ฮิคิโคโมริ (Hikikomori) คืออะไร
ชื่อ ฮิคิโคโมริ อาจฟังดูเหมือนจะไม่ใช่โรคของคนไทย เพราะฟังดูเป็นภาษาญี่ปุ่น มาทำความเข้าใจฮิคิโคโมริกันแบบชัดเจนกันค่ะ ฮิคิโคโมริ หรือเรียกย่อ ๆ ว่า “ฮิคกี้” แท้ที่จริงแล้วฮิคิโมริ ไม่ใช่โรคอย่างที่เข้าใจกัน แต่เป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติในลักษณะเก็บตัวเงียบ
อาการของฮิคิโคโมริ
เด้กที่มีอาการฮิคิโคโมริจะแยกตัวออกมาจากสังคม ไม่อยากพบเจอผู้คน มักเก็บตัวเงียบในห้อง ในบ้าน มุมที่เป็นพื้นที่ส่วนตัว เด็กที่มีอาการฮิคิโมริ มักจะไม่ยอมไปโรงเรียน หมกมุ่นทำในสิ่งที่ตนเองต้องการ เด็กบางคนจะอ่านแต่หนังสือการ์ตูน เล่นเกม เล่นอินเทอร์เน็ต ดูทีวี หรือแม้แต่นั่งเฉย ๆ อยู่ในห้องคนเดียวได้เป็นระยะเวลานาน ๆ มีพฤติกรรมแบบนี้ซ้ำ ๆ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตพฤติกรรมของลูกน้อยให้ดี ๆ นะคะ เพื่อจะได้รีบปรึกษาจิตแพทย์เพื่อแก้ไขพฤติกรรม
ทางด้านจิตวิทยา อาการฮิคิโคโมริ คือ “การหนี” ซึ่งแตกต่างจาก “การเพิกเฉย” หรือการชอบอยู่คนเดียวอย่างสงบ แต่การหนี คือ ไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับใคนอื่น ทำให้ดูเหมือนตัดขาดตนเองจากโลกภายนอก
เลี้ยงลูกคาดหวังมากไป ระวังลูกป่วยเป็น “ฮิคิโคโมริ” (Hikikomori)
สำหรับในบ้านเรา ทุกวันนี้หน้าที่หลักของลูก คือ เรียน เรียน และเรียน คยามคาดหวังที่คุณพ่อคุณแม่มีต่อลูกนั้นบางครั้งอาจทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว แม้ว่าความคาดหวังจะเกิดจากความรักและความหวังดีก็ตาม จนส่งผลให้เกิดอาการฮิคิโคโมริ (Hikikomori) ได้
มาดูกันว่า มีปัจจัยใดบ้างที่อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการฮิคิโมริ
- ลูกถูกกดดันเรื่อง เรียนมากเกินไป เครียดเพราะถูกคาดหวังจากครอบครัว
- มักถูกเพื่อกลั่นแกล้งเสมอหรืออาจถูกกลั่นแกล้งจากคนรอบข้างจนรู้สึกตัวเองไร้ค่า
- เป็นคนขี้อายจนไม่กล้าเข้าสังคม เกิดจากเหตุผลหลายประการ เช่น การเลี้ยงดูที่ลำเอียง การถูกเปรียบเทียบจากคนในครอบครัวเสมอ ๆ
- มักจะอ่อนไหวกับคำพูด อารมณ์ของคนอื่น จนเก็บมาเป็นทุกข์สะสม ๆ เรื่อยจนเกิดภาวะฮิคิโมริ
- เมื่อเกิดปัญหาจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เกิดความหวาดกลัวและหนีปัญหา
เลี้ยงลูกให้ถูกทาง ห่างไกลฮิคิโมริ
1. เวลาคุณภาพ
ทุกวันนี้เวลาที่คุณพ่อคุณแม่ได้อยู่กับลูกอาจไม่มากนักด้วยภารกิจมากมายใฝนแต่ละวัน แต่เมือ่ไรก็ตามที่ได้อยู่กับลูก ใช้เวลาเหล่านั้นให้มีคุณภาพ พูดคุย กอด แสดงความรักให้ความอบอุ่นลูกอย่างเต็มที่ให้คุ้มค่ากับเวลาที่ได้อยู่ด้วยกัน
2. กิจกรรมนำครอบครัวอบอุ่น
การพาลูกออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่ซ้ำจำเจ พาลูกไปทำกิจกรรมช่วยเปิดประสบการณ์ กระตุ้นความสนใจ เรียนรู้ ที่สำคัญร่วมกิจกรรมกับลูก เล่นกับลูก หรือแม้แต่ชวนกันไปเดินเล่น วิ่งออกกำลังกายใกล้ๆ บ้านก็เป็นกิจรรมง่าย ๆ แต่ได้ใจทั้งพ่อแม่และลูกนะคะ
3. ฟังมาสิฟัง
พ่อแม่ต้องปรับพฤติกรรมเวลาอยู่กับลูก พูดมให้น้อยลง ฟังลุกให้มากขึ้น อย่าขัด อย่าแขวะ อย่าขวาง ฟังให้จบเพราะบางครั้งลุกไม่ได้ต้องการอะไรเลยนอกจากการรับฟังลูกพูดในสิ่งที่อยากล่เพื่อให้พ่อแม่รับรู้เท่านั้น สำคัญนะคะ การเป็นผู้ฟังที่ดี
4. ไว้ใจ เชื่อใจ ไม่กังวลแทนลูก
แน่นอนว่าพ่อแม่ทุกคนรักลูก ห่วงลูก แต่ถ้ารักและห่วงใยจนไม่ให้ลูกได้ทำอะไรด้วยตนเอง รักลูกแบบนี้ไม่ดีนะคะ เพราะลูกจะไม่มีความอดทนต่อปัญหา แ้กปัญหาด้วยตนเองไม่ได้ ร้องขอ รอคอย คือ ทางออกสำหรับลูก ซึ่งไม่ดีแน่ ๆ แต่พ่อแม่ควรเปลี่ยนเป็นความไว้ใจ เชื่อใจ และสร้างกำลังใจให้ลูกเชื่อมั่นว่า ลูกทำได้ แต่ไม่ใช่การกดดันนะคะ แต่อย่างน้อยความเชื่อมั่นก็เป็นแรงเสริมให้ลูกกล้าที่จะก้าวได้ด้วยตนเอง
5. ทักษะสร้างสรรค์ สร้างพรสวรรค์ ค้นหาพรแสวง
เชื่อเถอะค่ะว่า การให้ลูกคร่ำเคร่งเรียน เรียน และเรียนนั้น ไม่ก่อใหเ้กิดผลดีกับลูกแต่อย่างใด แถมตัดโอกาสการเรียรนู้โลกภายนอก ตัดโอกาสการเรียนรู้และเข้าใจตนเอง ค้นหาความชอบของตนเอง ชีวิตวัยเด็กเป็นช่วงเวลาที่สดใส เป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ ปล่อยให้ลูกได้ค้นพบสิ่งที่ลูกต้องการและตามหา โดยมีพ่อแม่คอยให้กำลังใจและเข้าใจในความชอบ ความสนใจของ ลูกจะดีกว่านะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เด็กยุคใหม่เสี่ยงโรคไตตั้งแต่วัยเด็ก พ่อแม่ระวังให้ดี
สอนลูก 3 ขวบ เรื่องสำคัญที่ต้องฝึกลูก 3 ขวบ ลูกวัยอนุบาล ควรเรียนรู้เรื่องอะไร
วิธีสอนลูกอย่างไร ? ให้ลูกเชื่อฟัง เป็นเด็กดี และไม่ต่อต้านพ่อแม่