ระบบประสาท ของคนเป็นอย่างไร ช่วยทำอะไรได้บ้าง และมีโรคอะไรที่ต้องระวัง

ระบบประสาท มีหน้าที่ควบคุมและประสานการทำงานกับระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยที่จะรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกร่ายกายแล้วสั่งการให้ร่างกายของเรานั้นตอบสนองต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างเหมาะสม เพื่อที่จะรักษาความสมดุลของระบบต่าง ๆ

ระบบประสาท ของคนเราเป็น อย่างไร?

ระบบประสาทคือ?

ระบบประสาทเกิดจากเซลล์ประสาททั้งหมดของร่างกาย โดยจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ ในขณะเดียวกันเส้นประสาทก็จะส่งสัญญานความเจ็บปวดไปยังสมองของเราอีกด้วย เช่น เมื่อมือของเราไปโดนจานร้อน ๆ เราจะปล่อยมือออกจากจานนั้นทันที เป็นต้น

ระบบประสาทของร่างกายคนเราแบ่งออกเป็น 2 ส่วนตามตำแหน่งของร่ายกาย

  • ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nervous System) ประกอบด้วยเซลล์ประสาทอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประสาทส่วนกลาง
  • ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ประกอบไปด้วยเซลล์ประสาท สมองและไขสันหลัง

ระบบประสาททำงานแบบไหน?

การทำงานของระบบประสาทขึ้นอยู่กับเซลล์ประสาท ซึ่งมีอยู่หลายล้านเซลล์และมีหน้าที่แตกต่างกันในแต่ละเซลล์ประสาท เช่น เซลล์ประสาทของการรับรู้ข้อมูลจากตา จมูก หู ลิ้น และผิวหนังไปยังการสั่งการของสมอง หรือเซลล์ประสาทที่มีหน้าที่รับคำสั่งจากสมองและไขสันหลัง เพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะส่วนอื่น ๆ

โดยที่เซลล์ประสาททั้งหมดจะส่งผ่านข้อมูลถึงกันผ่านกระบวนการของไฟฟ้าเคมี ทำให้เกิดการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ทำให้มีผลต่อความคิด การเรียนรู้ การเคลื่อนไหว และพฤติกรมมของส่วนต่าง ๆ ของตัวคนเรา ซึ่งรายละเอียดแต่ละด้านก็มีความแตกต่างกันดังนี้

ประสาทสัมผัส เป็นการรับรู้ของประสาทสัมผัสทั้ง 5 ไม่ว่าจะเป็นด้านของการมองเห็น การได้ยิน การได้รับรู้กลิ่น การรับรู้รสชาติ และการสัมผัสขึ้นอยู่กับกระบวนการต่าง ๆ ในสมอง

  • การรับรส ลิ้นมีการประกอบไปด้วยเซลล์รับรสที่อยู่ในตุ่มรับรสขนาดเล็งที่อยู่ในลิ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีในอาหารที่เรารรับประทานเข้าไป โดยตุ่มรับรสมีหน้าที่รับรสชาติของอาหารต่าง ๆ ได้แก่ รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเผ็ด และรสขม จากนั้นจะส่งข้อลูลเข้าไปในเปลือกของสมอง เพื่อที่จะแปลรสชาติออกมาตามอาหารประเภทนั้น ๆ
  • การมองเห็น จะเกิดขึ้นเมื่อแสงตกกระทบลงบนสิ่งต่าง ๆ แล้วสะท้อนผ่านเข้าไปในดวงตา จะทำให้เกิดภาพบนจอประสาทตา หรือที่เรียกว่าเรตินา และเรตินาจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของสัญญานประสาทแล้วส่งไปยังสมอง จากนั้นสมองจะแปลผลข้อมูลเป็นรูปของวัตถุต่าง ๆ ตามที่เราเห็น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ระบบการไหลเวียนเลือดของเด็กทารก เป็นอย่างไร?

ระบบประสาท ส่วนต่าง ๆ ในร่ายกายคนเรา

  • การได้กลิ่น เยื่อบุโพรงจมูกจะมีเซลล์ประสาทรับกลิ่น ที่ทำการปฏิกิริยากับกลิ่นต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในจมูก จากนั้นเข้ามาในหูจะถูกส่งไปยังหูชั้นกลาง เพื่อทำการเปลี่ยนสัญญานของประสาท ซึ่งเปลือกสมองจะเป็นตัวแปลเป็นกลิ่นที่ได้รับ
  • การรับสัมผัส ผิวหนังของคนเราประกอบไปด้วยตัวรับรู้ควารู้สึกมากกว่า 4 ล้านตัว โดยเฉพาะตามนิ้วมือ ลิ้น และริมฝีปาก ซึ่งตัวรับความรู้สึกนี้จะรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่าง ๆ ไปส่งไปยังสมอง เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นได้ เช่น ความเจ็บปวด แรงกด แรงบีบ เป็นต้น
  • การได้ยิน เกิดขึ้นจากคลื่นเสียงที่เข้าสู่ช่องหู ส่งผลให้ให้แก้วหูสั่นสะเทือน จากนั้นเสียงของการสั่นสะเทือนก็จะผ่านเข้ามาในหู ถูกส่งไปยังกระดูกของหูชั้นกลาง เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงสัญญาณประสาท ซึ่งเปลือกของสมองจะเป็นตัวแปลความหมายของสัญญานเหล่านั้นออกมาเป็นเสียงตามที่เราได้ยินนั้นเอง

ความฉลาดและความทรงจำเป็นอย่างไร?

ระบบประสาท ของเด็กแรกเกิดประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทที่ยังไม่เชื่อมโยงกัน แต่เมื่อเด็กได้เจริญเติบโตขึ้นและมีการเรียนรู้ จะเกิดการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาทมากขึ้น ทำให้เซลล์ประสาทนั้นมีความเชื่อมโยงกันและเกิดเป็นกระแสประสาท ซึ่งการเชื่องโยงดังกล่าวนั้นจะมีผลต่อความฉลาดของเจ้าตัวเด็ก โดยสมองของเด็กจะพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว และเกิดความเชื่อโยงของเซลล์ประสาทเป็นเครือข่ายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบของสมองผู้ใหญ่เราแล้ว เขาจึงเชื่อกันว่าการฝึกสมองและการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จะช่วยกระตุ้นสมองให้เกิดความเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทเป็นเครือข่ายเพิ่มขึ้นมากเรื่อย ๆ ทั้งนี้ ข้อมมูลที่ได้มาจากการเรียนรู้ การทดลอง และการมองเห็น จะถูกเก็บเอาไว้ที่เปลือกของสมองก่อน และข้อมูลที่มีความสำคัญจะถูกส่งไปยังสมองส่วนที่มีหน้าที่เก็บความทรงจำ เพื่อสร้างความทรงจำในระยะที่ยาวต่อไป

การเคลื่อนไหว

สมองใหญ่หรือซีรีบรัม (Cerebrum) เป็นสมองที่ทำการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยสมองทางซีกซ้ายจะควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายทางซีกขวา และสมองส่วนซีกขวาจะควบคุมระบบการทำงานของร่างกายทางซีกซ้าย เช่น สมองซีกซ้ายจะควบคุม และสั่งการให้เท้าด้านขวานั้นก้าวไปก่อนเท้าด้านซ้าย เป็นต้น

การทำงานพื้นฐาน ของร่างกาย

ระบบประสาทอัตโนมัติจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การย่อยอาหาร และการหายใจ เป็นต้น โดยที่จะแบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อย คือ ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ที่ทำหน้าที่ในภาวะผ่อนคลาย และประสาทซิมพาเทติกที่ทำหน้าที่เตรียมร่างกายให้พร้อมกับการเผชิญภาวะเครียด หรืออันตรายที่จะเกิด

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง มีโรคอะไรบ้าง มาเช็คอาการกัน!

ระบบประสาทมีการทำงานแบบไหน อย่างไรบ้าง

วิธีของการดูแลรักษาของระบบประสาทให้ทำงานปกติ อย่างไร?

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณพอดี โดยเฉพาะอาหารไขมันต่ำ อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และโฟเลต ซึ่งอาจช่วยบำรุงระบบประสาทให้ทำงานได้ตามปกติ
  • งดสูบบุหรี่และไม่ดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งไม่ใช้สารเสพติดที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายในระยะยาว
  • จดบันทึกช่วยจำ โดยเขียนสิ่งที่ต้องทำลงในสมุดบันทึก หรือปฏิทิน
  • รักษาโรคต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบประสาท เช่น โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  • เข้ารับการตรวจวัดสายตาและการได้ยินหากมองเห็นไม่ชัดหรือมีปัญหาในการได้ยินเสียง
  • ไม่ควรทำหลาย ๆ สิ่งในเวลาเดียวกัน แต่ให้จัดลำดับความสำคัญ โดยเรียงสิ่งที่ต้องทำก่อนเป็นอันดับแรก

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกไม่สบายท้อง ระบบทางเดินอาหารยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ลดโอกาสเรียนรู้ของลูก ปัญหาที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

แหล่งที่มาของข้อมูล : (1)

บทความโดย

chonthichak88