ให้ ลูกติดเกม แบบไหน ไม่เสียการเรียน

โลกโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊ค ไลน์ ฯลฯ เป็นช่องทางให้เด็ก ๆ ได้ดาวน์โหลดเกมมาเล่นได้ง่าย เด็กถือว่าอยู่ในช่วงวัยที่เขายังไม่สามารถแยกแยะว่าอะไรดี อะไรไม่ดี และที่สำคัญเด็กยังไม่สามารถควบคุมตนเองได้ สิ่งที่สนุกสนานล่อใจ ทำให้เกิดการติดสิ่งนั้นได้ง่าย แม้ว่าจะต้องเสียทั้งสุขภาพกาย เสียการเรียนก็ตาม มาดูกันว่ามี เคล็ด (ไม่ลับ) ให้ลูกเล่นเกมแบบไม่เสียการเรียน ทำอย่างไร ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นพ. จิตริน ใจดี จิตแพทย์ประจำศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้บอกถึงพฤติกรรมการติดเกมว่า  โดยธรรมชาติของเกมนั้น  มักจะออกแบบมาเพื่อสนองความต้องการของผู้เล่นอยู่แล้ว คือ มักจะให้มีการผ่านด่านเป็นขั้น ๆ ขึ้นไปเรื่อย ๆและจะได้รับรางวัลทันทีเมื่อทำภารกิจของเกมสำเร็จ  จนทำให้ผู้เล่นรู้สึกว่าสิ่งที่ตนกำลังเล่นอยู่นั้นมีความก้าวหน้า  และพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ในเมื่อความต้องการของตนเองได้รับการตอบสนองอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ผู้เล่นก็เลยอยากที่จะเล่นเกมต่อไปโดยไม่อยากหยุด จนอาจเกิด “ ภาวะ ลูกติดเกม ” ขึ้นได้ ซึ่งทำให้ส่งผลเสียตามมาได้หลายประการ

มาเช็กกันว่าลูกติดเกมในระดับใด

ระดับปกติ 

1. สามารถควบคุมตนเองได้

2. มีความรับผิดชอบ

3. ผลการเรียนไม่ตก

4. สัมพันธภาพกับผู้อื่นเป็นปกติ

ระดับคลั่งไคล้

1. สนใจบุคคลรอบข้างน้อยลง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ใจจดจ่ออยู่กับการเล่นเกม

3. ผลการเรียนเริ่มตกลง

ระดับติดเกม

1. ควบคุมตนเองไม่ได้

2. เล่นเกมหลายชั่วโมงติดต่อกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ไม่มีความรับผิดชอบ

4. ไม่สนใจการเรียน

5. สัมพันธภาพกับคนรอบข้างน้อยลง

6. อารมณ์ฉุนเฉียวเมื่อไม่ได้เล่นเกม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกอายุเท่าไรถึงเหมาะให้เล่นเกมได้

ดร.วิโรจน์  ลักขณาอดิศร  ผู้อำนวยการ SE-ED Learning Center กล่าวว่า  คุณพ่อคุณแม่ควรทราบว่า  ลูกอายุเท่าไรถึงเหมาะให้เล่นเกมได้ หลาย ๆ บทความทางวิชาการแนะนำว่า  เด็กสามารถเล่นคอมพิวเตอร์ได้ตั้งแต่อายุ    4 – 5 ขวบ แต่ให้เริ่มเล่นกับซอฟต์แวร์หรือเกมที่คุณพ่อคุณแม่เลือกให้  และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของพ่อแม่ แต่สำหรับการเล่นอินเตอร์เน็ต  ควรให้ลูกอายุ 7 ขวบขึ้นไป  และต้องอยู่ในความดูแลของคุณพ่อคุณแม่เช่นกัน  ถ้าจะให้เล่นตามลำพังได้เอง ควรมีอายุ 14 – 15 ปี

ให้ลูกเล่นเกมแบบไหน ไม่เสียการเรียน

1. ปลูกฝังให้ลูกตั้งใจเรียนในห้องเรียน

การปลูกฝังเรื่องการตั้งใจเรียนนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นปลูกฝังลูกเสมอ ด้วยการพูดคุย  ซักถามเรื่องปัญหาการเรียนของลูกว่ามีอะไร  จะหาวิธีแก้ไขอย่างไร  บอกลูกว่าหากเราตั้งใจเรียนในห้องเรียน  ทำความเข้าใจในสิ่งที่คุณครูสอนจะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด  เมื่อกลับมาบ้าน  ลูกจะทำการบ้านได้อย่างสบายเพราะเข้าใจในสิ่งที่ครูสอน  ทบทวนอีกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การบ้านก็จะทำเสร็จเร็ว ทำให้ลูกมีเวลาว่างในการเล่นได้มากขึ้น

2. การฝึกวินัย

ในระยะแรกอาจจะมีปฏิกิริยาที่รุนแรงจากลูก เช่น ก้าวร้าว คุณพ่อคุณแม่ควรมีอารมณ์ที่มั่นคงแน่วแน่กับสิ่งที่ทำอยู่ ในกรณีที่อนุญาตให้ลูกเล่นเกมแล้วคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถควบคุมได้  ควรให้ลูกงดเล่นเกมไปก่อนในช่วงนั้นก็อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสม   นอกจากนี้การเบี่ยงเบนให้ลูกสนใจกิจกรรมอื่น ๆ การมอบหมายหน้าที่ให้ลูกรับผิดชอบแล้วเป็นรางวัลหลังจากที่เด็กทำงานตามหน้าที่ของตนเองเสร็จสิ้นแล้วโดย สะสมเป็นแต้มมาแลกกับการเล่นเกมเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ได้ผลดี

3. กำหนดกติกาการเล่นเกมให้ชัดเจน

ทีนี้เมื่อลูกมีเวลาว่างมากขึ้น  และมีเวลาในการเล่นเกมที่ลูกชื่นชอบ  ข้อนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับลูกด้วยเหตุผล  เพื่อตกลงกติการ่วมกันโดยสมัครใจทั้งสองฝ่ายว่าจะเล่นเกมวันไหนบ้าง  ช่วงเวลาที่ให้เล่นเกม  เล่นได้กี่ชั่วโมง มีงานวิจัยระบุว่า ไม่ควรเล่นเกมเกินวันละ 2 ชั่วโมง หรือสัปดาห์หนึ่งเล่นได้ประมาณ 7 ชั่วโมง แต่ไม่ควรเกิน 14 ชั่วโมง

4. กำหนดมาตรการเมื่อไม่ทำตามกติกา

เมื่อมีกติกาที่เป็นข้อตกลงทั้งสองฝ่าย  แต่ถ้าลูกเล่นเกินเวลา ไม่ทำตามกติกาที่คุยกันไว้  หรือลูกแอบเล่นเกม  เล่นเกินเวลา  ควรกำหนดมาตรการเมื่อไม่ทำตามกติกา  เช่น  ห้ามเล่นเกมหรือยึดเกม 1 สัปดาห์  โดยอธิบายให้ลูกเข้าว่าสิ่งที่ทำนี้ คือ ความรับผิดชอบ  เมื่อฝ่าฝืนกติกา ลูกต้องมีความกล้าหาญเพียงพอที่จะรับผิดชอบการกระทำของตัวเอง  ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ห้ามใช้อารมณ์กับลูก แต่ให้ใจเย็นและอธิบายด้วยเหตุและผล

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว

สมาชิกในครอบครัวมีความเข้าใจพัฒนาการและความต้องการทางจิตใจของเด็ก  รับฟัง กระตุ้นให้เด็กแสดงความรู้สึกและความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของเกมต่อตนเอง เสริมสร้างบรรยากาศความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว การพูดคุยถึงปัญหาควรอยู่กับปัจจุบัน หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์และความรุนแรง

6. เข้าใจลูก เข้าใจเกม

ปัญหาเด็กติดเกมนั้นสามารถป้องกันและแก้ไขได้ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องใช้ความเข้าใจและความอดทน โดยไม่ว่าเด็กจะใช้เทคโนโลยีอะไรก็ควรให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะนอกจากเทคโนโลยีจะมีประโยชน์แล้ว หากใช้ไม่เหมาะสม ก็ให้โทษได้เช่นกัน ต้องค่อย ๆปรับพฤติกรรมทีละน้อย แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่สม่ำเสมอ  สร้างแรงจูงใจในการเลิกให้กับเด็ก เช่น หากกำลังปรับลดชั่วโมงการเล่นเกม ก็ควรหากิจกรรมที่น่าสนใจมาทดแทนการเล่นเกมทันที  และถ้าเด็กทำได้ก็ควรชม /ให้กำลังใจ หรือให้รางวัล

คุณหมอฝากบอก

ตามหลักจิตวิทยาพื้นฐานคนเราจะวิ่งไปหาสิ่งที่ตัวเองประสบความสำเร็จ  สิ่งที่ตัวเองทำแล้วมีความสุข และเกมก็ให้สิ่งนั้น เมื่อเด็กเล่นแล้วชนะ ยิงถูกได้คะแนน เล่นแล้วเพื่อนฝูงตบมือให้ เล่นชนะแล้วคนในเกมออนไลน์ชมกันใหญ่  เล่นอย่างไรสอนหน่อย  เด็กได้ความภูมิใจ ได้ทุกอย่าง แตกต่างจากการอยู่โลกภายนอก เพราะถูกพ่อแม่ ครูว่า ตำหนิตลอด เขาได้ความสุข คำชมจากเกม ฉะนั้น ถ้าพ่อแม่มีสิ่งเหล่านั้นให้กับเขา ให้เขาได้ภาคภูมิใจในตัวเอง ให้ลูกมีความสุขสนุกสนานกับเรื่องอื่น ๆ ลูกจะเล่นเกมน้อยลง

มีข้อคิดดี ๆ มาฝาก

คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจก่อนว่า  การเล่นเกมไม่ใช่จะมีข้อเสียเพียงอย่างเดียวอย่างที่มีการนำเสนอตามสื่อต่าง ๆ  แต่สิ่งสำคัญของการเล่นเกม คือ ต้องให้ลูกเล่นเกมอย่างมีวินัย  เล่นอย่างเหมาะสม มีกติกาในการควบคุมที่ดีจนสามารถสร้างวินัยในตนเองได้  การเล่นเกมก็จะไม่มีปัญหา ในเมื่อคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถปกป้องลูกไปตลอดชีวิต  สู้เราฝึกลูกให้เขามีวินัย  ความรับผิดชอบ  และมีวิจารณญาณเพียงพอที่จะทำให้เขายับยั้งชั่งใจ   น่าจะเป็นพื้นฐานที่แก่ลูกมากกว่าเริ่มจากให้เขารับผิดชอบตนเอง  แม้แต่เรื่องการเล่นเกมก็ตาม

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.healthygamer.net

https://www.it24hrs.com/

https://www.med.cmu.ac.th

https://www.doctor.or.th

 

The Asianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สัญญาณอันตรายที่บอกว่า “ลูกติดเกม”

รู้ไว้เด็กๆ จ้องมือถือ สมาร์ทโฟนมากเสี่ยงสายตาสั้นเทียมได้

ลูกแอบเติมเกมส์ ระวังมือถือคุณไว้ให้ดีถ้าไม่อยากหมดตัว ลูกใช้หมด