โรคนิ่ว ในเด็กเกิดได้อย่างไร และพ่อแม่ควรระวังลูกเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคนิ่ว มักเป็นโรคที่เราโดนผู้ใหญ่เตือนสมัยเด็กๆ เวลาดื่มน้ำไม่สะอาดว่าระวังเป็นนิ่ว หรือ กลั้นปัสสาวะบ่อยๆ ระวังเป็นนิ่ว ซึ่งแท้จริงแล้วนิ่วเกิดจากหลายสาเหตุและแบ่งตำแหน่งการเกิดโรคนิ่วหลายจุด เช่น นิ่วในไต นิ่วในท่อไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และนิ่วในท่อปัสสาวะ ซึ่งโรคนิ่วนั้นมักเริ่มต้นเกิดในไต และต่อมาเลื่อนตำแหน่งไปยังกรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ซึ่งถ้านิ่วมีขนาดเล็กก็จะหลุดออกมาเองได้ตอนผู้ป่วยปัสสาวะ แต่ถ้านิ่วมีขนาดใหญ่ก็จะไปอุดตันตามตำแหน่งต่างๆ ซึ่งผู้ป่วยโรคนิ่วนั้นมีความทรมานอย่างมาก และพบได้ทุกวัยแม้กระทั่งในเด็ก

โรคนิ่ว ในเด็กเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีวิธีรักษาโรคนิ่วได้อย่างไร

โรคนิ่วในเด็กหรือการเกิดนิ่วถุงน้ำดีในเด็กมีตัวเลขเพิ่มขึ้นสูงขึ้นมากในแต่ละปี  ซึ่งถุงน้ำดีนั้นคือถุงเล็กๆ อยู่ใต้ตับ เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เก็บสะสมน้ำดีที่ผลิตโดยตับที่ส่งมาทางท่อน้ำดี และส่งไปผสมกับอาหารและทำการย่อยไขมัน รวมถึงกำจัดของเสียที่ออกมาจากตับและคอเลสเตอรอลออกจากร่างกาย

 

1. เด็กมักเป็นโรคนิ่วก้อนสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำ (Black Pigment Stone)

เกิดจากการแตกตัวของเม็ดเลือด ในผู้ป่วยโรคเลือด นิ่วแคลเซียมคาร์บอเนตและนิ่วคอเลสเตอรอลเป็นสาเหตุรองลงมา ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดีในเด็กๆ คือ โรคที่มีการแตกตัวของเม็ดเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมียโรคที่มีความผิดปกติของทางเดินน้ำ ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน และสาเหตุอื่นๆ เช่น ได้รับสารอาหารทางเลือด ได้รับยาบางชนิด พันธุกรรม เป็นต้น

 

2. เด็กๆ ที่เป็นโรคนิ่วมักไม่แสดงอาการ

โรคนิ่วในเด็กหรือนิ่วในถุงน้ำดีจะยังไม่แสดง แต่เมื่อถุงน้ำดีบีบตัวเพื่อขับน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็ก นิ่วจะถูกขับเคลื่อนไปกับน้ำดีไปสู่ปากทางออก ซึ่งก้อนนิ่วอาจไปอุดตัน กั้นทางออกของปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปวดท้องด้านบนขวา ซึ่งความปวดมักไม่เท่ากัน ถ้าเคลื่อนที่กลับเข้าไปในถุงน้ำดีอาการปวดก็จะหายไป แต่ถ้าก้อนนิ่วเคลื่อนตัวไปมากกว่านั้นไปอุดตันท่อของถุงน้ำดีหรือท่อน้ำดีร่วมกับตับ จะทำให้เกิดอาการอักเสบ ทำให้มีอาการปวดมากขึ้นกว่าเดิมหรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยเช่น เด็กจะมีไข้สูงและหนาวสั่น ตัวเหลือง ตาเหลือง และคันตามตัว ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม และอุจจาระซีด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. การตรวจวินิจฉัย หรือตรวจหาโรคนิ่วในถุงน้ำดี

โรคนิ่วในเด็กสามารถตรวจวินิจฉัยได้หลายวิธี หากทราบอาการเริ่มต้น แพทย์จะนัดเด็กมาทำอัลตร้าซาวน์ เป็นการตรวจก้อนนิ่วที่ค่อนข้างแม่นยำ แต่ไม่ค่อยดีสำหรับการตรวจหานิ่วในท่อน้ำดี จึงต้องตรวจการทำงานของตับเพิ่ม เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อหรือไม่

 

4. โรคนิ่วในเด็กสามารถตรวจหาด้วยวิธีส่องกล้อง

แพทย์จะทำการส่องกล้องเข้าไปทางปากของเด็ก แล้วสอดสายเข้าไปในท่อน้ำดีร่วม ฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในท่อน้ำดี เพื่อเอ็กซเรย์ ซึ่งจะทำให้เห็นภาพว่ามีก้อนนิ่วในท่อน้ำดีหรือไม่ ถ้ามีก็สามารถตัดและขยายปากท่อน้ำดีให้กว้างขึ้น แล้วสอดสายสวนคล้องนิ่วออกจากท่อน้ำดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5. ตรวจหาโรคนิ่วด้วยวิธีเอ็มอาร์ซีพี (MRCP : Magnetic Resonance Cholangio Pancreatography)

แม้ว่าจะทำให้เด็กเจ็บปวดน้อยที่สุด แต่เป็นการตรวจที่ไม่ต้องโดนรังสีเอ็กซ์ จึงมีข้อเสีย คือเห็นภาพอย่างเดียวไม่สามารถผ่าตัดหรือคล้องก้อนนิ่วออกมาได้ ซึ่งหากเป็นมาก พ่อแม่อาจจะต้องเสี่ยงให้ลูกเข้ารับการผ่าตัดโรคนิ่วในถุงในน้ำดี

 

การรักษาโรคนิ่วในเด็กด้วยการผ่าตัด

ถือว่าเสี่ยงพอสมควรของการผ่าตัดรักษานิ่วในถุงน้ำดีแต่ดีกว่าการที่เราจะปล่อยนิ่วไว้เฉยๆ แต่เนื่องจาก 70 % ของเด็กที่เคยปวดท้องจากนิ่วจะมีอาการเกิดขึ้นอีกภายใน 2 ปี (สังเกตไหมว่าเราเคยปวดท้องหนักๆ เวลากลั้นปัสสาวะแล้วหายไปเอง) หากไม่ได้รับการผ่าตัดเอานิ่วออก ในบางกรณีอาจเกิดอาการเลวร้ายจากภาวะแทรกซ้อนขึ้นมา เช่น ถุงน้ำดีอักเสบรุนแรง นิ่วเลื่อนไปอุดตันท่อน้ำดีจนเกิดการติดเชื้อในท่อน้ำดี ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตเด็กอย่างมาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การผ่าตัดนิ่วโดยผ่านการส่องกล้อง

จริงๆ แล้ววิธีการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีมักจะไม่ค่อยยุ่งยาก และค่อนข้างปลอดภัยสำหรับเด็ก หากอาการยังไม่รุนแรง ซึ่งการผ่าตัดนิ่วมีเทคโนโลยีใหม่ คือ การผ่าตัดผ่านการส่องกล้อง ปัจจุบันมาใช้กับเด็กๆ ได้แล้ว 100 % โดยการเจาะรู 3-4 รู เพื่อใส่กล้องเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็ก โดยเริ่มจากขนาดเล็กสุดตั้งแต่ 2-5 มิลลิเมตร จากนั้นจะมีเครื่องมือเข้าไปผ่าตัดเอาถุงนิ่วน้ำดีพร้อมนำนิ่วออกมาทางรูที่เจาะไว้ สำหรับการผ่าตัดแบบนี้จะทำให้แผลเล็กลงกว่าการผ่าตัดทั่วไปมาก จึงทำให้เด็กเล็กๆ มีอาการเจ็บแผลน้อยลง พักฟื้นน้อยลงสามารถกลับบ้านได้เร็วขึ้น ไม่เสี่ยงต่อชีวิตและสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ดี

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกมีไข้สูงไม่ทราบสาเหตุ อาจเกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

โรคนิ่วในถุงน้ำดี  (CR.drmcdougall)

มารู้จักโรคนิ่ว 2 ประเภทคือ โรคนิ่วในไตหรือถุงน้ำดี และโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

โรคนิ่วในไตหรือถุงน้ำดี

โรคนิ่วในไตหรือนิ่งในถุงน้ำดี เป็นโรคในระบบทางเดินอาหารที่ที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย ส่วนมากพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงในช่วงอายุ 30-50 ปี ซึ่งก้อนนิ่วอาจมีขนาดต่างๆ กัน อาจมีเพียงก้อนเดียว หรือหลายก้อนก็ได้ ส่วนมากมักเป็นที่ไตเพียงข้างเดียว ที่เป็นทั้งสองข้างอาจพบได้บ้างบางรายอาจเป็นซ้ำๆ หลายครั้งก็ได้ ทั้งนี้พอมีอาการปวดในกระเพาะอาหารผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมักเข้าใจว่าปวดท้อง จุดเสียด จึงหายามารับประทานเอง ซึ่งหากปล่อยไว้จนอาการรุนแรงอาจเข้ารับรักษาอาจไม่ทัน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดนิ่วในไตหรือถุงน้ำดีคือ ผู้ป่วยมักเป็นคนดื่มน้ำน้อย จึงทำให้ปัสสาวะมีสีเข้ม หรือมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดนิ่วอีกส่วนของร่างกายคือ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ สามารถพบได้ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี เพราะส่วนใหญ่เด็กๆ จะมีนิสัยชอบกลั้นปัสสาวะโดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้ยังพบได้ในทุกวัย โดยเฉพาะวัยทำงานที่ปัญหาเรื่องระบบการขับถ่ายปัสสาวะ อาการโดยทั่วไปคือปัสสาวะขัด เจ็บเวลาถ่ายปัสสาวะ รู้สึกถ่ายไม่หมด บางรายเป็นมากจนน้ำปัสสาวะมีสีขุ่น บางรายมีลักษณะเป็นสีน้ำล้างเนื้อหรือเป็นลิ่มเลือด หรือมีกรวดทรายปนทั้งนี้เกิดได้หลายปัจจัย คือ การรับประทานอาหารหรือวิตามินบางประเภทที่มีสารปนเปื้อน หรือดื่มน้ำน้อยเกินไปทำให้น้ำปัสสาวะน้อยจนเกิดการตกตะกอนของผลึกกลายเป็นก้อนนิ่ว รวมไปถึงค่าความเป็นกรดด่างของน้ำปัสสาวะ  เช่น  น้ำปัสสาวะที่มีความเป็นกรดมากก็จะเอื้อต่อการตกตะกอนของกรดยูริกง่ายมากขึ้น โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะเกิดจากการได้อาหารที่ขาดฟอสฟอรัส และขาดโปรตีน รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีผลึกออกซาเลตมากเกินไป เช่น ผักโขม ผักแพว ผักกระโดน ร่วมกับการขาดฟอสฟอรัส และโปรตีนที่กล่าวแล้ว ยิ่งทำให้ผลึกออกซาเลตจับตัวเป็นก้อนนิ่วได้ง่ายขึ้น

ความแตกต่างของโรคนิ่ว 2 ประเภท

โรคนิ่วทั้ง  2 ประเภทนี้มีความแตกต่างกันทั้งสาเหตุและการรักษา แม้จะเป็นโรคนิ่วเกิดการตกตะกอนของก้อนนิ่วเหมือนๆ กัน แต่ต้องทราบว่า นิ่วนั้นเกิดในตำแหน่งอวัยวะใด ซึ่งการมีนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การทำงานของไตเสื่อมลง และอาจร้ายแรงจนถึงเกิดภาวะไตวายเรื้อรังและโรคไตระยะสุดท้าย ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุของการเกิดโรคนิ่วทั้ง 2 ประเภท

  • โรคนิ่วในไตมีนิ่วในปัสสาวะสูงกว่าระดับสารยับยั้งนิ่ว อีกทั้งปริมาตรหรือน้ำปัสสาวะน้อย ส่งผลให้เกิดภาวะอิ่มตัวยวดยิ่งของสารก่อนิ่วในปัสสาวะ จึงเกิดผลึกที่ไม่ละลายน้ำขึ้น เช่น แคลเซียมออกซาเลต แคลเซียมฟอสเฟต และยูเรต
  • สารก่อนิ่วที่มีอยู่ในปัสสาวะตามปกติ ได้แก่ แคลเซียม ฟอสเฟต ออกซาเลต ยูเรต ในภาวะที่มีปริมาณผิดปกติ และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยสารเหล่านี้สามารถรวมตัวกัน จนกลายเป็นก้อนผลึกแข็ง และมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นนิ่วอุดตันที่บริเวณต่างๆของทางเดินปัสสาวะ
  • โรคนิ่วที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ นิ่วแคลเซียมฟอสเฟตประมาณร้อยละ 80 รองลงมาคือ นิ่วกรดยูริกพบประมาณ 10-20 % เลยทีเดียว
  • สารที่ป้องกันการก่อผลึกในปัสสาวะ เรียกว่า สารยับยั้งนิ่ว ที่สำคัญได้แก่ ซิเทรต โพแทสเซียม และแมกนีเซียม ปัจจัยเสี่ยงที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคนิ่วไตไทย คือ การมีสารยับยั้งนิ่วในปัสสาวะต่ำ ได้แก่ ภาวะซิเทรตในปัสสาวะต่ำ พบประมาณร้อยละ 70-90 และภาวะโพแทสเซียมในปัสสาวะต่ำพบประมาณร้อยละ 40-60
  • ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนิ่วอาจแบ่งได้เป็นปัจจัยภายใน เช่น กายวิภาคของไต พันธุกรรม เชื้อชาติ และปัจจัยภายนอก เช่น ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ อากาศ และฤดูกาล ปริมาณน้ำที่ดื่ม พฤติกรรมการกิน อาชีพ ยาบางชนิด
  • ปกติแล้วคนเราจะมีสารยับยั้งนิ่วในปัสสาวะสูงเพียงพอจะสามารถยับยั้งการก่อตัวของผลึกนิ่วได้ สารเหล่านี้จะไปแย่งจับกับสารก่อนิ่ว เช่น ซิเทรตจับกับแคลเซียม หรือแมกนีเซียมจับกับออกซาเลต ทำให้เกิดเป็นสารที่ละลายน้ำได้ดี และขับออกไปพร้อมกับน้ำปัสสาวะ ทำให้ปริมาณสารก่อนิ่วในปัสสาวะลดลง และไม่สามารถรวมตัวกันเป็นผลึกนิ่วได้
  • ผลึกนิ่วหรือที่เราเห็นเป็นก้อนเล็กๆ คล้ายกรวดนั้นเกิดการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ส่งผลให้เซลล์บุภายในไตถูกทำลาย ตำแหน่งถูกทำลายนี้จะเป็นพื้นที่ให้ผลึกนิ่วเกาะยึด และรวมกลุ่มกัน เกิดการทับถมของผลึกนิ่วเป็นเวลานานจนกลายเป็นก้อนนิ่วได้ในที่สุด

 บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำไมแม่ท้องห้ามกลั้นปัสสาวะ

 

โรคนิ่วประเภทต่างๆ แสดงอาการอย่างไรบ้าง

1. ปวดท้อง ปวดหลัง ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สังเกตดูว่า หากป่วยเป็นโรคนิ่วจะมีลักษณะของปัสสาวะที่มีก้อนนิ่วหลุดออกมาด้วยเหมือนเศษทรายเล็กๆ แต่บางคนอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากนิ่วได้ เช่น กรวยไตอักเสบจากการติดเชื้อ ท่อไต หรือท่อปัสสาวะอุดตันจากนิ่ว อุดตันนาน ๆ เข้าจะทำให้เกิดไตวายได้ อาการจะเป็นมาก หรือเป็นน้อยขึ้นกับระยะเวลาที่เป็นโรคนิ่ว

 

2. โรคนิ่วในไต

มักจะมีอาการปวดบริเวณเอวด้านหลังที่เป็นตำแหน่งของไต เวลาที่ก้อนนิ่วมันหลุดมาอยู่ในท่อไต จะปวดชนิดที่รุนแรงเหลือเกิน เหงื่อตก เกิดเป็นพักๆ ปัสสาวะอาจมีเลือด หรือเป็นสีน้ำล้างเนื้อร่วมด้วยได้

 

3. โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

บ่อยๆ มักจะปัสสาวะจะขัด ถ่ายเจ็บ ไม่สะดวก บางทีออกกะปริดกะปรอย หรือออกเป็นหยดขุ่นหรือขาวเหมือนมีผงแป้งอยู่ บางครั้งมีเลือดปนออกมาเป็นลิ่มๆ หรือเป็นสีน้ำล้างเนื้อ อาจมีสิ่งที่คล้ายกรวดทรายปนออกมากับปัสสาวะ ถ้านิ่วไปอุดท่อทางเดินปัสสาวะก็จะทำให้เกิดการอยากถ่ายปัสสาวะอยู่เสมอ

 

4. โรคนิ่วที่เริ่มเป็นก้อนแข็ง

อาการค่อนข้างรุนแรงเริ่มแข็งเหมือนหิน มีทั้งเล็ก และใหญ่ หากเกิดไปสีหรือรบกวนผนังของไตหรือกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ จนเป็นแผลขึ้นมาก็ได้ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน

 

5. ปวดปัสสาวะแต่ปัสสาวะไม่ออก

ลักษณะนี้ไม่ได้เกิดจากโรคนิ่วเสมอไป อาจเป็นโรคที่ไตไม่ทำงานหรือทำไม่ปกติ ผลิตน้ำปัสสาวะน้อย หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นอีก เช่น บางครั้งบางคราวเกิดจากการตีบของท่อปัสสาวะก็ได้

 

การรักษาโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

ปัจจุบันการรักษาโรคนิ่วมีหลายวิธี ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดให้กับผู้ป่วยโรคนิ่วในแต่ละประเภท บางรายเป็นการผ่าตัด การเจาะเพื่อดูดเอานิ่วออก อีกทางหนึ่งคือ การสลายนิ่ว ซึ่งการรักษาโรคนิ่วโดยวิธีการสลายนิ่วนี้ ค่อนข้างเจ็ยตัวน้อย แพทย์จะทำให้นิ่วแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ โดยพลังงานเสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากภายนอกร่างกาย ซึ่งพลังงานนี้จะผ่านเข้าสู่ร่างกายโดยไม่มีการทำลายเนื้อเยื่อ หลังจากที่นิ่วแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ แล้ว ก้อนนิ่วจะหลุดปนออกมากับปัสสาวะ เป็นการรักษาที่ไม่จำเป็นต้องฉีดยาชา ไม่ต้องดมยาสลบใดๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวตลอดเวลาที่ทำการรักษา อีกทั้งผู้ป่วยจะไม่มีแผลหรือท่อระบายใดๆ นับว่าเป็นวิทยาการสมัยใหม่ที่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บตัวน้อยที่สุด และกลับบ้านเร็วไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย

 

บทความที่น่าสนใจ :

ลูกฉี่บ่อย จนรู้สึกผิดปกติ อันตรายไหม?

คุณแม่ต้องรู้!! 5 วิธี ปกป้องลูกน้อยจากโรคติดเชื้อ ในโรงเรียนอนุบาล

ที่มา : healthychildren ,rajanukul , bangkokpattayahospital

บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan