การสอบ เป็นอีกเรื่องที่แทบจะเรียกได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดในชีวิตวัยรุ่น โดยจะเห็นได้ว่าน้องๆ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายนั้น จะค่อนข้าง่เคร่งเครยีดกับการเรียนเพิ่มมากขึ้น ก็เพราะเจ้าการสอบนี่แหละ โดยเฉพาะการสอบ 9 วิชาสามัญ ซึ่งจะมีบางวิชาที่เป็นส่วนสำคัญในการสอบ O-NETเราจึงจตะพาไปทำความเข้าใน กับ 9 วิชาสามัญ และความสำคัญในการสอบ O-NET
คำว่า O-NET ย่อมาจากคำภาษาอังกฤษ Ordinary National Education Test คือ การทดสอบทางการศึกษาในระดับชาติขั้นพื้นฐาน ซึ่งจัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และจะจัดสอบใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ด้วยกัน ดังนี้
- ภาษาไทย
- สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- ภาษาอังกฤษ
- คณิตศาสตร์
- วิทยาศาสตร์
- สุขศึกษาและพลศึกษา
- การงานอาชีพและเทคโนโลยี
- ศิลปะ
1. วัดระดับความรู้ขั้นพื้นฐาน
อาจจะมีใครหลายๆ คนที่เห็นว่าสอบโอเน็ตไม่ได้มีความสำคัญอะไรมากเท่าไหร่ เพราะสอบไปยังไงก็ไม่ได้ใช้อยู่ดี แต่ใครจะไปรู้ว่าวันหนึ่งเราอาจจะต้องใช้คะแนนโอเน็ตในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือใช้ในการซิ่วก็เป็นไปได้
2. สอบเพียงครั้งเดียวในชีวิต ป.6 ม.3 และ ม.6
สำหรับการสอบโอเน็ตนั้น ถ้าจะพูดให้เราเข้าใจง่ายๆ ก็คือเราจะสอบกันเมื่อเลื่อนระดับการศึกษาจากชั้น ป.6 ไป ม.1, ม.3 ไป ม.4 และ ม.6 ไปในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเราสามารถสมัครสอบได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ถ้าเราขาดสอบก็เท่ากับจะไม่มีสิทธิ์กลับมาสอบใหม่อีกแล้ว ซึ่งไม่เหมือนกับการจัดสอบ GAT/PAT หรือ 9 วิชาสามาัญ ที่เราสามารถสมัครสอบได้เรื่อยๆ คือถ้าเราสอบไม่ทันในครั้งแรกของปีการศึกษา เราก็สามารถสมัครสอบได้ในครั้งที่สองหรือสมัครในปีถัดไปก็ได้
บทความอื่นๆ ที่น่ามสนใจ : หลักสูตร EP คืออะไร มาทำความรู้จักกับหลักสูตร English Program
3. คะแนน O-NET จำเป็นต้องใช้ในสมัครเรียน
ในการสมัครเข้าเรียนต่อไม่ว่าจะเป็นรับตรง หรือ Admissions จำเป็นต้องใช้ผลคะแนนการสอบโอเน็ต โดยการ Admissions จะใช้ในสัดส่วนมากถึง 30 % หรือ 9,000 คะแนน ทุกคณะสาขาวิชา เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ได้เข้าสอบโอเน็ตก็เท่ากับว่า จะทำให้คะแนนหายไปถึง 9,000 คะแนนเลยทีเดียว โอกาสในการสมัครเข้าเรียนในคณะต่างๆ คะแนนที่จะผ่านนั้นก็น้อยลงไปด้วย
4. ช่วยโรงเรียนด้วยการสอบ O-NET
รู้หรือไม่ การสอบโอเน็ตถึงเป็นการช่วยโรงเรียนของเรา เพราะอย่างที่รู้กันว่าการสอบโอเน็ตนั้นเป็นการสอบเพื่อวัดมาตรฐานของโรงเรียน ว่าในแต่ละโรงเรียนมีคุณภาพในการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใด ด้วยความที่ข้อสอบของโอเน็ตเป็นฉบับเดียวกันทั่วทั้งประเทศ จึงทำให้สามาถรวัดผลคะแนนของโรงเรียนต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
5. ชี้ชะตาของคนที่อยากเรียนต่อแพทย์
น้องๆ อาจจะงงว่า การสอบ O-NET ไม่น่าจะเกี่ยวกับการสอบเข้าแพทย์ เพราะการสอบเข้าแพทย์ต้องสมัครผ่านทาง กสพท และก็ต้องสอบวิขาเฉพาะกับวิชาสามัญ เพื่อจะได้นำคะแนนมายื่นวัดผลการสอบเข้า ส่วนคะแนนสอบโอเน็ตก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือเราต้องทำคะแนนการสอบโอเน็ต 5 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย, สังคมศึกษา, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ได้ไม่น้อยกว่า 300 คะแนน จาก 500 คะแนนเต็ม มิฉะนั้นก็ไม่สามารถเข้าศึกษาต่อในคณะแพทย์ได้
ใน 9 วิชาสามัญ ต้องสอบวิชาอะไรบ้าง?
- วิชาภาษาไทย
- วิชาสังคมศึกษา
- วิชาภาษาอังกฤษ
- วิชาคณิตศาสตร์ 1 (สายวิทย์และศิลป์คำนวณ)
- วิชาฟิสิกส์
- วิชาเคมี
- วิชาชีววิทยา
- วิชาคณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์ภาษา)
- วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (สายศิลป์ภาษา)
** หมายเหตุ ซึ่งก่อนหน้านี้จะมีการสอบเพียงแค่ 7 วิชาเท่านั้น แต่ในปีนี้ 59 ได้มีการเปลี่ยนแปลงจาก 7 เป็น 9 คือ วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์พื้นฐานของสายศิลป์
บทความอื่นๆ ที่น่ามสนใจ : ผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย หรือ ผู้พิการเรียนต่อได้ที่ไหน ได้บ้าง
จำเป็นต้องสอบทั้ง 9 วิชาเลยเหรอ?
ต้องขอบอกเลยว่า “ไม่จำเป็น” เพราะว่าคณะสายวิทย์ต่างๆ จะใช้แค่ 5-7 วิชา ส่วนสายศิลป์ก็ประมาณ 3-5 วิชา ส่วนเราจะต้องสอบวิชาอะไรบ้างก็ให้ตรวจสอบกับทางคณะ/มหาวิทยาลัยที่เราจะยื่นคะแนน ว่าเขาต้องการคะแนนวิชาไหนบ้าง?
- หมอกอยากสอบตรงเข้าคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย A หมอกก็เข้าไปค้นข้อมูลในเว็ปของคณะ พบว่าทางคณะรับนักศึกษาใหม่ด้วยวิธีรับตรง 9 วิชาสามัญ มีวิชาที่ต้องสอบดังนี้ ภาษาไทย, สังคม, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ 2, วิทยาศาสตร์พื้นฐาน รวมทั้งสิ้น 5 วิชา หมอกจึงไปสมัครสอบ 5 วิชานี้ และนำคะแนนสอบที่ได้ไปยื่นที่คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย A
- ขวัญอยากสอบตรงเข้าคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย B ขวัญก็เข้าไปค้นข้อมูลในเว็ปของคณะ พบว่าทางคณะรับนักศึกษาใหม่ด้วยวิธีรับตรง 9 วิชาสามัญ มีวิชาที่ต้องสอบดังนี้ ภาษาไทย, สังคม, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีวะ รวมทั้งสิ้น 7 วิชา ขวัญจึงไปสมัครสอบ 7 วิชานี้ และนำคะแนนสอบที่ได้ไปยื่นที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย B
- วินยังไม่แน่ใจว่าตัวเองต้องการคณะอะไร อยากเรียนหลายคณะบัญชี สถาปัตย์ วิศวะ อักษร ฯลฯ วินไปเช็คกับเว็ปทุกคณะเจอว่าตัวเองต้องสอบทั้ง 9 วิชาเลย วินก็สมัครสอบไป 9 วิชา
ลักษณะของข้อสอบ
เนื้อหาข้อสอบของวิชาสามัญนั้นจะเป็นเนื้อหาของระดับชั้น ม.ปลาย แต่เป็นเนื้อหาที่เข้มข้นและยากกว่า O-NET ที่เป็นข้อสอบวัดระดับมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน แต่ไม่ลึกเท่ากับ GAT/PAT ที่จะเน้นเจาะลึกด้านทักษะทางวิชาชีพประกอบกันด้วย โดยผู้ออกข้อสอบของวิชาสามัญนั้นจะเป็นอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกับข้อสอบ GAT/PAT
มหาวิทยาลัยที่ใช้คะแนน 9 วิชาสามัญ มีทั้งหมด 27 แห่ง ดังนี้
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยทักษิณ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยนครพนม
- มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
- มหาวิทยาลัยนเรศวร
- มหาวิทยาลัยบูรพา
- มหาวิทยาลัยพะเยา
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- มหาวิทยาลัยศิลปากร
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
บทความอื่นๆ ที่น่ามสนใจ :นอกจาก O-NET เด็กไทยต้องสอบอะไรบ้าง สรุปกการสอบที่เด็กไทยต้องสอบ
อีกหนึ่งการสอบที่ใช้คะแนน 9 วิชาสามัญก็คือ กสพท เพราะใช้ในสัดส่วนการคัดเลือกถึง 70% กันเลยทีเดียว น้องๆ คนไหนที่ลงสอบไปก็อย่าลืมให้ความสำคัญกับการสอบ กสพท ด้วยนะ
แต่ก็ใช่ว่าทั้ง 27 มหาวิทยาลัยนี้จะใช้แต่ข้อสอบ 9 วิชาสามัญ เพราะบางมหาวิทยาลัยอาจจะเลือกใช้ข้อสอบอื่นๆ ได้ตามแต่ทางมหาวิทยาลัยต้องการ ซึ่งน้องๆ ต้องศึกษาระเบียบการก่อนการสมัครรับตรงโครงการต่างๆ เป็นอย่างดีก่อนจะสมัครสอบ
สรุปแล้ว 9 วิชาสามัญกับเคลียริ่งเฮ้าส์ คืออันเดียวกันไหม?
เป็นอะไรที่มีความสับสนมากๆ มีน้องๆ สงสัยกันทุกปี แต่บอกเลยว่าไม่ใช่อันเดียวกัน วิชาสามัญคือข้อสอบที่ใช้ในการคัดเลือกรับตรงของมหาวิทยาลัยต่างๆ ส่วนเคลียริ่งเฮ้าส์นั้นเป็นระบบไม่ใช่ข้อสอบ เคลียริ่งเฮ้าส์คือระบบยืนยันสิทธิ์รับตรงร่วมกัน เพื่อเคลียปัญหาการกั๊กที่เรียน
ที่มา : (campus.campus-star)
บทความอื่นๆ ที่น่ามสนใจ :
เทคนิคเด็ดๆ ที่จะช่วยให้ การอ่านหนังสือสอบ เป็นเรื่องง่าย
รวม 11 คำถามยอดนิยมที่มักเจอในการ สอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย