ชันนะตุ และเชื้อราบนหัวลูก เกิดจากอะไร ... ทำอย่างไรให้หาย ?

หัวลูกเป็นเชื้อรา ชันนะตุ ตกสะเก็ด เป็นหนอง ทำยังไดี? เกิดอื่นตกบอกก่อนว่า ถ้าบริเวณที่ตกสะเก็ดเริ่มขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ แนะนำให้ไปพบหมอดีกว่า เพราะถ้าปล่อยไว้รักษาเองอาจจะแย่ขึ้นก็ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ชันนะตุ และเชื้อราบนหัวลูก เกิดจากอะไร … ทำอย่างไรให้หาย ? เด็กวัยกำลังซน มักจะอยู่ไม่สุขชอบเล่นหนูเล่นนี้ จนเหงื่อเต็มตัว ทั้งยังชอบเล่นคลุกคลีกับเพื่อนเดียวกัน ซึ่งนั่นอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ หัวลูกเป็นเชื้อรา ได้ วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ การทำความสะอาด วิธีรักษา ชันนะตุ บนหัว สระผมลูกอยู่เสมอ และหากเป็นแล้วต้องพาไปหาหมอค่ะ

 

หัวลูกเป็นเชื้อราได้อย่างไร ?

วิธีรักษา ชันนะตุ บนหัว ในกุมารเวชสาร อรุชา ตรีศิริโชติ ได้อธิบายถึงการเกิดเชื้อราในเด็กว่า เกิดจากเชื้อโรคที่ชื่อว่า เดอมาโทไฟต์ (Dermatophytes) โดยเชื้อราชนิดนี้ เติบโตได้ดีในที่ที่มีอุณหภูมิร้อนชื้น และเกิดขึ้นได้หลายตำแหน่ง โดยจะเกิดขึ้นในส่วนของร่างกายที่มี keratin เป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะผิวหนังส่วนที่สร้างน้ำมันมาก ได้แก่ ผิวหนัง ผม และเล็บ โดยเชื้อโรคนี้สามารถแพร่กระจายได้ง่าย และสามารถติดเชื้อราเกิดได้จาก 3 ทาง ได้แก่ การติดเชื้อจากคน สัตว์ และดิน โดยกลากจะพบบ่อยให้เด็ก อายุระหว่าง 3-7 ปี ไม่ค่อยมีในเด็กเล็กและผู้ใหญ่ ซึ่งเชื้อพวกนี้อาจติดต่อมาจากการสัมผัสข้าวของเครื่องใช้ เช่น ผ้าเช็ดตัว หวี หมวก และหมอน เป็นต้น ถ้ามีการติดเชื้อมาก ตรงบริเวณนั้นจะนูน บวม มีตุ่มหนอง และผมร่วง

บทความที่น่าสนใจ : สกัดจุดหยุดเชื้อราตัวร้ายในห้องน้ำ เพื่อสุขภาพของลูกรัก

 

ปัจจัยหรือตัวกระตุ้นที่ทำให้โรคเป็นมากขึ้น

  1. ระคายเคืองสารต่าง ๆ เช่น ขนสัตว์ ละอองเกสรดอกไม้ ไรฝุ่น น้ำยาปรับผ้านุ่ม สบู่ ครีมบำรุงผิวหรือโลชั่นต่าง ๆ
  2. ภาวะติดเชื้อ จากแบคทีเรียหรือเชื้อรา เช่น การเกามากจนเป็นแผล ตุ่มหนองหรือมีผื่นแดงเป็นวงขอบยกนูน และคันมากจากเชื้อรา
  3. อากาศร้อน หรือการออกกำลังกายที่ทำให้เหงื่อออกมาก รวมถึงอากาศเย็นจนทำให้ผิวหนังแห้งมากขึ้น
  4. อาหารบางชนิด ที่มักแพ้ได้บ่อยในเด็กเล็ก ๆ เช่น นมวัว ไข่ขาว ถั่ว อาหารทะเล

 

อาการของชันนะตุเป็นอย่างไร ?

สำหรับชันนะตุ ก็เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราชนิดเดียวกับโรคกลาก โดยเป็นการติดเชื้อราที่รากผม เส้นผม และหนังศีรษะ  พบมากในเด็กอายุ 6 – 12 ปี สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ลักษณะจะมีอาการคัน และหัวจะตกสะเก็ดเป็นจุดกลม ๆ หนังศีรษะลอกหรือที่เรียกว่ารังแค บางรายเป็นผื่นแดง หากเกามาก ๆ จะทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อได้ ซึ่งชันนะตุจะทำให้เกิดผมร่วงถาวรและทิ้งรอยแผลได้ในที่สุด นอกจากนี้ ในบางรายอาจยังทำให้มีไข้ต่ำ ๆ มีตุ่มฝีหรือหนอง กดแล้วจะรู้สึกเจ็บ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ชันนะตุ เมื่อลูกเป็นแล้วทำอย่างไร

อันดับแรกต้องพาไปหมอหมอ เพื่อให้หมอได้วินิจฉัยอย่างถูกต้อง เพราะโรคที่เกิดจากเชื้อรามีหลายชนิด มีความแตกต่างกัน เมื่อทราบสาเหตุแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการรักษา สำหรับวิธีการรักษาก็มีทั้งยากิน และยาทาฆ่าเชื้อ บางคนเป็นมาก อาจจะเป็นต้องโกนผม จะได้ง่ายต่อการรักษา และทำความสะอาดด้วย ดังนั้น เมื่อพ่อแม่เริ่มเห็นว่าลูกเริ่มมีตุ่มอะไรแปลก ๆ ควรพาไปพบแพทย์ อย่าปล่อยให้ลุกลามจนเกินไป นอกจากนี้ แพทย์มักแนะนำให้ใช้แชมพูสำหรับกำจัดเชื้อราร่วมด้วย เพื่อเป็นการขจัดสปอร์ของเชื้อรา และเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น หรือกระจายเชื้อไปยังหนังศีรษะบริเวณอื่น หรือผิวหนังตามร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งนี้ การใช้แชมพูขจัดเชื้อราเพียงอย่างเดียวจะช่วยชะลอ และหยุดการแพร่กระจายของเชื้อราได้ แต่ไม่อาจกำจัดเชื้อราให้หมดไป โดยจะต้องรักษาร่วมกับการทานยาต้านเชื้อราด้วย

 

หัวลูกเป็นเชื้อรา ชันนะตุ เกิดจากอะไร … ทำอย่างไรให้หาย ? ( ภาพจาก freepik.com )

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

มาป้องกันไม่ให้หัวลูกเป็นเชื้อรากันเถอะ

พวกเชื้อรา อย่างเช่น ชันนะตุ จะแพร่กระจายได้ง่าย วิธีเดียวที่พ่อแม่จะหยุดยั้งได้ คือ การคอยสังเกตอยู่เสมอ พยายามสระผมให้ลูกเป็นประจำ สม่ำเสมอ โดยเฉพาะหลังจากตัดผมที่ร้าน เพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้สูง  อย่าใช้สิ่งของร่วมกัน สอนให้เด็ก ๆ หมั่นล้างมือเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และต้องสอนลูกไม่ให้ยืมของ ของคนอื่น ได้แก่ หวี เสื้อผ้า หรือแม้แต่ผ้าเช็ดหน้า อย่าไปจับสัตว์ที่มีขนร่วงเป็นหย่อม ๆ เพราะสัตว์เลี้ยงอาจจะติดเชื้อมาก่อนแล้วก็ได้

บทความที่น่าสนใจ : วิธีกําจัดเหา วิธีกําจัดไข่เหาออกจากเส้นผม สมุนไพรกําจัดเหาถอนรากถอนโคน! การป้องกันเหาขึ้นหัวลูก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พยายามสระผมให้ลูกเป็นประจำ เพื่อลดการติดเชื้อโรค ( ภาพจาก freepik.com )

 

 

ที่มา : Infectious ง่ายนิดเดียว และ pobpad

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
รังแค เป็นรังแคตอนท้องทำไงดี เคล็ดลับช่วยฟื้นฟูหนังศีรษะสำหรับคุณแม่ทั้งหลาย
ทารกมีรังแค ปกติรึเปล่า?
กลากน้ำนม บนหน้าลูกคืออะไร ป้องกันยังไง รักษายังไงให้หาย!!

บทความโดย

Khunsiri