLE) พบมากที่สุดของการแพ้แสงแดด และคิดเป็นประมาณ 90% ของผู้ป่วยทั้งหมดที่แพ้แสงแดด การแพ้แดดถูกกระตุ้นจากภาวะความเครียดอ็อกซิเดชั่น (Oxidative stress) ที่เกิดโดยรังสี UVA และ UVB
- ยาและสารเคมีที่กระตุ้นให้ไวต่อแสง (Chemical and Drug Photosensitivity) เกิดได้จากทั้งยาชนิดรับประทาน, ยาที่ใช้ทาภายนอกและเครื่องสำอาง เช่น ยาต้านการอักเสบหรือยาแก้ปวดบางตัว เช่น ibuprofen สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาไวต่อแสงได้, ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์ (NSAID), ยาขับปัสสาวะ, ยากลุ่มสแตนติน, ยากลุ่มเรตินอยด์ และยาฆ่าเชื้อรา เป็นต้น
- โรคผิวหนังที่กำเริบมากขึ้นจากแสงแดด (Photoexacerbated Dermatoses) เช่น โรคลูปัส (systemic lupus erythematosus, SLE)
- สิวผด (Acne Aestivalis /Mallorca Acne) เกิดขึ้นเมื่อรังสียูวีรวมกับส่วนผสมบางอย่างในเครื่องสำอางหรือครีมกันแดด เช่น emulsifiers, ก่อให้เกิดการระคายเคืองและการอักเสบของไขมันบริเวณรูขุมขน แต่มีโอกาสเกิดขึ้น 1-2% และพบมากสุดในกลุ่มวัยรุ่นถึงวัยกลางคน (25-40 ปี)
- ริ้วรอยก่อนวัย (Early Wrinkles) รวมถึงฝ้า กระ จุดด่างดำจากอายุ (Liver spot), หลอดเลือดดำที่เหมือนใยแมงมุม (Spider Vein) บนใบหน้า
- มะเร็งผิวหนัง (Skin cancers) โรคมะเร็งผิวหนังมีได้หลากหลายชนิดแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ โรคมะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่เมลาโนมา (Non melanoma skin cancer) ได้แก่ Basal cell Carcinoma (BCC) เป็นมะเร็งผิวหนังที่พบมากที่สุด ลักษณะเป็นก้อนเนื้อนูนสีเดียวกับผิวหนัง หรือ ชมพูใส ผิวมันแผลตรงกลางมีขอบยกนูนโตช้าบางครั้งอาจมีสีดำคล้ายไฝ มักเกิดบริเวณที่ได้รับแสงแดด หรือนอกร่มผ้า, ชนิด Squamous cell carcinoma(SCC) พบน้อยกว่าชนิด BCC และโรคมะเร็งผิวหนังชนิด Melanoma (Malignant melanoma) พบน้อยที่สุดในมะเร็งผิวหนัง 3 ชนิดนี้ แต่เป็นอันตรายเนื่องจากแพร่กระจายได้มากที่สุด เกิดจากเซลล์เม็ดสีมีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นผิดปกติ อาจลุกลามไปจุดสำคัญ เช่น สมองได้ ถ้ามีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อการวินิจฉัยต่อไป
วิธีป้องกัน ไม่ให้แสงแดดทำลายผิว
- สวมเครื่องแต่งกายให้มิดชิด เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว โดยอาจเลือกเนื้อผ้าเป็นผ้าทอหนา และมีคุณสมบัติป้องกันแสงแดด (UPF: UV Protection Factor) รวมถึงสวมหมวกปีกกว้าง และแว่นตากัน UV เป็นต้น
- ทาครีมกันแดดที่ป้องกันทั้งรังสี UVA และ UVB โดยมีค่า SPF 30 เป็นอย่างน้อย และควรทาซ้ำทุก ๆ 80 นาที หรือบ่อยกว่านั้น โดยเฉพาะหากมีเหงื่อออกมากหรือต้องว่ายน้ำ
- ใช้คอนแทคเลนส์และเครื่องสำอางที่ป้องกันแสงแดดได้ เช่น ลิปสติก หรือลิปบาล์มที่มีค่า SPF 15 เป็นอย่างน้อย
- อ่านฉลากยาที่ใช้อยู่อย่างละเอียดรอบคอบ เพราะยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงทำให้ผิวไวต่อแดดและรับรังสี UV ได้มากกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้ผิวไหม้หลังสัมผัสแดดเพียงไม่กี่นาที
- หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้แหล่งน้ำ หิมะ หรือทราย เพราะแดดอาจสะท้อนจากพื้นผิวดังกล่าว แล้วตกกระทบสร้างความเสียหายแก่ผิวหนังได้
- ไม่ใช้เตียงอาบแดด เพราะรังสี UV จากแดดและเตียงอาบแดดอาจทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้ และหากสีผิวเริ่มคล้ำขึ้นเป็นสีน้ำตาล ควรทาครีมกันแดดเพิ่ม
ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
ที่มา : pobpad.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ไม่อยากเจ็บปวดระหว่างคลอด แสงแดดอ่อนๆช่วยได้จริงหรือ
แสงแดด…วายร้ายที่หลายคนอาจมองข้าม!
เคล็ดลับ ปกป้องผิวจากแสงแดด ลดโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนัง