นักวิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมจากเด็กๆ 140 คน ที่มีอายุ 2 ขวบครึ่ง ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า FALSE BELIEF TASK โดยใช้วิธีการเล่าเรื่องและถามคำถามเด็กๆ
FALSE BELIEF TASK
โดยเนื้อเรื่องที่ว่านี้คือ แซลลี่เอาก้อนหินอ่อนไปซ่อนไว้ในกล่อง 1 ใน 2 ใบ จากนั้นแซลลี่เดินไปที่อื่น จากนั้นมีคนมาเปลี่ยนเอาก้อนหินไปไว้ในอีกกล่อง จากนั้นจะถามเด็กๆ ว่า เมื่อแซลลี่กลับมา เธอจะหาก้อนหินอ่อนที่กล่องใบไหน ใบที่แซลลี่ซ่อนไว้ตั้งแต่แรกหรืออีกใบ (สำหรับงานวิจัยนี้จะเปลี่ยนเป็นเด็กที่ชื่อเอมม่าและแอปเปิ้ลแทนค่ะ)
ทฤษฎีนี้จะใช้เพื่อทดสอบว่าเด็กๆ สามารถเข้าใจในมุมมองของคนอื่นได้หรือไม่ หรือพูดได้ว่าเป็นความสามารถที่จะเข้าใจว่า คนอื่นสามารถเข้าใจผิดได้นั่นเองค่ะ (ในทฤษฎีนี้คือแซลลี่หรือเอมม่าที่ไม่รู้ว่าก้อนหินหรือแอปเปิ้ลถูกเปลี่ยนที่ไปแล้ว) เด็กเล็กๆ ที่ยังไม่เข้าใจจะตอบว่ากล่องใบใหม่ ขณะที่เด็ก 4 ขวบขึ้นไป จะตอบว่ากล่องใบเก่า งานวิจัยนี้นำมาวิจัยเด็กๆ จากเเถบเอเชียเเละประเทศสิงคโปร์โดยเปลี่ยนปัจจัยอื่น เช่น วัตถุเเละของที่ใช้ จากนั้นนักวิจัยได้ทำการวิจัยงโดยเล่าเรื่องราวเเละเเสดงให้ดูต่อหน้าเด็กๆ เลย โดยและทวนความจำของเด็กๆ ด้วย ผลปรากฎว่าอายุของเด็กไม่ได้เป็นตัวกำหนดว่าจะตอบถูกอีกต่อไป เมื่อเด็กอายุ 2 ขวบครึ่งสามารถตอบได้ถูกต้อง
ความสามารถในการแยกแยะนี้จะทำให้เด็กๆ สามารถรับรู้ได้ว่าใครกำลังโกหก โกง หรือแกล้งทำ ดังนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่ประเมินความสามารถของเด็กๆ ต่ำไป คิดว่าลูกไม่เข้าใจในเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนแล้วละก็ ลองเล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย คุณพ่อคุณแม่อาจจะแปลกใจกับคำตอบที่ได้รับ และพบว่าเด็กๆ นั้นมีศักยภาพและองค์ความรู้ความสามารถที่มีประโยชน์ต่อตัวของเด็กๆ มากกว่าที่เคยคิดค่ะ
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
อยากให้ลูกมีทักษะ EF ที่ดี ต้องเลี้ยงให้เป็นเด็ก 2 ภาษา
ของเล่นที่ดีที่สุดของลูก คือพ่อแม่