ฟิวส์ขาด เมื่อพ่อแม่เกิดด้านมืด เลี้ยงลูกเหนื่อยมาก จะแก้ปัญหายังไงดี

แน่นอนว่า เมื่อถึงจุดที่จะเจอเจ้าตัวเล็กกวนใส่ กลายเป็นเจ้าวายร้ายที่ดื้อ ไม่ยอมฟัง ยั่วโมโหจนทำให้พ่อแม่เกิด ฟิวส์ขาด ขึ้นมาจนเกิดด้านมืดถึงกับต้องลงไม้ลงมือ ทีนี้เราจะแก้ปัญหากันยังไงดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ถึงแม้จะพยายามระมัดระวังตัวในการเลี้ยงลูก ไม่ให้มีอารมณ์พุ่งจาก 0 ถึงจุดเดือดได้รวดเร็ว แต่เมื่อต้องตกอยู่ในภาวะที่เหน็ดเหนื่อยเป็นนิจ สิ่งเล็ก ๆ ก็อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ แน่นอนว่าไม่มีพ่อแม่คนไหนอยาก ฟิวส์ขาด อาละวาดใส่ลูก ๆ อารมณ์ ฟิวส์ขาด เพียงแค่เรื่องสอนทำการบ้าน หรือการต้องคอยบอกว่าอย่าทำเรื่องแบบนี้ซ้ำ ๆ เป็นครั้งที่ร้อย 

 

เมื่อพ่อแม่เกิด ฟิวส์ขาด ควรทำอย่างไรดี

 

1. ต้องตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ

เมื่อรู้ว่าคุณเป็นพ่อหรือแม่ที่เป็นพวกความอดทนต่ำ จึงต้องจำเป็นคอยบอกตัวเองว่าเหนื่อย หิว หรือเครียดไปหรือเปล่า เพื่อที่จะได้ไม่เอาระเบิดไปลงใส่ลูก เพราะปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับลูก ๆ เลย อย่าให้ลูกต้องมาเป็นทีรองรับอารมณ์ของพ่อแม่นะคะ

2. ให้ความยอมรับกับลูกน้อย

ลูกก็เป็นเหมือนกับพ่อแม่ ที่มีสิทธิ์ที่จะมีความต้องการ อยากได้ หรือความเป็นตัวของตัวเอง ถึงแม้บางอย่างมันอาจจะเป็นความคิดที่เกินตัวของเขา ซึ่งมันเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม มากกว่าการจะไปโมโหในการที่เขาทำในสิ่งที่คุณไม่พอใจ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. การได้หยุดพักเป็นสิ่งสำคัญ

ใช่ว่าการให้เวลาลูกตลอดทั้งวันในทุกวัน คือสิ่งที่แสดงความรักได้ดีต่อลูก เพราะความเหนื่อยจากการเลี้ยงลูกจะส่งผลให้คุณมีขีดจำกัด และควบคุมตัวเองไม่ได้ ทางที่ดีคือการหาวิธีที่จะได้หยุดพักบ้าง สลับแตะมือกันมาดูแลลูกบาง และนั่นจะทำให้ลูกได้รับความรักจากพ่อแม่ที่ดี

4. รีบให้อภัยตัวเองและลูก

เมื่อเกิดฟิวส์ขาดอารมณ์เสียใส่ลูกขึ้นมา สิ่งที่พ่อแม่จะรีบทำได้เมื่อรู้ตัวว่าผิดคือ ดึงสติกลับและพร้อมจะขอโทษลูกได้ ซึ่งจะเป็นตัวอย่างที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้สำหรับการยอมรับผิด แม้พวกเราจะเข้าใจถึงความไม่สมบูรณ์แบบแต่สำหรับพ่อแม่ที่ดีก็ควรจะพยายามเป็นแบบให้ลูกอย่างสมบูรณ์

 

แน่นอนว่าการเป็นพ่อแม่ที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ แต่ก็เชื่อว่ามันไม่ยากเย็นเกินไปสำหรับการปรับตัวของพ่อแม่ทุกคนนะคะ เก็บด้านมืดเอาไว้ในใจ และอย่าเอามันออกมาใช้ (พร่ำเพรื่อ) กับลูก เมื่อเราจัดการตัวเองได้ดี เราก็สามารถสร้างลูกให้เติบโตเป็นคนดีในอนาคตได้เช่นกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

คุณแม่ขี้เหวี่ยง – ขึ้นเสียงใส่ลูกจะส่งผลเสียอย่างไร?

ฉันเป็นคนหนึ่งที่ชอบขึ้นเสียงใส่ลูก ไม่ใช่แค่บางครั้งบางคราว แต่แทบจะตลอดเวลา ถึงจะรู้ว่าไม่ควรแต่บางครั้งก็ยากที่จะควบคุมตัวเอง จนบางครั้งฉันรู้สึกเหมือนว่าลูกเกิดมาเพื่อที่จะทำให้ฉันปรี๊ดแตกได้ทุกที่ทุกเวลา ลูกเปลี่ยนฉันเป็นคุณแม่ที่กำลังอารมณ์ดีให้กลายเป็นนางมารร้ายที่พร้อมจะเหวี่ยงได้ภายในพริบตา

คุณเองก็อาจจะเคยเป็นเหมือนกัน ดังนั้นถึงเวลาที่เราต้องมาวิเคราะห์กันว่าอะไรทำให้เราโมโหและเราควรจะรับมือกับมันอย่างไร บางครั้งเราแค่ต้องพยายามเข้าใจธรรมชาติของเด็กและหันกลับมามองตัวเราเองมากขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เกิดอะไรขึ้นเมื่อแม่ตะคอก?

ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าการตะคอกใส่เด็กบ่อยครั้งจะเป็นการทำร้ายจิตใจเด็ก หากคุณขึ้นเสียงใส่เด็กเป็นประจำ เด็กอาจเริ่มไม่ฟังคุณและหันมาต่อต้านคุณ ผลการศึกษาในปี 2013 ระบุว่าการที่ผู้ปกครองใช้ “คำพูดรุนแรง” ซึ่งรวมไปถึงการตะโกน การสบถ หรือด่าทอหยาบคาย อาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก โดยเฉพาะวัยรุ่นในระยะยาว

การขึ้นเสียงใส่ลูกอาจเป็นสิ่งที่พ่อแม่หลายคนถือเป็นการสั่งสอนตามปกติ ซึ่งก็อาจจะเป็นผลดีสำหรับในบางกรณี แต่สิ่งสำคัญคือคุณต้องสังเกตการตอบสนองของลูก ลูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือไม่หลังจากที่คุณตะโกนใส่เขา หรือมีแต่ทำตัวแย่ลง?

ปัญหาของการขึ้นเสียงคือคุณมักจะลืมวัตถุประสงค์แรกเริ่มว่าคุณทำเช่นนั้นเพื่ออะไร และกลายเป็นว่าเด็กไม่ได้เรียนรู้ที่จะปรับปรุงพฤติกรรมจากการโดนต่อว่า สุดท้ายก็เสียสุขภาพจิตทั้งผู้ปกครองและตัวเด็ก

 

ประสบการณ์ส่วนตัว

คุณแม่ “ขี้เหวี่ยง” คนนี้ได้ฝึกควบคุมน้ำเสียงได้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง ฉันเชื่อว่าการต่อว่าลูกในบางครั้งจะสามารถสอนเด็กให้รู้จักปรับปรุงตัว ลูกฉันได้เรียนรู้แล้วว่าฉันจะขึ้นเสียงก็เมื่อฉันต้องการให้เขาเก็บห้อง ทำการบ้านให้เสร็จ หรือทำงานบ้าน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการฝึกระเบียบวินัย จนถึงจุดที่ว่าเด็ก ๆ จะสนใจในสิ่งที่ฉันพูดก็ต่อเมื่อฉันขึ้นเสียงเท่านั้น และจะไม่มีใครสนใจในสิ่งที่ฉันพูดหากฉันพูดด้วยน้ำเสียงปกติ

 

 

ข้อเสียของการขี้นเสียงใส่ลูก

มีครั้งหนึ่งที่ลูก ๆ ของฉันซนมาก ประจวบกับความเหนื่อยและเครียดสะสมจากการดูแลแขกที่มาพักที่บ้าน นาทีที่ฉันก้าวเข้าไปในบ้าน ฉันขึ้นเสียงสั่งให้ลูกออกไปนอกบ้านเพื่อไม่ให้แขกตกใจ ฉันเดินตามออกไป ยึดโทรศัพท์มือถือของทั้งสองคนและสั่งให้พวกเขาขึ้นรถ

เราขับรถออกมาโดยที่ฉันยังคุกรุ่นด้วยความโมโห และสุดท้ายก็วีนแตกใส่พวกเขาตอนที่รถกำลังติดไฟแดง ฉันตะโกนไล่ให้พวกเขาออกไปให้พ้น ๆ หน้า สิ่งที่เกิดขึ้นคือพวกเขาลงจากรถไปทันที ฉันช็อคจนทำอะไรไม่ถูก และนึกขึ้นได้ว่าเด็ก ๆ ไม่มีเงินสดและโทรศัพท์มือถือติดตัว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฉันใช้เวลาสองชั่วโมงถัดมาตามหาลูกตามถนนในกรุงเทพ ถามคนนู้นคนนี้ไปเรื่อย แต่ก็ไม่มีใครช่วยได้ บางคนบอกว่าฉันอาจจะหาลูกไม่เจออีกเลยก็ได้

ประสบการณ์ในครั้งนั้นสอนให้ฉันรู้จักคิดมากขึ้น ในตอนนั้นฉันคิดว่าฉันจะหาลูกไม่เจอแล้วจริง ๆ และปัจจุบันก็ยังรู้สึกเหมือนมีอะไรจุกอกทุกครั้งที่นึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้น ฉันถือว่าโชคดีมากที่สุดท้ายฉันหาลูกเจอ

ฉันได้เรียนรู้ว่าการตะคอกสามารถส่งผลเสียร้ายแรงได้แค่ไหน แม้การต่อว่าจะเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ควรทำเฉพาะในสถานการณ์ที่เหมาะสม ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงถาวร แต่จะช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น อย่าตะคอกเพียงเพราะคุณรู้สึกเหนื่อยหรือยุ่ง ถ้าจำเป็นต้องขึ้นเสียงจริง ๆ พยายามทำด้วยความรักและความหวังดี และอย่าโทษตัวเองในภายหลัง หากรู้สึกแย่หรือรู้สึก คุณควรให้ไปขอโทษลูกแทน

บทความที่น่าสนใจ : วิจัยชี้ยิ่ง ตะคอกลูก ระเบิดลงใส่ลูก ผลเสียเลี้ยงลูกด้วยอารมณ์นี่แหละจะทำให้ลูกมีปัญหา

 

วิธีระงับอารมณ์โกรธลูก ที่พ่อแม่ควรรู้!

1. ลูกไม่ค่อยเชื่อฟังพ่อแม่

การตะคอก ถึงแม้ว่าจะใช้ได้ผลในระยะสั้น ๆ ก็จริง แต่การที่พ่อแม่ตะคอกใส่ลูกอยู่ตลอดเวลา หรือ การเสียงดังใส่ลูกทุกครั้งเวลาที่ต้องการให้ลูกหยุดพฤติกรรมอะไรบางอย่าง อาจจะทำให้เด็กมีแนวโน้มที่จะเชื่อฟังพ่อแม่ลดน้อยลง แทนที่จะทำให้ลูกเชื่อฟังพ่อแม่มากขึ้น

ในขณะเดียวกัน พ่อแม่หลายคนที่ต้องเป็นลูกน้อง หรือ เป็นพนักงาน คงรู้สึกไม่พอใจ หรือ ชอบใจนักเวลาที่โดนหัวหน้าตะคอกใส่เวลาที่คุณผิดพลาดเท่าไหร่ และ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคนในครอบครัวของคุณมักจะแก้ปัญหาด้วยการทะเลาะกันเสียงดังจนถึงขั้นลงไม้ลงมือ ด้วยเหตุผลที่ว่า คุณไม่อยากจะฟังคำพูดเหล่านั้น เพราะฉะนั้น การพูดเสียงดัง หรือ การตะคอกอาจนำไปสู่ความรุนแรงได้ และทำให้ลูกไม่เชื่อฟังหรือเกิดความรำคาญได้

 

2. ลูกจะหลบหน้าหรือหลีกหนีพ่อแม่

การตะคอกใส่ลูกมักทำให้ลูกมีความรู้สึกแย่ลง ทำให้เด็กรู้สึกโกรธ หรือ หลีกหนีไปให้ไกลจากพ่อแม่ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นปฎิกิริยาต่อต้านที่ลูกจะสะท้อนกลับมายังพ่อแม่ที่ตะโกนด่าทอลูกค่ะ ถึงแม้ว่าบางครั้งลูกอาจจะเงียบไม่ตอบโต้พ่อแม่ และ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปก็จริง แต่ถ้าวันใดวันหนึ่งวิธีการนี้ไม่ได้ผลกลับลูกล่ะ ลูกมีการแสดงพฤติกรรมในทางตรงข้าม ไม่ยอมเชื่อฟัง และ หนีออกจากบ้านไป การกระทำเช่นนี้คุ้มที่จะเสี่ยงหรือไหมขึ้นอยู่กับพ่อแม่แล้ว

บทความที่น่าสนใจ : เลี้ยงลูกแบบนี้ไง ลูกถึงเป็น โรคพฤติกรรมเกเรก้าวร้าว เด็กเกเร ไม่ใช่เรื่องเล็ก

 

3. อาจทำให้ลูกเป็นเด็กเจ้าอารมณ์

การแสดงออกทางอารมณ์ของพ่อแม่ มักจะเกิดจากการที่พ่อแม่มีความรู้สึกไม่พอใจ หรือ ผิดหวังในตัวลูก การตะโกนว่าลูกแสดงให้เห็นว่าคุณไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณได้กลายมาเป็นพ่อแม่แล้วการระงับอารมณ์เป็นส่งสำคัญ เพราะคุณแสดงออกทางอารมณ์แบบไหน ลูกก็จะเป็นเช่นนั้น เหมือนกระจกที่สะท้อนตัวตนคุณออกมา ถ้าพ่อแม่ไม่อยากให้ลูกกลายเป็นเด็กเจ้าอารมณ์ ก็ควรพยายามระงับอารมณ์คุณเอาไว่ให้ดีค่ะ

 

4. การตะคอกใส่ลูกอันตรายกว่าที่คิด

ล่าสุดในงานวิจัยหนึ่ง ของมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก พบว่า การตะโคกใส่ลูก การด่าทอด้วยการใช้คำที่รุนแรง การสาปแช่ง อาจเป็นอันตรายต่อเด็กเทียบเท่ากับการทำโทษเด็กทางร่างกายหรือการตีเลยทีเดียว เนื่องจากพวกเขาคิดว่าการที่เด็กได้รับประสบการณ์แบบนี้บ่อยๆ จะทำให้เด็กมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า หรือการแสดงพฤติกรรมต่อต่านสังคม แล้วแบบนี้พ่อแม่ควรทำอย่างไรดี มาดูคำแนะนำหันค่ะ

 


 

ที่มา : www.scarymommy.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

มีลูกดวงเสริมกันเหมือนถูกหวย ดวงลูกกับพ่อแม่จะเป็นแบบไหน เกิดวันไหนดีสุด

ลูกพลาดข้อดีของการสัมผัสกับธรรมชาติแน่ หากพ่อแม่มัวแต่ให้เล่นมือถือ

 

 

บทความโดย

Napatsakorn .R