10 นิ้วของแม่ช่วยพัฒนาสมองลูกได้นะ

การเล่นนิ้ว หรือ Finger Play ที่คุณแม่สามารถนำมาเล่นกับลูก ๆ ได้ จะช่วยในการฝึกพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก (กล้ามเนื้อนิ้วมือ) โดยผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์พร้อมทั้งใช้เสียง คำพูด เป็นส่วนประกอบ ที่นอกจากจะเสริมสร้างจินตนาการให้เด็ก ๆแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นเซลล์สมองให้ลูกเกิดกระบวนการคิดขึ้น ยิ่งถ้าเด็กมีการใช้สมองเพื่อการเรียนรู้และการคิดมากเท่าไร ก็จะทำให้เซลล์สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองใหม่ ๆ แตกแขนงเชื่อมติดต่อกันมากยิ่งขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การให้ลูกได้ฝึกฝนการใช้มือและนิ้วมือ จะทำให้เกิดการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับพัฒนาการทางสมอง โดยผ่านกิจกรรมง่าย ๆ เช่น ปั้นดินน้ำมัน แป้งโดว์ การฉีกกระดาษ การวาดภาพระบายสี ฯลฯ หรือกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับทักษะและการเรียนรู้ด้านอื่น ๆ ที่แม่สามารถทำร่วมกับลูกได้

ตัวอย่างการเล่นนิ้วมือกับลูก แนะนำโดย โดย ผศ.ละออ ชุติกร

การเล่นนิ้วมือประกอบคำคล้องจองเพื่อสอนคณิตศาสตร์

“นกเกาะหลังคา”
วิธีเล่น
ใช้มือซ้ายโค้งเป็นรูปหลังคา และใช้มือขวากางนิ้วทำเป็นรูปนกบิน โดยกางนิ้วหัวแม่มือให้ห่างจากนิ้วอื่น ๆ ทั้ง 4 นิ้ว เพื่อสมมติเป็นหัวนกและปีกนก แล้วทำท่าบินร่อนมาเกาะที่มือที่ทำเป็นหลังคาทีละตัว จนครบ 5 ตัว ทั้งนี้เมื่อลูกเล่นเริ่มคล่องแล้วอาจจะสลับให้ลูกใช้มือเป็นหลังคาหรือมาเป็นนกบินก็ได้นะคะ

โดยคุณแม่ทำมือประกอบพร้อมพูดว่า
– นก 1 ตัวเกาะอยู่บนหลังคา  อีก 1 ตัวบินมารวมเป็นนก 2 ตัว
– นก 2 ตัวเกาะอยู่บนหลังคา   อีก 1 ตัวบินมารวมเป็นนก ….  ตัว
– นก 3 ตัวเกาะอยู่บนหลังคา   อีก 1 ตัวบินมารวมเป็นนก …. ตัว 
– นก 4 ตัวเกาะอยู่บนหลังคา   อีก 1 ตัวบินมารวมเป็นนก ….. ตัว

การเล่นนิ้วมือประกอบเพลงที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติของผีเสื้อ

“หนอนตัวน้อย”
วิธีเล่น
คุณแม่ใช้นิ้วมือข้างขวาทั้ง 5 นิ้ววางลงบนปลายแขนข้างซ้ายของลูก แล้วค่อย ๆ ขยับขึ้นไปทางโคนแขน จากนั้นขยับนิ้วหัวแม่มือและนิ้วทั้งสี่เข้าหากันเร็วๆ เพื่อทำท่าหนอนกินใบไม้ ด้วยการงอนิ้วมือทุกนิ้วเข้าหากันกำมือเป็นรูปกลม และค่อย ๆ คลายนิ้วออก เคลื่อนนิ้วทั้ง 5 ทางซ้ายมือและขวามือมาชนกัน โดยให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองเกี่ยวกันสมมติว่าเป็นตัวผีเสื้อ จากนั้นขยับนิ้วสมมติว่าเป็นปีกผีเสื้อและทำท่าโบยบินไปมา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยคุณแม่ขยับนิ้วให้เข้ากับจังหวะร้องเพลง
“หนอนตัวน้อย ๆ ค่อยๆ คืบคลาน ค่อย ๆ คืบคลานหาอาหารกิน หนอนกินใบไม้ มันกิน มันกิน กินไม่หยุดยั้งทั้งวัน ทั้งคืน หนึ่งสัปดาห์กว่ามันเติบโต เปลี่ยนแปลงมากโข สร้างเปลือกหุ้มหัวไว้ สองสัปดาห์ดักแด้เปลี่ยนไป สู่ชีวิตใหม่เป็นผีเสื้อแสนงาม”

การใช้นิ้วมือประกอบการเล่นสมมุติ

สมมติเป็นลูกบอล
“ลูกบอลเล็ก ๆ ลูกบอลใหญ่ ๆ เธอมีบ้างไหม เอ้า…ฉันแบ่งให้เธอ”

วิธีเล่น
ให้คุณแม่ประกบมือทั้งสองข้างเข้าหากันหลวม ๆ ให้มีลักษณะกลมเพื่อสมมติเป็นลูกบอลเล็ก ๆ และกางมือทั้งสองข้างออกจากกันให้สมมติเป็นลูกบอลใหญ่ ๆ ให้เข้ากับจังหวะการร้องเพลงและทำท่าโยนลูกบอลมือส่งให้ลูกตรงหน้า จากนั้นคุณแม่ลองสลับให้ลูกใช้มือเป็นลูกบอลเพื่อส่งให้คุณแม่ดูบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สมมติเป็นทหาร
“ปิ๊ด ปี๊ ปิ๊ด ทหารเดินหน้า ก้าวขาทีละนิด ปิ๊ด ปี๊ ปิ๊ด ทหารเดินตรง ถอยลงทีละนิด”

วิธีเล่น
– สอนลูกใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางวางตั้งบนพื้น พร้อมทั้งขยับนิ้วสลับกันไปข้างหน้า ให้เข้ากับจังหวะการพูด
– ขยับนิ้วทั้งสองสลับกันไปข้างหลัง ให้เข้ากับจังหวะการพูด

สมองของเด็กสามารถพัฒนาได้จากการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก และทักษะความคล่องตัวของกล้ามเนื้อมัดเล็กจะพัฒนาภายในช่วงเวลา  10 ปีแรก ดังนั้นกว่าลูกจะใช้นิ้วมือจับสิ่งของได้คล่องอาจต้องใช้เวลานานหลายปี การเริ่มฝึกให้ลูกใช้นิ้วมือจึงเป็นการกระตุ้นเพื่อกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ควบคุมนิ้วมือจะพัฒนาเพื่อทำงานที่ละเอียดขึ้นเรื่อย ๆ เพราะธรรมชาติได้กำหนดให้การพัฒนากล้ามเนื้อนิ้วมือ ต้องควบคู่ไปกับความพร้อมของกล้ามเนื้อส่วนอื่นที่ต้องใช้ในการทำงานร่วมกัน เช่น สายตา กล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่ต้นแขน ข้อศอก และระดับสติปัญญาตามวุฒิภาวะของสมองที่เป็นไปตามวัย คุณแม่ค่อย ๆ ใช้นิ้วเล่นกับลูกน้อยผ่านกิจกรรมอย่างเหมาะสมกันนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : www.familyweekend.co.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
นิ้วมือของหนูทำรูปอะไรได้บ้าง?
หุ่นนิ้วเสริมพัฒนาการทารก

บทความโดย

Napatsakorn .R