จะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย เมื่อคุณทั้งหลายมีอาการ หึง หวง เป็นที่รู้ ๆ กันดี ว่าคุณภรรยา กับอาการ หึง หวง เป็นของคู่กัน สามีหลายคนก็เป็นเหมือนกัน บางคนอาจจะหึงแต่เก็บอยู่ข้างใน บางคนแสดงออกอย่างชัดเจน ใคร ๆ ก็หึงกันได้ทั้งนั้น
มันเป็นเรื่องของความคิด
นักวิทยาศาสตร์ ตั้งสมมุติฐาน ว่าสมองส่วนหน้าด้านซ้าย มีความเกี่ยวโยง กับอาการหึงหวง เหมือนกับความรู้สึกอับอาย
ระบบที่ผลิตโดพามีน หรือ สารเคมีในร่างกายก็เป็นอีกตัวหนึ่ง เพราะเป็นตัวที่ทำให้คุณรู้สึกมีความสุข
ทำความเข้าใจความหึง 3 แบบ
หึงเมื่อได้รู้ – ไม่ว่าจะ รับรู้ด้วยวิธีใด เช่น เมื่อคุณเห็นเพื่อนสนิท ไปพบเพื่อนที่เข้ากับเขาได้ดีมากกว่าคุณ อารมณ์หึงหวงก็ปรากฎทันที
หึงเพราะระแวง – เมื่อคุณเห็นสามี พูดคุยกับเพื่อนผู้หญิง ดูเหมือนสนิทสนมกันดี คุณเริ่มรู้สึกสงสัย ว่ามันมีอะไรในกอไผ่รึเปล่า ความรู้สึกหึง เพราะระแวงเกิดขึ้น เพราะมีความไม่แน่นอน และ ไม่ไว้ใจเกิดขึ้น
หึงแบบจินตนาการไปเอง – อันนี้ผู้ชายไม่ค่อยจะเป็น จะเกิดกับคนที่หึงหวงมาก ๆ อะไรนิด อะไรหน่อย ก็คิดไปเลยเถิดแล้ว ส่วนใหญ่จะมีอาการหมกมุ่นร่วมด้วย
สิ่งที่เกิดกับร่างกาย
เมื่อคุณเกิดการหึงหวง อารมณ์โกรธพลุ่งพล่าน คุณจะมองไม่เห็นอะไรหลาย ๆ อย่าง และ คิดอย่างไม่มีเหตุผล การศึกษา ได้ชี้ให้เห็นว่าผู้หญิง ที่กำลังหึงหวงจะมองข้ามบางสิ่งที่ปรากฎตรงหน้าอย่างชัดเจน (เพราะฉะนั้น เวลาหึงมาก ๆ อย่าขับรถ)
แน่นอน ความหึงหวง จะทำให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ฮอร์โมนความเครียดเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น การเต้นของหัวใจเร็วขึ้น
สุดท้ายแล้ว
การหึงหวง เป็นสิ่งที่ดีสำหรับคุณ (ยกเว้นแค่ การหึงแบบจินตนาการไปเอง) นักวิจัย ให้เหตุผลว่ามนุษย์ต้องมีอาการหึงหวง เพื่อเป็นสิ่งกระตุ้น ให้คนปกป้องกลุ่มของตน ทำให้กลุ่ม หรือ ครอบครัวตนเองอยู่รอด (เพราะฉะนั้น การหึงหวงจึงตามมาด้วยความรุนแรง)
พูดง่าย ๆ ว่าอาการหึงนั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์มีมาโดยกำเนิด อย่าไปอายเลย คุณดูเด็กทารกสิ ถ้าเกิดวันนึงแม่เอานมให้เด็กคนอื่นกินล่ะ เขาคงแสดงอาการหึงหวงสุดฤทธิ์แน่ ๆ ล่ะ จริง ๆ แล้วคู่รัก ที่แสดงความหึงหวงบ้างเป็นบางโอกาสจะอยู่กันได้ยาวกว่า (แต่ก็ไม่ใช่หึงกันตลอดเวลานะคะ)
ลงทะเบียน รับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูก อย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้ง ด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแล ทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึง เตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ เพราะ theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่ และ เด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุน พ่อแม่ ทุก ๆ ท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”