100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 92 ถุงน้ำคร่ำแตก อันตรายอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกน้อยอาศัยอยู่ในถุงน้ำคร่ำ แต่ถ้าวันนึงเกิด ถุงน้ำคร่ำแตก จะเป็นอันตรายต่อลูกหรือไม่ และการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ถุงน้ำคร่ำแตก ก่อนกำหนดจะเกิดอะไรขึ้น

น้ำคร่ำคืออะไร ? 

ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนของคุณแม่นั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ทำให้ร่างกายเกิดอาการคนท้องหลายประการด้วยกัน น้ำคร่ำในท้องคุณแม่จะเกิดขึ้นตั้งแต่สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ลักษณะจะเป็นเยื้อบางๆ 2 ชั้น และลูกน้อยก็จะอยู่ในถุงน้ำคร่ำ น้ำคร่ำที่คลุมตัวลูกอยู่นั้นเกิดจากน้ำเหลืองและเลือดของแม่

 

น้ำคร่ำกับน้ำเดินแตกต่างกันอย่างไร ? 

น้ำเดืน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำเดิน หรือที่ในทางการแพทย์เรียกว่า ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์ (Premature Rupture of Membranes: PROM) เกิดขึ้นเมื่อถุงน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มตัวทารกนั้นกำลังจะแตกหรือรั่วก่อนการเจ็บครรภ์ ทำให้มีน้ำคร่ำไหลออกมาจากช่องคลอด โดยปกติแล้วจะเกิดขึ้นในช่วงหลังสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่บอกว่าทารกพร้อมลืมตาออกมาดูโลกแล้ว อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีคุณแม่ก็อาจเผชิญอาการน้ำเดินในระยะก่อนหน้านี้ได้เช่นกัน

 

ภาวะแทรกซ้อนน้ำเดินก่อนกำหนด

  • เกิดการติดเชื้อในร่างกายของคุณแม่หรือทารกในครรภ์
  • เผชิญภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
  • มีความผิดปกติของสายสะดือ
  • ทารกเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดก่อนกำหนด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หน้าที่หลัก ๆ ของน้ำคร่ำ 

  • ของเหลวที่คอยปกป้องทารกที่อยู่ในท้องของคุณแม่
  • ป้องกันการกระทบกระเทือน
  • รักษาอุณหภูมิให้ทารกในครรภ์รู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย
  • ลูกสามารถเคลื่อนอยู่ในครรภ์ได้อย่างอิสระ
  • ฝึกการกลืนตั้งแต่อยู่ในท้อง

 

ปริมาณของน้ำคร่ำ 

  • อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ จะมีน้ำคร่ำประมาณ 50 มิลลิลิตร
  • อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ จะมีน้ำคร่ำประมาณ 150 – 200 มิลลิลิตร
  • อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ จะมีน้ำคร่ำประมาณ 400 มิลลิลิตร
  • อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ จะมีน้ำคร่ำประมาณ 1,000 มิลลิลิตร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด

คลอดก่อนกำหนด

 

ในกรณีที่มีภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด  โดยมีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ควรแจ้งสูตินรีแพทย์ และไปโรงพยาบาลทันที ขณะเดินทางไปโรงพยาบาล ให้ระวังน้ำคร่ำให้ดี การสูญเสียน้ำคร่ำมากเกินไป อาจทำให้ลูกของคุณเกิดอาการเจ็บปวด และจะเห็นได้จากสีของน้ำคร่ำ แทนที่จะเป็นน้ำสีใส น้ำคร่ำจะมีเลือดปนในปริมาณมาก และมีสีเขียวหรือสีคล้ำปนอยู่พร้อมกับมีกลิ่นเหม็น

เป็นสิ่งสำคัญต้องคอยสังเกตน้ำคร่ำ เมื่อเกิดน้ำคร่ำแตก โดยเฉพาะหากน้ำคร่ำแตกก่อนคลอด ทารกประมาณหนึ่งในหนึ่งร้อยรายมีอาการติดเชื้อ เมื่อเปรียบเทียบกับทารกจำนวนหนึ่งในหนึ่งสองร้อยราย ที่คลอดโดยไม่มีภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนคลอด

 

อาการน้ำคร่ำแตก 

ความรู้สึกของคุณแม่ ก็จะแตกต่างออกไปในแต่ละคน บางคนอาจจะแตกออกมาเหมือนปัสสาวะไหล หรือบางคนก็ไหลหยดช้า ๆ ความรู้สึกเหมือนกำลังปัสสาวะอยู่ ในบางคนอาจจะรุนแรงกว่านี้ แต่โดยทั่วไปคุณแม่จะรู้สึกและสัมผัสถึงความผิดปกติของร่างกายได้ คุณแม่จะรู้สึกถึงแรงดัน และรู้สึกโล่งเมื่อถุงน้ำคร่ำแตก

 

สิ่งที่ควรรู้เมื่อน้ำเดิน น้ำคร่ำแตก

1. อย่าตื่นตระหนกค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ตรวจดูให้แน่ใจว่าน้ำที่ไหลออกมานั้นเป็นน้ำคร่ำหรือปัสสาวะ โดยดูที่สีและกลิ่น

3. หากน้ำเป็นน้ำคร่ำ น้ำที่ไหลออกมาจะไม่มีสีและไม่มีกลิ่น หรือมีกลิ่นหวานนิดๆ

4. หากเป็นปัสสาวะ จะเป็นน้ำมีสีเหลืองและมีกลิ่นคล้ายแอมโมเนีย

5. น้ำคร่ำจะ “ไม่” ไหลมาเหมือนน้ำในเขื่อนทะลัก เพราะน้ำคร่ำจะค่อยๆ ไหลออกมาช้าๆ เรื่อยๆ

6. เวลาที่ น้ำคร่ำแตก น้ำคร่ำจะค่อยๆ ไหลออกมาช้าๆ ดังนั้นคุณแม่จึงมีเวลาในการเตรียมตัวไปโรงพยาบาล เพราะอาการเจ็บท้องคลอดมักจะยังไม่เกิดขึ้นทันที แต่จะเกิดขึ้นหลังจากน้ำคร่ำแตกประมาณ 12-24 ชั่วโมง แต่หากเลยกว่านี้อาจจะเกิดการติดเชื้อได้ แพทย์จึงมักกระตุ้นให้คลอดภายใน 24 ชั่วโมงค่ะ

7. ใส่ผ้าอนามัย ป้องกันน้ำคร่ำเลอะเทอะได้ระหว่างเตรียมตัวไปโรงพยาบาล หากกลัวว่าน้ำคร่ำจะไหลเลอะเทอะ ให้คุณแม่ทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดด้วยการเช็ดจากข้างหน้าไปข้างหลัง และใส่ผ้าอนามัย (ห้ามใช้แบบสอด) ก็จะช่วยป้องกันการเลอะเทอะได้

8. หมั่นสังเกตสีของน้ำคร่ำ คุณแม่ควรหมั่นสังเกตสีของน้ำคร่ำที่ออกมาด้วย เพื่อจะได้พบความผิดปกติต่างๆ โดยหากสังเกตว่าน้ำคร่ำมีสีที่ผิดปกติ เช่น มีสีเขียวหรือสีน้ำตาล เรียกว่า น้ำคร่ำขี้เทา แสดงว่าลูกในท้องได้มีการขับถ่ายกากอาหารออกมา ให้รีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน เพราะมีความเสี่ยงว่าลูกน้อยอาจสำลักน้ำคร่ำจนเป็นอันตรายได้

 

ทำไมน้ำคร่ำแตก ถึงอันตราย ? 

  • หาก ถุงน้ำคร่ำแตก แต่ไม่มีการเจ็บท้อง และครรภ์ยังไม่ครบกำหนด เป็นสัญญาณเตือนว่าจะต้องมีการคลอดในระยะอันใกล้นี้
  • เสี่ยงต่อภาวะสายสะดือของทารกในครรภ์ที่จะย้อยลงมาและถูกกดทับ ทำให้การไหลเวียนเลือดและถ่ายเทของเสียจากแม่ไปสู่ลูก/จากลูกไปสู่แม่ทำได้ไม่ดี ลูกขาดออกซิเจนอาจทำให้มีความพิการทางสมอง หรือเสียชีวิตได้ค่ะ
  • หาก ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนที่จะเจ็บท้องคลอด เป็นเวลาตั้งแต่ 18-24 ชั่วโมงขึ้นไป แล้วไม่รีบพบแพทย์ จะเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อทั้งคุณแม่และลูกในครรภ์

 

ภาวะแทรกซ้อน เมื่อถุงน้ำคร่ำแตก

  • เกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
  • หลอดเลือดและสายสะดือขาด คุณแม่กับลูกจะเสียเลือดในการคลอดมากขึ้น
  • ปอดของเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดบางรายยังไม่แข็งแรง ปอดไม่ขยาย มีโอกาสที่เกิดปัญหาการหายใจ หรือปอดติดเชื้อได้ง่ายหลังคลอด
  • ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ ก่อนสัปดาห์ที่ 37 เป็นสัญญาณที่บอกว่าทารกจะคลอดก่อนกำหนด
  • มารดาเสี่ยงต่อการถูกผ่าตัดคลอดมากขึ้น

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

ที่มา : https://www.sanook.com/women/119141/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไรได้บ้าง

น้ำคร่ำน้อยอันตรายไหม ลูกในท้องจะเป็นอย่างไร มีวิธีป้องกันหรือเปล่า

อีกหนึ่งอันตราย ที่แม่ท้องควรรู้! น้ำเดินก่อนคลอด ถุงน้ำคร่ำรั่ว ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow