อาหารอันตรายสำหรับเด็ก

โปรดอ่านข้อมูลเกี่ยวกับสารและวัตถุเจือปนอาหารอันตรายที่เรากำลังจะบอกคุณต่อไปนี้ และอย่าลืมอ่านฉลากก่อนซื้ออาหารให้ลูกคราวหน้า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาหารอันตราย

นอกจากปริมาณน้ำตาลและไขมันแล้ว คุณยังควรระวังเรื่องวัตถุเจือปนที่อยู่ในอาหารที่ลูกกินด้วยเช่นกัน สารบางตัวเป็นอันตรายต่อเด็กเล็ก เช่นทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงกระทันหัน หรือเป็นอันตรายต่อเซลล์ในร่างกาย

วัตถุเจือปนอาหารคืออะไร?

มันคือสารเคมีหรือสารประกอบธรรมชาติที่ผู้ผลิตใส่ลงไปในอาหารเพื่อรักษารสชาติและหน้าตาของอาหาร เช่นสารกันบูด ซึ่งทำให้อาหารอยู่ได้นานขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วัตถุเจือปนอาหารเป็นอันตรายต่อเด็กอย่างไร?

วัตถุเจือปนอาหารบางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการไฮเปอร์ได้ ในขณะที่บางตัวอาจทำให้สมองทำงานผิดปกติหรือเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วัตถุเจือปนอาหาร 5 ชนิดที่พบบ่อยที่คุณควรระวัง

1.  สีผสมอาหาร สารใด ๆ ที่ขึ้นต้นด้วย FD&C (เช่น FD&C Blue #1) คือสีผสมอาหาร มักพบในลูกกวาด ธัญพืชอาหารเช้า หรือแม้แต่โยเกิร์ต การบริโภคต่อเนื่องในระยะยาวอาจทำให้เป็นไมเกรน และมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
2.  วัตถุกันเสีย เช่น บิวทิเลตเต็ดไฮดร็อกซีอะนิโซล (butylatedhydroxyanisole) หรือ BHA, โซเดียม ไนเตรต (sodium nitrate) และ โซเดียม เบนโซเอต (sodium benzoate) พบบ่อยในเยลลี่, เนยเทียม, แยม และน้ำอัดลม สารเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน หายใจไม่ทัน และเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
3.  สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เช่น แอสปาแตม (aspartame), อะซิซัลเฟม-เค (acesulfame-K), แซคคาริน (saccharin) พบได้ในน้ำอัดลมแบบไดเอท เครื่องดื่มและน้ำผลไม้กล่อง ขวด หรือกระป๋อง ผลการวิจัยหลายชิ้นชี้ว่าการบริโภคสารประเภทนี้ในระยะยาวหรือมากเกินไปจะทำให้เกิดความผิดปกติในตับ และหายใจไม่สะดวก
4.  น้ำตาลดัดแปลง ไฮฟรุกโตสคอร์นไซรัป (HFCS), น้ำตาลข้าวโพด และ เด็กซ์โตรส คือน้ำตาลที่ดัดแปลงมาจากน้ำตาลธรรมชาติ มักผสมอยู่ในน้ำอัดลม, ขนมปังกรอบ, ซอสมะเขือเทศ และแม้แต่อาหาร “เพื่อสุขภาพ” เช่นน้ำสลัด หรือขนมธัญพืชต่าง ๆ การบริโภค HFCS มากเกินไปจะทำให้อ้วน เป็นโรคตับ และมีโอกาสเป็นเบาหวานสูง
5.  เกลือ ถึงเราจะใช้เกลือ ซีอิ๊ว น้ำปลาประกอบอาหารกันเป็นปกติ แต่การได้รับเกลือในปริมาณที่มากเกินไปจากอาหารสำเร็จรูปและขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ อาจเป็นอันตรายต่อไตได้ เด็กที่กินของเค็มจัดมากเกินไปเสี่ยงเป็นโรคไตและโรคหัวใจ พยายามเลี่ยงอาหารรสเค็มจัดและบริโภคแต่น้อย

คุณพ่อคุณแม่ควรอ่านฉลากก่อนซื้ออาหารทุกครั้งเพื่อหลีกเลี่ยงส่วนประกอบที่เป็นอันตรายเหล่านี้ ถ้าลูกมีอาการผิดปกติ ให้รีบพาไปหาหมอทันที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำตาล: ภัยร้ายใกล้ตัวลูก

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team