เริมที่ปาก อาการเป็นอย่างไร เป็นโรคติดต่อหรือไม่ วิธีการรักษาเริมที่ปาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เริมที่ปาก รักษาได้หรือไม่ อาการเริมที่ปาก สร้างความรำคาญใจให้กับคนที่เป็นอยู่ไม่น้อย แถมโดดเด่นอยู่บนหน้า เป็นแล้วคัน มาดูว่า มีสาเหตุมาจากอะไร สามารถติดต่อได้หรือไม่ และมีวิธีการป้องกัน เริมที่ปาก อย่างไร?

 

โรคเริมคืออะไร?

โรคเริม คือ โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส Herpe Simplex Virus (HSV) ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ชนิด ดังนี้

  1. เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ ชนิดที่ 1 (Herpe Simplex Virus type 1)
  2. เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ ชนิดที่ 2 (Herpe Simplex Virus type 2)

โดยเชื้อจะทำให้เกิดเริม บริเวณผิวหนังและส่วนเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย

 

เริมเป็นโรคผิวหนัง ที่ไม่สามารถทำการรักษาให้หายขาดได้ เพราะเชื้อไวรัสเหล่านี้ จะยังคงอยู่ในร่างกาย และกลับมาแสดงอาการ หากร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือ ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการของเริม

เริมที่ปาก และเริมที่อวัยวะเพศ มีความคล้ายกัน คือ จะมีตุ่มน้ำใส ๆ บริเวณที่เกิดการติดเชื้อ เช่น ปาก อวัยวะเพศ ทวารหนัก เป็นต้น ซึ่งจะมีอาการเจ็บ ปวด แสบ บริเวณแผล หากเกิดการติดเชื้อครั้งแรก อาจมีอาการรุนแรง และหายได้ช้า แต่หากเป็นการติดเชื้อซ้ำ อาการจะลดลง และหายได้เร็วกว่าเป็นครั้งแรก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อ จะมีระยะฟักตัวอยู่ประมาณ 2-20 วัน จึงจะแสดงอาการ เมื่อหายแล้ว เชื้อสามารถเข้าไปฝังตัว อยู่ในปมประสาทใต้ผิวหนัง และสามารถเกิดขึ้นได้ใหม่ เมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือ ภูมิคุ้มกันต่ำ

 

การรักษา เริมที่ปาก

ในปัจจุบันนี้ ยังไม่สามารถรักษาโรคเริมให้หายขาดได้ ซึ่งปกติแล้ว การรักษาโรคเริม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ดังนี้

  • การบรรเทาอาการปวด

แพทย์จะทำการจ่ายยา เพื่อบรรเทาอาการปวด โดยโรคเริมนี้จะสามารถหายได้เอง ภายในเวลา 2-6 สัปดาห์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • การควบคุมเชื้อไวรัส

ปกติแล้ว เมื่อโรคเริมกำเริบ แพทย์มักจะจ่ายยา เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อ และช่วยลดความรุนแรงของอาการ โดยยาเหล่านี้จะเป็นยาชนิดรับประทาน และรูปแบบยาทา เพื่อลดอาการเริม

 

 

การดูแลเริมที่ปากด้วยตนเอง

นอกเหนื้อจากการทานยา หรือ ทายา ตามที่แพทย์สั่งแล้ว การดูแลตัวเองก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่จะช่วยรักษาโรคเริมได้ ซึ่งวิธีการดูแลตนเอง สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

 

  • ทำความสะอาดแผลเริม

ผู้ที่เป็นเริม ควรทำความสะอาดแผล ด้วยการใช้น้ำเกลือ หรือ น้ำอุ่น ก่อนทำความสะอาดแผลอย่าลืมล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากมือเข้าสู่แผล วิธีทำความสะอาด ให้เลือกใช้ผ้าสะอาด มาชุบน้ำเกลือ และน้ำอุ่น จากนั้นนำไปทำความสะอาดบริเวณบาดแผล อย่างเบามือ แล้วตามด้วยทายารักษา เพื่อช่วยกระตุ้นให้ยา สามารถเข้าไปรักษาได้ดีขึ้น

 

  • รักษาความสะอาด

เริมเป็นโรคที่ทำให้เกิดแผลบนใบหน้า ดังนั้น หากมีความจำเป็นที่จะต้องแต่งหน้า ควรเหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอาง ที่บริเวณแผล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ และควรเช็ด ล้าง เครื่องสำอางให้เหลี่ยง เพื่อให้บริเวณแผลมีความสะอาด ลดโอกาสติดเชื้อได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • รักษาแผลให้แห้ง

ควรรักษาแผลเริม ให้แห้งอยู่เสมอ ๆ และไม่ควรปล่อยให้ชื้น เพราะจะทำให้แผลหายช้ากว่าปกติ เมื่อมีการอาบน้ำ หรือล้างหน้า ให้เช็ดบริเวณแผลอย่างเบามือ หากมีอาการแสบร้อน สามารถทาเจลว่านหางจระเข้ เพื่อลดอาการได้

 

  • ตัดเล็บมือให้สั้นอยู่เสมอ

เพื่อป้องกันการแคะ แกะ เกา บริเวณแผล ควรหมั่นตัดเล็บมือให้สั้นอยู่เสมอ ๆ เพื่อไม่ให้แบคทีเรีย และสิ่งสกปรกในเล็บ ไปติดบริเวณแผลเริม ซึ่งอาจทำให้แผลเกิดการติดเชื้อ และอักเสบได้

 

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดอาการโรค เริมที่ปาก คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเรา เพื่อลดโอกาสเสี่ยงการติดเชื้อ และ ฟื้นฟูร่างกายจากโรค ดังนี้

  • งดการออกกำลังกายหนัก ๆ
  • นอนหลับให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ง

 

เริมที่ปากเป็นโรคติดต่อหรือไม่?

เริม เป็นโรคติดต่อทางผิวหนังชนิดหนึ่ง หากมีการสัมผัสเชื้อ ผ่านสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น น้ำลาย น้ำเหลือง เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงในการติดต่อ ได้แก่ การดื่มน้ำแก้วเดียวกัน การจูบปาก การรับประทานอาหารร่วมกัน เป็นต้น เริมสามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยเริมมักเกิดในวัยหนุ่มสาว และผู้ใหญ่ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ แต่อาจกำเริบได้ เมื่อภูมิคุ้มกันต่ำ หรือ ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

 

เริมที่ปาก อาจไม่ใช่โรคร้ายแรงที่ส่งผลเสียต่อร่างกายมากมาย แต่ก็เป็นโรคติดต่อทางผิวหนัง ที่สร้างความรำคาญใจให้กับผู้ป่วยอยู่ไม่น้อย ดังนั้น หากใครที่สงสัยว่ามีอาการ แนะนำให้เข้าพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง

 

ที่มาข้อมูล : pobpadlovefoundation

บทความที่น่าสนใจ :

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เริม เริมคืออะไร อันตรายยังไง?

ป้องกันลูกเป็นเริม ห้ามคนอื่น “จูบลูก” อย่างเดียวคงไม่พอ

ใครจะจูบใครจะหอมต้องระวัง ลูกเป็นเริมเกือบตายเพราะรอยจูบ

บทความโดย

Waristha Chaithongdee