24 ชั่วโมงแรกที่บ้านกับทารกแรกเกิด ตัวน้อย ๆ ของคุณ

คุณอาจเคยได้ยินว่าเด็กทารกแรกเกิดวัน ๆ ไม่ทำอะไรนอกจากกิน ขับถ่าย ร้องไห้ และนอน ฟังดูเป็นเรื่องง่าย ๆ สินะ? ก็อาจจะกลายเป็นเรื่องง่ายได้ แต่ในตอนแรกอะไร ๆ ก็ดูไม่ง่ายเลย การได้รู้ว่าทารกเกิดใหม่เป็นอย่างไรและคุณต้องทำอะไรบ้างจะช่วยให้วันแรกที่บ้านกับทารกแรกเกิดตัวน้อยเป็นเรื่องยุ่งยากน้อยลงได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

24 ชั่วโมงแรกที่บ้านกับทารกแรกเกิด ตัวน้อย ๆ ของคุณ

24 ชั่วโมงแรกที่บ้านกับทารกแรกเกิด ตัวน้อย ๆ ของคุณ

การให้นมทารกแรกเกิด

เนื่องจากทารกแรกเกิดมีกระเพาะอาหารที่เล็กมาก ลูกจึงดื่มนมได้เพียงปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น คือ ประมาณ 30-90 มิลลิลิตร แต่ต้องดื่มบ่อย ๆ เด็กบางคนอาจต้องดูดนมจากแม่หรือจากขวดทุก ๆ สองหรือสามชั่วโมง เด็กคนอื่น ๆ อาจหิวบ่อยกว่านั้น

เด็กบางคนป่าวประกาศความหิวของตัวเองโดยการร้องไห้จ้า บางคนให้คำใบ้อย่างเงียบ ๆ เช่น การดูดมือ การตีริมฝีปาก การไซ้หาซึ่งก็คือการอ้าปากพร้อมทำริมฝีปากเป็นวงกลมแล้วหันหัวไปหาเต้านมหรือขวดนม

ในช่วงวันแรก ๆ ทารกแรกเกิดโดยทั่วไปสูญเสียน้ำหนักราวร้อยละ 7 ของน้ำหนักตัวทั้งหมด สิ่งนี้เป็นเรื่องปกติ คุณควรให้นมลูกทุก ๆ สองชั่วโมงโดยประมาณจนกว่าลูกจะมีน้ำหนักกลับมาเป็นปกติเหมือนตอนแรกคลอด

ทารกแรกเกิดขี้เซา คุณอาจต้องปลุกลูกขึ้นมาเพื่อดูดนมและคอยกระตุ้นอย่างอ่อนโยนให้ลูกตื่นระหว่างดูดนม ลองถอดเสื้อผ้าลูกออกจนเหลือแต่ผ้าอ้อม ลูบไล้ที่หัวหรือหลัง หรือพูดคุยกับลูก เป้าหมายคือให้ลูกกลับมามีน้ำหนักเท่ากับตอนแรกคลอดให้ได้เมื่อลูกเข้ารับการตรวจสุขภาพเมื่ออายุได้สองสัปดาห์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การเรอ การสะอึก และการแหวะนมของทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิดบางคนต้องทำให้เรอบ่อย ๆ แต่ทารกบางคนก็เรอได้เองและต้องการความช่วยเหลือจากพ่อแม่น้อยมาก หากลูกของคุณมีท่าทางไม่สบายตัวระหว่างหรือหลังการดูดนม นั่นเป็นสัญญาณบอกว่าคุณต้องทำให้ลูกเรอแล้วล่ะ

ลองให้ลูกเรอระหว่างที่คุณเปลี่ยนเต้านม ให้ลูกดูดหลังจากที่ลูกดูดนมไปแล้วราว 60-90 มิลลิลิตร ทุก ๆ 10-15 นาทีของการดูดนม หรือเมื่อลูกดูดนมเสร็จแล้ว หลังจากที่ให้ลูกดูดนมไปแล้วหนึ่งหรือสองวัน คุณจะพบวิธีทำให้ลูกเรอที่เหมาะกับเจ้าตัวน้อยของคุณ

คุณไม่จำเป็นต้องตบหลังลูกเหมือนตีกลอง การตบเบา ๆ อย่างอ่อนโยนวนเป็นวงกลมก็ช่วยทำให้ลูกเรอได้ มีท่าช่วยให้ลูกเรอท่าอื่น ๆ ให้ลองอีก รวมถึงการอุ้มลูกโดยให้ส่วนหัวพักอยู่บนไหล่ของคุณ ให้ลูกนั่งตัวตรงกับตักของคุณโดยใช้นิ้วของมือข้างหนึ่งรองรับอกและคางของลูกไว้ หรือการให้ลูกนอนคว่ำบนตักของคุณ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่าตกใจเมื่อลูกสะอึกหรือแหวะนม การสะอึกเป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับทารกเกิดใหม่และไม่ได้ทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายตัว การแหวะนมระหว่างและหลังจากการดูดนมในปริมาณเล็กน้อยหรือมีปริมาณเท่ากับนมที่ดูดเข้าไปก็ยังนับเป็นเรื่องค่อนข้างปกติเช่นเดียวกัน อย่าลืมผ้าไว้เช็ดปากลูกเสมอ

การเรอ การสะอึก และการแหวะนมของทารกแรกเกิด

การปัสสาวะและอุจจาระ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกแรกเกิดที่ดื่มนมแม่จะปัสสาวะรดผ้าอ้อมอย่างน้อยห้าครั้งต่อวัน ส่วนเด็กที่ดื่มนมผงอาจปัสสาวะบ่อยกว่านั้น อาจจะถึงสิบครั้งต่อวันก็ได้

จำนวนครั้งที่ปกติสำหรับการขับถ่ายสำหรับเด็กแต่ละคนแตกต่างกันอยู่พอควร ทารกที่ดื่มนมแม่มักจะขับถ่ายมากกว่าเด็กที่ดื่มนมผงเนื่องจากนมผงต้องใช้เวลาย่อยนานกว่า แต่จำนวนครั้งของการขับถ่ายในหมู่เด็กที่ดื่มนมแม่เองก็แตกต่างกันอยู่มาก ตั้งแต่หนึ่งครั้งทุก ๆ สี่วันหรือมากกว่า ไปจนถึงทุกครั้งหลังดื่มนมแม่เลยก็มี

เด็กที่ดื่มนมผงโดยทั่วไปแล้วขับถ่ายวันละสองหรือสามครั้ง แต่บางคนก็ขับถ่ายวันเว้นวัน บางคนก็ขับถ่ายวันละหลาย ๆ ครั้งก็มี

คุณควรบันทึกจำนวนครั้งและเวลาที่ลูกปัสสาวะและอุจจาระ เนื่องจากคุณหมออาจสอบถามถึงลักษณะการขับถ่ายเมื่อคุณพาลูกไปตรวจสุขภาพครั้งแรก

การขับถ่ายครั้งแรกมักเกิดขึ้นในช่วงวันแรกหรือวันที่สอง ซึ่งมักจะเป็นเวลาที่คุณยังอยู่ที่โรงพยาบาล อุจจาระที่ขับถ่ายออกมาครั้งแรกนี้เรียกว่า ขี้เทา ซึ่งมีสีดำและมีความข้นเหมือนน้ำมันดิน การขับถ่ายครั้งถัด ๆ มายังมีลักษณะห่างไกลจากอุจจาระของผู้ใหญ่อยู่มาก เตรียมใจรับอุจจาระสีออกเขียว ๆ น้ำตาลอ่อน หรือมีลักษณะเป็นเม็ด ๆ สีเหลืองเหมือนมัสตาร์ดไว้ได้เลยสำหรับเด็กทารกที่ดื่มนมแม่

ส่วนอุจจาระของทารกที่ดื่มนมผงจะมีลักษณะซีดกว่าและมีหลากสี พาลูกไปพบคุณหมอหากในอุจจาระของลูกมีเมือกสีขาว มีแถบหรือจุดสีแดงปะปน เพราะสีแดงเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามีเลือดปนในอุจจาระซึ่งอาจบ่งชี้ปัญหาได้

เด็กร้องไห้บ่อย หนัก หรือนานแค่ไหนก็แตกต่างกัน และจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ

บทความใกล้เคียง: สีของอุจจาระบอกโรค

ลักษณะความข้นของอุจจาระปกติก็แตกต่างกันตั้งแต่นุ่มมากไปจนถึงเป็นน้ำ ทารกที่ดื่มน้ำนมแม่จะมีลักษณะอุจจาระข้นน้อยกว่าซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจสับสนกับอาการท้องร่วงได้ คุณควรสังเกตว่าลักษณะ รูปแบบ หรือความข้นของอุจจาระลูกเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ แต่ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องยากเมื่อลูกกำลังเริ่มสร้างรูปแบบการขับถ่ายของตัวเอง หากคุณสงสัย คุณควรปรึกษาคุณหมอ

การร้องไห้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกของคุณจะร้องไห้ คุณไม่มีทางออกอะไรเลยสำหรับเรื่องนี้ เด็กร้องไห้บ่อย หนัก หรือนานแค่ไหนก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงและจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ

สำหรับช่วงวันแรก ๆ ทารกแรกเกิดจะเงียบและนอนหลับเสียเป็นส่วนมาก แต่เมื่อทารกอายุได้สองสัปดาห์ ลูกจะร้องไห้ราวสองชั่วโมงต่อวัน (ลูกจะร้องไห้มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่จะค่อย ๆ ลดลงเมื่อมีอายุได้หกถึงแปดสัปดาห์)

เมื่อเวลาผ่านไป คุณจะเริ่มเข้าใจง่ายขึ้นเรื่อย ๆ ว่าทำไมลูกจึงร้องไห้ สาเหตุหลัก ๆ ก็มีผ้าอ้อมเลอะ หิว เหนื่อย รู้สึกไม่สบายตัว และคุณก็จะหาต้นตอของปัญหาเจอเอง ถ้ามิเช่นนั้นอาจมาจากการกระตุ้นเร้ามากเกินไป เด็กบางคนจะอารมณ์ไม่ดีเมื่ออยู่ท่ามกลางความเคลื่อนไหวพลุ่กพล่านหรือมากเกินไป

แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งลูกก็ร้องไห้ขึ้นมาโดยไม่ได้มีสาเหตุชัดเจน คุณต้องค้นหาสิ่งที่จะช่วยบรรเทาให้ลูกรู้สึกดีขึ้นได้ จำไว้ว่า ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “การตามใจทารกแรกเกิด” ดังนั้นคุณควรตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ด้วยความใส่ใจและความรัก

หากคุณรู้สึกหงุดหงิดหรือคิดว่าตัวเองไร้ความสามารถเพราะไม่สามารถค้นพบอย่างรวดเร็วหรือแม่นยำได้ว่าทำไมลูกถึงร้องไห้ล่ะก็ อย่าได้คิดมากไปเลย คุณแม่คนใหม่ทุกคนต่างผ่านจุดนี้กันมาก่อน แม้กระทั่งผู้เชี่ยวชาญ บางครั้งความต้องการของเด็กก็ชัดเจน แต่ก็มีบางครั้งที่คุณไม่แน่ใจเลยว่าเกิดอะไรขึ้น

ทารกเกิดใหม่จะนอนหลับประมาณวันละ 16 ถึง 18 ชั่วโมงต่อวัน

การนอน

ท้องเล็ก ๆ ของลูกจะช่วยให้ลูกนอนหลับได้ครั้งละสองสามชั่วโมงก่อนที่จะตื่นขึ้นมาดูดนมอีก เมื่อรวมการนอนพักสั้น ๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน ทารกเกิดใหม่จะนอนหลับประมาณวันละ 16 ถึง 18 ชั่วโมงต่อวัน คุณอาจอยากบันทึกว่าลูกนอนหลับเมื่อไรและที่ไหนบ้างเพื่อหารูปแบบการนอนและตอบคำถามของคุณหมอประจำตัวลูก

โชคดีที่ว่าทารกเกิดใหม่มีความสามารถอันน่าทึ่งที่จะนอนได้แทบทุกที่ ที่นั่งเด็กบนรถ ในรถเข็นเด็ก เปลนอน หรือในอ้อมแขนของคุณ ทารกแรกเกิดหลายคนชอบที่นั่งเด็กบนรถหรือเป้อุ้มเด็กมากกว่าการนอนในเปลหรือเตียงเด็กเพราะการอิงแอบแนบชิดกับอะไรสักอย่างช่วยให้นึกถึงช่วงเวลาในท้องแม่

ด้วยเหตุนี้ทารกเกิดใหม่หลาย ๆ คนชอบให้ตัวเองได้รับการห่อหุ้มด้วยผ้า เพราะเป็นการเลียนแบบสิ่งแวดล้อมที่ทารกเคยอยู่ อีกทั้งเนื่องจากทารกยังควบคุมความเคลื่อนไหวร่างกายตัวเองได้ไม่ดี การห่อผ้ายังช่วยป้องกันไม่ให้ลูกเตะหรือตีถูกตัวเองแล้วปลุกตัวเองขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจอีกด้วย

ไม่ว่าลูกจะนอนเมื่อไหร่หรือที่ไหน คุณควรให้ลูกนอนหงายและเอาผ้าห่ม หมอน และของเล่นออกห่างจากลูกเพื่อป้องกันความเสี่ยงทารกเสียชีวิตฉับพลัน อย่าปล่อยให้ทารกนอนหลับบนโซฟาหรือเตียงโดยไม่มีผู้ดูแลเพราะลูกอาจกลิ้งตกโซฟาหรือเตียงได้ แม้ว่าลูกอาจยังหมุนตัวเองไม่เป็นก็ตาม

เมื่อลูกนอนหลับแล้ว อย่าได้ประหลาดใจหากคุณได้ยินลูกทำเสียงประหลาด หากฟังแล้วเสียงเหมือนลูกเป็นหวัด เสียงนั้นบ่งบอกว่าลูกเป็นพวกหายใจทางจมูก เนื่องจากลูกยังไม่อาจสั่งน้ำมูกหรือทำให้จมูกโล่งได้ด้วยตัวเองเหมือนผู้ใหญ่ คุณใช้ลูกสูบยางช่วยทำให้จมูกลูกโล่งขึ้นได้ซึ่งจะช่วยให้ลูกหายใจ นอนหลับ และดูดนมได้ง่ายยิ่งขึ้น

ทารกแรกเกิดมีนิสัยอีกอย่างคือการหายใจเป็นช่วง ๆ ลูกอาจหายใจเร็วแล้วหยุดหายใจไปสองสามวินาทีแล้วหายใจใหม่อีกครั้ง แม้ว่าการหายใจแบบนี้เป็นเรื่องปกติ แต่ก็ชวนให้คุณพ่อคุณแม่กังวลอยู่ไม่น้อย

แต่อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณการหายใจบางอย่างที่บ่งบอกว่าเป็นเรื่องไม่ปกติและคุณต้องติดต่อคุณหมอทันที เช่น

- เสียงฮึดฮัดจากจมูก

- รูจมูกบานออก

- มีปฏิกิริยาที่หน้าอก (ยุบตัวเหนือกระดูกไหปลาร้า ระหว่างกระดูกซี่โครง หรือใต้กระดูกซี่โครง)

- การหายใจเร็วอย่างต่อเนื่อง

- หายใจอย่างลำบากจากหน้าอก (แทนที่จะเป็นที่จมูกหรือคอ ซึ่งเป็นสัญญาณบอกเหตุถึงการหายใจติดขัดหรืออึดอัด

- การหายใจทางจมูกอย่างหนักหน่วงเสียงดัง (มีเสียงฟืดฟาดหรือมีเสียงติดขัดระหว่างการหายใจเข้าและหายใจออก)

- การหยุดหายใจนานกว่า 10 ถึง 15 วินาทีระหว่างหายใจ

หากบางอย่างที่บ่งบอกว่าเป็นเรื่องไม่ปกติและคุณต้องติดต่อคุณหมอทันที

The Asianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย

ที่มา : Baby Center

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 

อาการป่วยที่พบบ่อยในทารก

ทารกชอบตีชอบกัด ทำไมทารกถึงชอบตีชอบกัด อะไรอยู่เบื้องหลังความรุนแรง

ชวนเหล่าคุณพ่อคุณแม่ช้อปปิ้ง จุกนมหลอก จุกดูดหลอกของเด็ก จุกหลอกทารก

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team