การสื่อสารพื้นฐาน : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

การสื่อสารกับลูกเป็นสิ่งสำคัฐที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำตั้งแต่ลูกยังเล็ก นอกจากจะช่วยด้านการสื่อสารแล้ว ยังช่วยฝึกทักษะด้านอื่น ๆ อีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การสื่อสารพื้นฐาน สำหรับลูกน้อยวัย 0 – 1 ปี เป็นสิ่งที่สำคัญ และคุณแม่ควรที่จะตระหนักถึงเป็นอย่างมาก การสื่อสาร ทั้งภาษากาย ภาษาพูด ควรจะต้องสัมพันธ์กัน เพื่อไม่ให้เด็กเกิดความสับสน บางครั้งการสื่อสารของเด็ก ๆ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่ยังไม่มีความสามารถที่จะสื่อสารให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจได้ เราจึงมักจะได้ยินเป็นเสียงร้องเรียก หรือเสียงงอแงต่าง ๆ เมื่อตัวเด็กต้องการแสดงออกถึงความต้องการบางอย่าง

พัฒนาการทางด้านการสื่อสาร และการพูดของเด็ก จะเกิดจากการเรียนรู้ ซึ่งเด็กจะสามารถพัฒนาได้เร็ว หรือช้านั้น ก็ขึ้นอยู่กับอายุ และสภาพแวดล้อมของเขาเป็นหลัก ดังนั้นผู้ปกครอง ไม่ควรมองข้าม การสื่อสารพื้นฐาน ของเด็กในวัยนี้

 

เมื่อใดเด็กจึงจะเริ่มพูด

การสื่อสารพื้นฐาน ของเด็กก็จะเริ่มตั้งแต่แรกเกิด ตั้งแต่เด็กส่งเสียงร้องไห้ประมาณ 2 – 3 เดือน ก็จะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ ก็จะเหมือนจะเป็นการพูดคุยกับคุณแม่ ก็จะพัฒนาเรื่อยมาจนประมาณ 5 – 6 เดือน เด็กก็จะเริ่มเล่นน้ำลาย เป่าปาก ส่งเสียงจากลำคอ ในที่สุดก็จะพัฒนามาเป็นคำพูดที่มีความหมาย โดยมากก็จะเริ่มตั้งแต่ประมาณ 10 – 15 เดือน หรือ เฉลี่ยประมาณ ขวบ ก็จะพูดเป็นคำที่มีความหมาย ซึ่งเด็กจะได้รับการกระตุ้นให้พูด หรือเปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้ภาษาจากพ่อแม่ ในที่สุดคำศัพท์ก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณ ขวบ ก็จะเริ่มพูดคำที่มีความหมาย 2 คำ ติดกัน เป็นวลีสั้น ๆ ไปไหน ไม่เอา แล้วก็จะเริ่มขึ้นเป็นประโยคยาว ๆ ได้ประมาณ 3 – 4 ขวบ

 

เราควรจะฝึกเด็กให้รู้สึกสื่อสารได้อย่างไร

1. พูดคุยกับลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ

ยิ่งเริ่มพูดกับลูกเร็วเท่าไร ก็จะยิ่งเป็นผลดีเท่านั้น แม้จะเจ้าตัวเล็กจะยังไม่เข้าใจในสิ่งที่เราพูด แต่หากเราพูดคุยกับเขามากเท่าใด สมองส่วนที่ใช้ในการเรียนรู้ภาษาจะยิ่งพัฒนามากขึ้นเท่านั้น และเมื่อเด็กได้ยินคำศัพท์มาก ๆ เขาจะเรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น

นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าทารกที่แม่พูดคุยด้วยบ่อย ๆ จะรู้คำศัพท์มากกว่าเด็กที่แม่ไม่ค่อยได้พูดด้วยถึง 131 คำ และเมื่อเด็กอายุได้ 24 เดือน เด็กที่แม่พูดคุยด้วยบ่อย ๆ จะรู้คำศัพท์มากกว่าเด็กที่แม่ไม่ค่อยได้พูดด้วยถึง 295 คำ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. จ้องตาลูกเมื่อพูดคุยกับเขา

การมองหน้าลูกเมื่อพูดคุยกับเขา จะช่วยสอนให้ลูกน้อยเรียนรู้การแสดงออกทางสีหน้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนทักษะในการสื่อสารของเขา สิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือ ควรมองหน้าลูกเมื่อคุยกับเขา ตั้งแต่เมื่อเขายังเป็นทารก และเมื่อเขาโตขึ้น ก็ควรที่จะพูดต่อหน้าเขา เวลาที่ต้องการจะสั่งให้เขาทำอะไรก็ตาม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ยังควรสังเกตท่าทีของลูก ที่อยู่ในวัยทารกว่าเขากำลังตั้งใจฟังอยู่หรือไม่ โดยเด็กทารกจะขยับแขนขา เพื่อตอบสนองกับจังหวะคำพูดที่เขาได้ยิน การเคลื่อนไหวของทารก เป็นการช่วยให้เขาเรียนรู้จังหวะของภาษา และช่วยให้เขาเข้าใจความหมายของคำต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น หากลูกไม่มองหน้าคุณ เมื่อคุณพยายามพูดคุยกับเขา ลองหยุดพูด เชยหน้าเขาขึ้นเบา ๆ แล้วเรียกให้เขามองหน้าคุณ แล้วจึงค่อยพูดกับเขา

 

3. อย่าอายที่จะพูดเสียงสูง เสียงเล็ก กับลูก

โดยธรรมชาติแล้วพ่อแม่มักจะทำเสียงสูง ๆ เหมือนกับกำลังร้องเพลงเวลาที่คุยกับเด็กทารก ซึ่งอันที่จริงแล้ว เด็กทารกจะตอบสนองได้ดีขึ้น และให้ความสนใจมากขึ้น หากคุณคุยกับเขาด้วยประโยคสั้น ๆ และเสียงสูง ๆ แทนที่จะพูดด้วยเสียงที่ราบเรียบ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. พูดทีละคน

สำหรับเด็กเล็ก ๆ นั้น คำพูดของคุณจะต้องแย่งความสนใจจากเสียงแบคกราวน์ และสิ่งล่อตาล่อใจอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ดังนั้น เมื่อคุณจะคุยกับลูก คุณควรลดเสียงแบคกราวน์ลงให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเวลาที่คุยกับลูก คุณควรพูดทีละคน เพื่อที่จะให้เขาสามารถฟังตามคำพูดของคุณได้ แม้ว่าเขาจะยังไม่เข้าใจสิ่งที่เขาได้ยินทั้งหมดก็ตาม

 

 

5. ชวนพูดคุยกับลูกเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

เมื่อถึงเวลาป้อนอาหาร อาบน้ำ หรืออุ้มลูก พูดกับเขาอธิบายให้เขารู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ พูดถึงอุณหภูมิ กลิ่นผิวสัมผัส และการกระตุ้นทางประสาทสัมผัสอื่น ๆ เรียกชื่ออวัยวะที่เขาสนใจ วัตถุสิ่งของในชีวิตประจำวัน อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ของใช้ในบ้าน หรือของเล่นของเขา

 

แม้ว่าลูกจะยังไม่สามารถพูดเป็นคำ ๆ ได้แต่เขาก็จะเริ่มเรียนรู้ว่า ในบทสนทนาต้องประกอบด้วยการถาม และการตอบ เมื่อคนหนึ่งพูด คู่สนทนาจะหยุดฟัง ดังนั้นเมื่อพูดคุยกับลูก ควรหยุดรอให้เขาตอบ ในช่วงแรกที่เขายังแบเบาะ อาจจะทำแค่ยิ้มให้กัน และส่งเสียงอ้อแอ้ไม่เป็นภาษา เมื่อเด็กอายุย่างเข้า 7 ถึง 8 เดือน เด็กส่วนใหญ่จะเรียนรู้ที่จะนิ่งเงียบถ้ามีคนมาคุยด้วย และเขาจะรอฟังจนกระทั่งอีกฝ่ายพูดจบ เขาจึงจะเปล่งเสียงออกมา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7. ระวังอย่าให้ลูกเป็นโรคหูอักเสบ

เด็กที่ป่วยเป็นโรคหูอักเสบบ่อย ๆ ในช่วง 0 – 4 ขวบ อาจจะสูญเสียการได้ยินชั่วคราวได้ ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อการพัฒนาทักษะด้านภาษาของเขา เด็ก ๆ เหล่านี้อาจจะไม่สามารถแยกแยะระหว่างเสียงบางเสียง หากลูกของเรามีอาการของโรคหูอักเสบ ให้คอยสังเกตว่าเขามีปัญหาในการฟังหรือไม่ หากคุณมีความกังวลหรือสงสัยว่าลูกอาจมีปัญหาในการฟัง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจและทดสอบได้ยินของลูก

 

นักวิจัยได้วิเคราะห์การสนทนาของแม่ลูก 24 คู่ โดยลูกมีอายุระหว่าง 15 – 21 เดือน พบว่าการใช้เวลากับลูกเพื่อพูดคุยกับเขาถึงของที่เขากำลังเล่น จะมีผลต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็กได้ดีกว่าการพูดถึงสิ่งที่ยาก ๆ เนื่องจากเด็กมีความสนใจของเล่นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คำศัพท์ที่เกี่ยวกับการเล่น และของเล่นจึงเป็นสิ่งที่เขาจดจำได้ง่าย

 

อย่างไรถึงจะเรียกว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับเรื่องการพูด

เด็กอายุ ขวบนั้น สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ เข้าใจได้ว่าพ่อแม่พูดว่าอะไร เด็กมีความสนใจ หรือไม่ เรียกชื่อแล้ว เด็กหันมารับทราบ หรือตอบรับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เราสามารถนำมาประกอบกันดูว่า เด็กผิดปกติ หรือไม่โดยการพัฒนาทางภาษา นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น ทาง คือ การพูด และการรับฟัง ซึ่งจะต้องพัฒนาการควบคู่กันไป

 

เด็กพูดช้า เกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุใหญ่ที่พบบ่อย ๆ  อย่างที่เรียนมาข้างต้นว่า การพูดจะต้องเป็นการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนฟังกับคนพูด เพราะฉะนั้น ถ้าการได้ยินไม่ดี มีการได้ยินบกพร่อง เด็กก็จะพูดช้า เพราะฉะนั้น สาเหตุอันดับแรก คือ

  1. เด็กมีความผิดปกติของหู หรือไม่ เช่น การได้ยินไม่ได้ หูดับ หูหนวก หรือไม่
  2. มีการพัฒนาล่าช้าไปทุก ๆ ด้าน หรือมีภาวะปัญญาอ่อน เด็กกลุ่มนี้พัฒนาการด้านอื่น ๆ จะช้า แต่ก็จะไปพร้อม ๆ กัน
  3. ภาวะออทิสติก เด็กกลุ่มนี้จะมีความบกพร่องในเรื่องของการใช้ภาษาการสื่อสารกับผู้อื่น ทางการพูด หรือการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด เช่น การใช้ท่าทาง การสบตา ในด้านสังคมก็จะเสียไปด้วย
  4. สาเหตุอีกสาเหตุหนึ่ง ส่วนใหญ่มักพบไม่บ่อยนั้น จะพบว่ามีประวัติในครอบครัวมีญาติที่เคยพูดช้า กลุ่มนี้เราเรียกว่า มีความบกพร่อง เฉพาะด้าน เฉพาะการพูดอย่างเดียว กลุ่มนี้การพยากรณ์โดยค่อนข้างดี พอเริ่มพูดได้ก็จะพูดเป็นปกติ
  5. เด็กที่พูดช้า แต่ขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม เช่น พ่อไม่มีมีเวลา ก็มักจะเปิดโทรทัศน์ไว้ให้เด็กดู แต่ไม่มีติดต่อสื่อสารโต้ตอบ ซึ่งจะเห็นว่าเป็นการสื่อสารเพียงอย่างเดียว ทำให้การพัฒนาทางภาษาของเด็กหยุดชะงัก ซึ่งทางบ้านเราจะได้ประวัติว่ามักจะให้พี่เลี้ยงเลี้ยง ซึ่งอาจจะไม่มีการเล่น หรือพูดคุยกันเลย
  6. อีกสาเหตุที่ไม่น่าเชื่อ แต่ก็มีความเป็นไปได้ คือการที่ผู้เลี้ยง ตระเตรียมทุก ๆ อย่างให้เด็ก จนกระทั่งเด็ก ไม่มีความจำเป็นในการที่จะเรียกร้องสิ่งที่ตนต้องการออกมา คือเมื่อถึงเวลาทุกอย่างก็จะถูกตระเตรียมมาให้พร้อม ทำให้เด็กไม่มีสิ่งกระตุ้นให้เกิดการสื่อสาร

 

เมื่อใดที่ควรพาเด็กมาพบแพทย์

เมื่อใดที่คุณพ่อ คุณแม่เริ่มสังเกตหรือสงสัยในความผิดปกติ ก็ควรจะพาไปพบกุมารแพทย์ หรือ ถ้าอายุประมาณ ขวบ แล้วยังพูดไม่ได้ หรือพูดเป็นคำ ๆ เดียวก็ควรพาลูกไปพบแพทย์ได้เลย

 

 

การที่เด็กอยู่สังคม / สิ่งแวดล้อมที่มีการพูดคุย มีคนรอบข้างพูดคุยด้วยเป็นประจำ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการต่าง ๆ ได้เร็ว ๆ จริงหรือไม่

ถูกต้อง เพราะพัฒนาการทางภาษาของเด็กไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง แต่จะต้องเกิดจากการปฏิสัมพันธ์กัน สิ่งแรก คือ มีความพร้อมทางด้านสมอง มีความพร้อมทางด้านการได้ยิน เรื่องของอวัยวะในปาก ที่จะเปล่งเองได้ และสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ โอกาสที่เด็กจะได้ยินคำพูดของผู้ใหญ่แล้วเปล่งเสียงตาม ถ้าไม่มีเด็กก็จะไม่สามารถพูดได้ เช่น ถ้าพ่อแม่มีเวลาพูดคุยกับลูกเป็นประจำ ลูกก็จะพูดได้เร็ว แต่ถ้าผู้ใหญ่พูดคุยกันเอง แต่ไม่ได้พูดกับเด็ก ก็จะไม่ได้ช่วยพัฒนาการทางด้านภาษาแต่อย่างไร

 

นอกจากการพัฒนาการช้าด้านการพูดคุยแล้ว จะส่งผลไปถึงพัฒนาการด้านอื่น ๆ ด้วยหรือไม่

มีโอกาสเป็นไปได้ เพราะการสื่อสารในเรื่องที่สำคัญในชีวิตเรา เด็กหลายรายที่พูดไม่ได้ ก็ไม่สามารถบอกความต้องการได้ อาจจะทำให้เด็กหงุดหงิด เด็กก็จะอาละวาด ร้องไห้ ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ และลงโทษด้วยการดุหรือตี ก็จะเพิ่มเรื่องปัญหาทางด้านอามรณ์ พฤติกรรมทั่วไป เพราะฉะนั้น เรื่องการพูดเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น เด็กควรได้รับการตรวจประเมินตั้งแต่แรกและทำการแก้ไข   เพื่อป้องกันปัญหาพัฒนาการทางด้านอื่น

 

นอกจากการพาไปแพทย์แล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังจำเป็นจะต้องใช้สื่อกระตุ้นอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่

จริง ๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ที่จะส่งเสริมจากคุณพ่อคุณแม่นอกจากนั้น ก็อาจจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน ๆ  ในโรงเรียน คุณครู ส่วนสื่อด้านอื่น ๆ เช่น การดูทีวีมาก ๆ (เด็กเล็ก)  ซึ่งการฟังจากทีวีจะเป็นการสื่อสารฝ่ายเดียว ไม่เป็นปฏิสัมพันธ์กัน ก็จะไม่สามารถช่วยเรื่องการพัฒนาการทางด้านภาษา แต่ถ้าใช้ร่วมกัน เช่น คุณพ่อ คุณแม่ร่วมดูทีวีอยู่ด้วย พูดคุยบ่อย ๆ ก็จะมีประโยชน์

 

โดยสรุป คือ การฝึกลูกพูด ให้มีทักษะการพูดที่ดีไปจนโต ซึ่งกระตุ้นการสื่อสาร 2 ทาง โดยเน้นที่การฟังอย่างเข้าใจและตอบสนองออกมาด้วยภาษาท่าทาง กระตุ้นลูกให้พูดตามเมื่อลูกรู้จังหวะการสื่อสารแล้ว(รู้ว่าสลับเงียบ สลับคุย) จะประสบความสำเร็จสูงกว่า อย่าบังคับพูด รวมทั้งมีการร้องเพลงหรือท่องอาขยานแล้วใช้เทคนิคลดคำก็เป็นอีกทางที่จะช่วยเพิ่มคำศัพท์ เพิ่มช่องทางสื่อสารแบบมีความสุขและสนุก

 

ที่มา : Si.mahidol , Parentsone , Amarinbabyandkids

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เด็กทารกดูดนิ้วสื่ออะไร ให้ทารกเลิกดูดนิ้วได้อย่างไร ดูดมากไปไม่ดีนะ

นมแม่กับพัฒนาการด้านต่าง ๆ / 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 59

บทความโดย

Arunsri Karnmana