เบคอน ของโปรดเด็กน้อย ควรทานแต่น้อยเพื่อสุขภาพที่ดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เบคอน ของโปรดเด็กน้อย ควรทานแต่น้อยเพื่อสุขภาพที่ดี พูดถึงเบคอนแล้วไม่ว่าจะเด็กเล็กหรือเด็กโตคนไหนก็ต้องแพ้ (ทาง) ทุกที มีเท่าไหร่หมดเท่านั้น แล้วเบคอนเนี่ย มันดีหรือไม่ดียังไงกันนะ ไปรู้จักเบคอนกัน

เบคอน ทำมาจากอะไร?

ปกติแล้วเบคอนนั้นจะทำมาจากส่วนท้อง หรือหลังของหมู เพราะส่วนดังกล่าวมีปริมาณไขมันที่มากกว่าเนื้อแดงในส่วนอื่นๆ แต่ถึงอย่างไรก็ตามเบคอนก็ไม่ได้ทำจากหมูเสมอไป โดยมีที่ทำจากวัตถุดิบอื่นอีก เช่น

  • เบคอนไก่งวง หรือเป็ด นิยมมากในแถบประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม อาทิ อินโดนีเซีย ปากีสถาน บังกาเทศ อิหร่าน ตุรกี เป็นต้น
  • เบคอนมังสวิรัติ มักทำมาจากโปรตีนถั่วเหลือง เหมาะสำหรับผู้ที่ทานมังสวิรัติ หรือทานอาหารเจ
  • เบคอนแกะ
  • เบคอนเนื้อ
  • เบคอนกวาง

 

กรรมวิธีในการทำเบคอน

การทำเบคอนนั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ก็คือการทำแบบ “แห้ง” และ “เปียก”

เบคอน แบบแห้ง

เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำเบคอน คือการนำเนื้อส่วนหลังหรือส่วนท้องของหมูมาทาเกลือ และสมุนไพรต่างๆ ก่อนที่จะนำไปอบด้วยอุณหภูมิพอเหมาะ เพื่อเป็นการรีดน้ำ และน้ำมันส่วนเกินที่อยู่ในเนื้อหมูออกมา เวลานำไปทอด เบคอนจะเหลืองกรอบน่ารับประทาน

เบคอน แบบเปียก หรือการดอง

โดยใช้เนื้อหมูและวัตถุดิบเหมือนกับการทำแบบแห้ง ซึ่งจะไม่อบเหมือนกับแบบแห้ง แต่จะเป็นการนำเนื้อหมูลงไปแช่ในน้ำเกลือแทน ซึ่งการดองเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำในเนื้อหมู ดังนั้นเวลานำเบคอนชนิดนี้ไปทอด เบคอนจะหดตัวลง และปล่อยน้ำมันมันออกมา เมื่อสุกจะไม่กรอบเท่ากับแบบแห้ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจ : รวม 30 เมนูไข่ อาหารเช้า เอาใจลูก กับสูตรเมนูไข่ง่าย ๆ

สารอาหารในเบคอน

แค่เห็นน้ำมันที่ออกมาตอนทอดก็คงพอจะเดาออกกันแล้วว่า เบคอนหนึ่งชิ้นนั้นมีปริมาณไขมันเยอะแค่ไหน เราลองมาดูกันอย่างละเอียดดีกว่าว่าจริงๆ แล้วมันมีแต่ไขมันจริงหรือไม่

ข้อมูลโภชนาการสำหรับเบคอน 1 ชิ้น (35 กรัม)

  • แคลอรี : 161 กิโลแคลอรี
  • ไขมัน : 12 กรัม
  • โซเดียม : 581 มิลลิกรัม
  • คาร์โบไฮเดรต : 0.6 กรัม
  • ไฟเบอร์ : 0 กรัม
  • น้ำตาล : 0 กรัม
  • โปรตีน : 12 กรัม

ซึ่งจะเห็นได้ว่าเบคอนไม่ได้มีแคลอรีที่สูงมากนัก แต่มีไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่สูงมาก และปริมาณโซเดียมที่สูงถึง 1 ใน 4 ที่ของปริมาณที่ควรบริโภคต่อวันเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้คนที่ใส่ใจสุขภาพ หรือคนที่กำลังไดเอท แต่ร่างกายต้องการเบคอน จึงหันมาทาน เบคอนไก่งวง หรือเบคอนมังสวิรัติ แทน เพื่อเป็นการชดเชยเบคอนหมู และเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

 

เบคอน ปลอดภัยสำหรับเด็กๆ จริงหรือเปล่า

ด้วยปริมาณของโซเดียมในเบคอนแล้ว สำหรับเด็กเล็กหรือเด็กที่มีอายุไม่เกิน 12 เดือน ไม่ควรให้บริโภคเบคอนเพียงอย่างเดียว โดยในระยะ 12 เดือนแรกเด็กๆ ควรได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตมากที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ช่วงอายุต่ำกว่า 2 เดือน

วัยทารกแรกเกิด เด็กๆ ไม่ควรได้รับอาหารอื่นใดนอกจาก “นมแม่” ด้วยความที่นมแม่นั้นมีสารอาหารที่ครบถ้วน และมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยมากที่สุด อีกทั้งยังช่วยสร้างภูมิต้านทานให้กับทารกแรกเกิดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ รวมถึงการพัฒนาการทางด้านสมองและสติปัญญาของลูกน้อยของคุณอีกด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ช่วงอายุ 2-5 เดือน

เป็นช่วงอายุที่ฟันของเด็กๆ เริ่มขึ้น เด็กๆ มักเกิดการอาการคันฟัน และคว้าสิ่งของรอบข้างมาทานอยู่เป็นประจำ ซึ่งในระยะนี้ก็ยังถือว่าเสี่ยงมาก ถ้าให้เด็กๆ ทานเบคอนทอดกรอบโดยตรง โดยอวัยวะภายในของเด็กๆ กำลังอยู่ในระยะเติบโตจึงไม่ควรให้เขาได้ทานในช่วงเวลานี้

ช่วงอายุ 5 เดือนถึง 12 เดือน

การพัฒนาทางร่างของเด็กๆ เริ่มเติบโตมากขึ้น พวกเขาสามารถเริ่มเคี้ยว หรือเริ่มทานอาหารได้บ้างแล้ว แต่ก็ยังขอยืนยันว่าไม่ควรให้เขาทานเบคอนเพียงอย่างเดียวอยู่ดี แนะนำให้คุณแม่ผสมเบคอนเข้ากับไข่ หรือว่าให้ในปริมาณที่น้อยเท่านั้น

 

ช่วงอายุมากกว่า 12 เดือน

เด็กวัยกำลังโต ที่มักเกิดอาการแพ้ (ทาง) ให้กับของทอดกรอบทุกที เบคอนเป็นอีกหนึ่งเมนูที่เด็กๆ หลายบ้านเรียกร้องอยากจะทาน แล้วเราก็ไม่สามารถห้ามได้ เพราะพวกเขาจะงอแงกันเป็นอย่างมาก วิธีที่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้ก็คือ การทำให้รสชาติของเบคอนอ่อนลง อาจนำไปประกอบกับเมนูอื่นๆ ที่มีรสจืด หรือลดความเค็มด้วยการนำไปต้มในน้ำเดือด เพื่อลดความเค็มก่อนก็ได้นะคะ

บทความที่น่าสนใจ : เช็คพัฒนาการลูกยังไง? ติดตามพัฒนาการลูก ง่ายๆได้ด้วยตัวเอง!

ผลเสียของการทานโซเดียมมากเกินไป

การทานโซเดียมมากเกินไปนั้นอาจส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ในเด็ก และวัยรุ่น อีกทั้งยังส่งผลทำให้เด็กๆ มีน้ำหนักตัวที่มากเกินมาตรฐาน หรือเกิดโรคอ้วนได้ โดยเด็กที่ทานอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงมีแนวโน้มที่จะมีความดันโลหิตสูงกว่าเด็กทั่วไปถึง 40 เปอร์เซ็นต์ นอกจากความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนแล้ว การทานโซเดียมในปริมาณที่มากเป็นเวลานาน หรือสะสมเป็นจำนวนมากนั้น อาจส่งผลทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

อย่างไรก็ตามก็อยากให้บรรดาคุณแม่ทั้งหลาย เลือกเมนูอาหารที่ครบ 5 หมู่และถูกสุขลักษณะให้กับเด็กๆ นะคะ เพื่อสุขภาพที่ดี หากไกลโรคภัยไข้เจ็บของลูกน้อยของคุณ และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านสติปัญญา และกล้ามเนื้อ ที่กำลังอยู่ในวัยเจริญเติบโต

ที่มา : verywellfit, healthline, sleepbaby

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Siriluck Chanakit