โรคฮีโมฟีเลียในเด็ก อาการเลือดออกไม่หยุด เราควรรับมือยังไงบ้าง มาดูกัน !

โรคฮีโมฟีเลียในเด็ก อาการเลือดออกไม่หยุด เราควรรับมือยังไงบ้าง มาดูกัน !

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคฮีโมฟีเลียในเด็ก อาการเลือดออกไม่หยุด เราควรรับมือยังไงบ้าง มาดูกัน! หลายคนน่าจะเคยรู้จักหรือเคยได้ยินชื่อโรคนี้กันมาบ้างแล้ว แน่นอนว่าลูกของใครที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ อย่าพึ่งตกใจไปนะคะ วันนี้เรามารู้จักวิธีการรับมือและมาไขข้อสงสัยไปพร้อม ๆ กันได้เลย  โรคฮีโมฟีเลียในเด็ก เป็นยังไงบ้างนะ

 

โรคฮีโมฟีเลียคืออะไร อาการที่แม่ต้องรู้

โรคฮีโมฟีเลียเป็นโรคที่เลือดออกง่าย และหยุดยาก โดยโรคนี้จะมีความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป สำหรับคนที่มีอาการไม่มากก็อาจจะยกตัวอย่างเช่น กรณีที่เราพาลูกไปถอนฟันแล้วเลือดหยุดช้า หรือเลือด 1 วันถึงหยุดไหล เป็นต้น ในส่วนความรุนแรงปานกลาง ยกตัวอย่างเช่น ลูกหกล้มแผลไม่ได้ลึก แต่เลือดของลูกไหลออกไม่หยุดและไหลเร็ว เป็นต้น และในส่วนคนที่เป็นโรคนี้ขั้นรุนแรง หารู้ไหมว่าการที่ลูกอยู่เฉย ๆ ก็สามารถเลือดไหลออกมาได้ อาทิเช่น หัวโนก็อาจจะทำให้เลือดไหลออกมาจากสมองได้เลยนั่นเอง

โดยโรคฮีโมฟีเลียที่เราได้ยินกันนั้น จะเกิดจากความผิดปกติของยีนที่การกลายพันธุ์เอง โดยโรคนี้เราจะไม่สามารถสังเกตที่รูปลักษณ์ภายนอกได้ว่าลูกของเราเป็นโรคนี้อยู่หรือเปล่า แต่เราจะสังเกตได้จากการที่เมื่อไหร่ลูกเรามีบาดแผล หรือหกล้มแล้วเลือดไหล สิ่งนี้ถึงจะทำให้เราสังเกตได้ นอกจากนี้โรคฮีโมฟีเลียยังสามารถถ่ายทางพันธุกรรมได้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง

 

ในช่วงของการตั้งท้องเราสามารถตรวจดูได้ไหมว่าลูกเป็นโรคฮีโมฟีเลียหรือเปล่า

สิ่งเหล่านี้สามารถตรวจดูได้ว่าลูกเราเป็นโรคนี้ไหม โดยอาจจะนำเลือดไปตรวจ ซึ่งอายุครรภ์โดยส่วนใหญ่แล้วที่สามารถตรวจได้น่าจะประมาณ 3 เดือนขึ้นไป หรือเพื่อความมั่นใจในการตรวจทุกครั้งคุณแม่อาจจะขอคำแนะนำ หรือปรึกษาคุณหมอก่อนทำการตรวจจะดีที่สุดค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีการดูแลลูกที่เป็นโรคฮีโมฟีเลีย ควรทำยังไง?

การที่ลูกเราป่วยเป็นโรคเหล่านี้ เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนก็อาจจะอดเป็นห่วงไม่ได้แหละว่า ลูกของเราจะเป็นอันตรายไหม ไม่ต้องห่วงนะคะ วันนี้เราได้นำวิธีการรับมือมาฝากทุกคนให้ได้ทราบกันแล้ว มีอะไรบ้างมาดูกัน

1. พยายามไม่ให้ลูกได้รับแรงกระแทก

โดยส่วนใหญ่แล้วสำหรับวิธีการดูแลลูกที่ป่วยเป็นโรคฮีโมฟีเลีย เราอาจจะต้องพยายามไม่ให้ลูกได้รับอะไรที่มันกระทบกระแทกจนเกินไป อาทิเช่น เมื่อไหร่ที่ลูกจะทำกิจกรรมต่าง ๆ เราอาจจะต้องให้ลูกใส่สนับเข่า หรือสนับศอกก่อนทุกครั้ง หือบางคนที่ลูกยังเด็กอยู่ ช่วงที่ลูกกำลังคลาน หรือฝึกเดินเราอาจจะมีที่รองเบาะนุ่ม ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้หัว หรือเข่ากระแทกกับพื้นนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคที่มากับหน้าร้อน โรคฮิตสำหรับเด็ก พ่อแม่ต้องระวังอย่าให้ลูกป่วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. แล้วลูกที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียสามารถฉีดวัคซีนได้ไหม

แน่นอนว่าเด็กที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียสามารถฉีดวัคซีนได้ โดยการฉีดวัคซีนในแต่ละครั้งอาจจะต้องทำการกดแผลบริเวณฉีดไว้อย่างน้อยประมาณ 10 นาที เพื่อเป็นการหยุดเลือดหลังจากที่ฉีดไปแล้ว ซึ่งการฉีดทุกครั้งคุณแม่อาจจะต้องทำการแจ้งคุณหมอด้วยว่าลูกของเราเป็นโรคฮีโมฟีเลีย เพื่อที่คุณหมอจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและทำการหยุดเลือดได้อย่างถูกวิธี

 

3. ต้องตรวจฟันลูกเป็นประจำทุก 6 เดือน

เพราะฉะนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่ลูกกำลังเป็นโรคฮีโมฟีเลีย เราอาจจะต้องทำการตรวจฟันลูกทุก ๆ 6 เดือน พร้อมกับทำรักษาความสะอาดภายในช่องปากและให้ลูกแปรงฟันอยู่เสมอ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เมื่อไหร่ที่เราไม่ดูแลฟันของลูกให้สะอาด สิ่งนี้ก็จะทำให้ลูกของเราฟันผุ และเมื่อฟันผุก็ต้องทำการถอนฟัน และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่จะทำให้เลือดไหลออกมาไม่หยุดนั่นเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไมโดยส่วนใหญ่แล้วโรคฮีโมฟีเลียมักเกิดในเด็กผู้ชายมากกว่า

เหตุผลที่ทำให้พบโรคฮีโมฟีเลียในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง อาจเป็นเพราะว่าโรคเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากยีนโครโมโซม X เพราะฉะนั้นสิ่งนี้จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคฮีโมฟีเลียพบในเด็กผู้ชายมากกว่าในเด็กผู้หญิง แต่บางรายก็อาจจะพบในเด็กผู้หญิงได้ แต่ก็มีเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างน้อยเหมือนกัน

 

คำถามที่พบได้บ่อย และหลายคนมักเกิดข้อสงสัย

สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่มักจะเกิดคำถามเหล่านี้อยู่บ่อย ๆ  มาไขข้อสงสัยไปพร้อม ๆ กัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกเป็นหวัดอาบน้ำได้ไหม สระผมได้หรือเปล่า ลูกป่วยไม่สบายควรดูแลอย่างไร?

 

 

1. ผู้หญิงที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียในช่วงที่เป็นประจำเดือนควรทำอย่างไร

แน่นอนว่าการที่เราป่วยเป็นโรคนี้สำหรับบางคนแล้ว คุณหมอก็จะให้ยามาทาน ภายในยาของเราจะมีส่วนผสมของสารตัวหนึ่งที่ช่วยสร้างเม็ดเลือดของเราให้แข็งแรง และสามารถหยุดเลือดได้เร็วขึ้น ซึ่งกรณีนี้อาจจะเหมาะสำหรับคนที่โรคนี้ขั้นรุนแรง แต่สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นรุนแรง หรือเป็นแค่ช่วงที่เป็นประจำเดือนแล้วเลือดไหลออกมาในปริมาณมาก เราก็อาจจะทานยาคุมตามไปด้วย เพราะสิ่งนี้จะช่วยไปปรับฮอร์โมนในร่างกายของเราให้ดีขึ้นนั่นเอง

 

2. ถ้าตั้งครรภ์ได้ 6 สัปดาห์ ตรวจได้ไหมว่าลูกเป็นโรคฮีโมฟีเลียหรือเปล่า

โดยส่วนใหญ่แล้วถ้าเราตรวจในช่วงอายุครรภ์ประมาณนี้ อาจจะทำให้เราทราบเพียงบางอย่างเท่านั้น แต่ถ้าจะให้ตรวจเพื่อความมั่นใจเลยเราอาจจะให้อายุครรภ์ประมาณ 3 เดือนก่อนจะดีที่สุด หรือเพื่อความสบายใจและรู้ผลได้อย่างแน่ชัดว่ารู้ในท้องของเราป่วยเป็นโรคนี้จริง ๆ หรือเปล่าเราอาจจะต้องทำการขอคำแนะนำ พร้อมกับปรึกษาคุณหมอก่อนจะดีกว่าค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ถ้าน้องชายของคุณตาเป็นโรคฮีโมฟีเลีย ลูกเรามีโอกาสเป็นไหม

ถ้ากรณีที่คุณตาไม่ได้เป็นโรคฮีโมฟีเลียนั้น แสดงว่ายีนโครโมโซม X ของคุณตาปกติ ลูกของเราที่เกิดมาก็จะไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ค่ะ แต่ในทางกลับกันถ้ากรณีที่คุณยายเป็นพาหะโรคฮีโมฟีเลียนั่นก็แสดงว่าลูกของเรามีโอกาสที่จะเป็นโรคฮีโมฟีเลียได้

 

4. คุณพ่อเป็นโรคฮีโมฟีเลีย และคุณแม่ท้องลูกชาย ลูกจะเป็นโรคฮีโมฟีเลียไหม

กรณีอาจจะขึ้นอยู่กับแม่ค่ะ เพราะลูกชายจะได้รับยีนโครโมโซม X มาจากคุณแม่ เพราะฉะนั้นคุณแม่ก็อาจจะต้องดูว่าตัวเองป่วยเป็นโรคฮีโมฟีเลีย หรือเป็นพาหะโรคนี้ไหม ถ้าคุณแม่เป็นโรคนี้โอกาสที่ลูกชายจะเป็นก็ค่อนข้างสูง แต่ถ้าเราเป็นแค่พาหะลูกในท้องของเราก็มีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคนี้ประมาณ 50% ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารเพิ่มเม็ดเลือดแดงคนท้อง คนท้องเลือดจางควรกินอะไร ?

 

ความเชื่อที่เราเคยได้ยินและสงสัยนั้นเป็นความจริงไหมนะ

ความเชื่อที่เราเข้าใจกันนั้นแท้จริงแล้วเป็นความเชื่อที่จริงหรือไม่ มาทำความเข้าใจไปพร้อมกันเลยดีกว่า

 

1. ต้องให้ลูกหยุดกินนมแม่ ตอนที่แม่มีอาการท้องเสียจริงไหม ?

ขอบอกว่าไม่จริงนะคะ เพราะการที่เราท้องเสียนั้น ยังสามารถให้ลูกกินนมได้ปกติค่ะ เพราะเชื้อโรคไม่สามารถส่งผ่านไปยังน้ำนมได้ ในทางกลับถ้าคุณแม่ต้องกินยาเพื่อทำการรักษา เราก็อาจจะต้องเลือกทานยาที่เหมาะสำหรับคุณแม่ให้นมลูกนั้นเอง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูก เราก็อาจจะต้องทำการปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอก่อนทุกครั้งค่ะ เพราะเมื่อไหร่ที่เราซื้อยามาทานเองโดยที่ไม่ได้ถามหรือปรึกษาคุณหมอก่อน ยาบางตัวที่เราทานเข้าไปก็อาจจะส่งผลไม่ดีต่อลูกได้

2. เด็กอ้วนคือเด็กที่แข็งแรงจริงหรือไม่ ?

เรียกได้ว่าความเชื่อเหล่านี้เป็นความเชื่อที่ค่อนข้างเข้าใจผิดกันเยอะมากพอสมควร หารู้ไหมว่าเด็กบางคนที่อ้วนค่อนข้างที่จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ มากกว่าคนอื่นเลย อาทิเช่น โรคไข้หวัดใหญ่ หรือโรคไข้เลือดออก เป็นต้น ซึ่งเมื่อไหร่ที่เขาเหล่านี้ติดเชื้อก็เรียกได้ว่าค่อนข้างเสี่ยงและเป็นอันตรายมากเช่นกัน เพราะฉะนั้นเด็กอ้วนที่เข้าใจว่าเขาแข็งแรงนั้นอาจเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดค่ะ

 

เป็นไงกันบ้างหลังจากที่เราได้พาคุณพ่อคุณแม่ทุกคนมารู้จักกับโรคฮีโมฟีเลียกันแล้ว แน่นอนว่าเราไม่อาจห้ามโรคต่างๆ เหล่านี้ไม่ให้เกิดขึ้นกับเรา หรือลูกของเราได้ แต่ในทางกลับกันเราก็สามารถที่จะดูแลและมีวิธีรับมือกับมันได้ เพราะฉะนั้นใครที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ก็ไม่ต้องคิดมากไปนะคะ ถ้าเราปฏิบัติและทำตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัด ลูกของเราก็จะเติบโตมาเป็นเด็กที่แข็งแรงสมบูรณ์แน่นอนค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

โรคทางพันธุกรรม ที่ลูกอาจติดจากพ่อแม่ มีอะไรบ้าง จะรับมืออย่างไร

ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

ป้องกันลูกจากโรคมือเท้าปาก พ่อแม่ต้องทำอย่างไร

ที่มาข้อมูล : (1) แพทย์หญิง พรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์  เจ้าของเพจ เรื่องเด็ก ๆ by หมอแอม, synphaet

บทความโดย

Tidaluk Sripuga