เพศเรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา คุณพ่อคุณแม่มีวิธีรับมือยังไง!

เมื่อคุณพ่อคุณแม่หนักใจไม่รู้ว่าต้องคุยเรื่องเพศยังไงกับลูกดี มารู้วิธีการรับมือไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพศเรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา คุณพ่อคุณแม่มีวิธีรับมือยังไง! เมื่อคุณพ่อคุณแม่หนักใจไม่รู้ว่าต้องคุยเรื่องเพศยังไงกับลูกดี เพื่อที่เขาจะได้เข้าใจ เชื่อว่าสิ่งนี้อาจกำลังเป็นปัญหาสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายคน เพราะไม่รู้ว่าเราควรเล่าหรืออธิบายยังไงให้เข้าฟังดี และถ้าลูกยังเด็ก เราสามารถอธิบายเรื่องเพศให้เขาฟังได้ไหม เอาเป็นว่าไม่ต้องเป็นกังวลใจไปเพราะวันนี้ theAsianparent จะพาคุณพ่อคุณแม่ทุกคนมารู้จักวิธีการรับมือกับคำถามต่าง ๆ ของลูกไปพร้อมๆ กันกับคุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาสมองและการเรียนรู้ของเด็กให้ได้รู้กัน บอกเลยว่าใครที่ได้เข้ามาฟังเป็นต้องคลายข้อสงสัยและรู้วิธีการรับมือกับลูกเกี่ยวกับเรื่อง เพศเรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา กันอย่างแน่นอน

 

(รูปจาก freepik.com)

 

เด็กสามารถรับรู้เรื่องเพศของตัวเองได้ในช่วงอายุเท่าไหร่?

คุณหมอ : จริง ๆ แล้วเด็กจะรู้เพศของตัวเองได้ประมาณช่วงอายุ 3 ขวบ บางคนก็จะประมาณ 2-3 ขวบ โดยการอธิบายของเรา เราอาจจะทำให้เขารู้ว่า อ่อ! ผู้หญิงก็จะผมยาวใส่กระโปรงนะ ส่วนผู้ชายก็จะผมสั้นใส่กางเกงนะ เพราะเด็กก็จะรู้ได้แค่คร่าว ๆ เป็นรูปธรรมเท่านั้น แต่ว่าเขาจะยังไม่เข้าใจเพศในรูปแบบ LGBTQ หรือถ้าเขาเห็นคนผมเกรียนใส่กระโปรง เขาก็อาจจะยังไม่เข้าใจ หรืออาจจะถามคุณแม่ว่านั้นคืออะไรประมาณนี้ค่ะ ซึ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่คนไหนกำลังเจอคำถามเหล่านี้อยู่เราก็อาจะอธิบายให้เขาเข้าใจได้คร่าวๆ ว่านี่คือหญิง นี่คือชายนะ

นอกจากเรื่องของเพศแล้ว เด็กก็จะเกิดการเลียนแบบตามเพศของเขา ยกตัวอย่างคุณพ่อ เขาก็จะเลียนแบบคุณพ่อหรือเลียนแบบผู้ชายรอบๆ ตัวเขา หรือถ้าเป็นผู้หญิงเขาก็จะเลียนแบบคุณแม่ หรือเลียนแบบผู้หญิงที่อยู่ใกล้ตัวเขา เพื่อที่เขาจะได้มีต้นแบบในการพัฒนาบุคลิกภาพของตัวเองอะไรประมาณนี้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจ : เลี้ยงลูกขวบปีแรกจะผ่านไปอย่างเร็ว 6 สิ่งที่พ่อแม่ควรทำก่อน ลูกอายุ 1 ขวบ

 

กรณีที่ครอบครัวครัวขาดต้นแบบการเป็นเพศชาย เพศหญิง ยกตัวอย่างเช่น เป็นคุณพ่อหรือคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือครอบครัวที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเพศหญิงหรือเพศชายเป็นส่วนมาก สิ่งนี้เป็นเรื่องที่ควรกังวลไหม? แล้วเราควรมีวิธีบอกลูกยังไงคะ?

คุณหมอ : ในกรณีที่คุณพ่อเลี้ยงเดี่ยวเลี้ยงลูกสาว หรือคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวเลี้ยงลูกชาย ถ้ายกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด หมอขอยกตัวอย่างเป็น คุณแม่แพทณปภาค่ะ ครอบครัวนี้จะเป็นครอบครัวที่มีผู้หญิงซะส่วนใหญ่ แต่ว่าเลี้ยงลูกผู้ชาย ซึ่งเอาจริงๆ แล้วเด็กเขาก็จะมีอินเนอร์ของตัวเองอยู่แล้ว เขาไม่จำเป็นต้องลอกเลียนแบบแม่ของตัวเองมาทั้งหมด แต่เราก็สามารถที่จะสอนให้เขารู้เพศของตัวเองได้ โดยเราสามารถสอนเขาได้ เช่น ในทีวีมีพระเอก ในนิทานมีเจ้าชาย หรือว่าข้างบ้านมีคุณลุง อะไรประมาณนี้เป็นต้น เราสามารถที่จะสอนต้นแบบให้เด็กได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเราเองเสมอไป เพราะฉะนั้นใครที่เป็นคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวไม่จำเป็นต้องกังวลใจไปเลยค่ะ เพราะเราสามารถที่จะหาต้นแบบให้กับเขาได้

 

ในกรณีที่เราอยากจะสอนเรื่องเพศให้กับลูก คุณพ่อควรจะสอนเรื่องเพศอย่างไรให้กับลูกสาว หรือคุณแม่จะสอนลูกชายในเรื่องเพศแบบไหนดีคะ?

คุณหมอ : เป็นคำถามที่หลายคนถามมาเยอะมาก ๆ เลยค่ะ ซึ่งคำถามแบบนี้เป็นคำถามที่ดีมากเลยนะคะ ก่อนอื่นคุณหมอจะไม่ขอแบ่งแยกเพศ เพราะอย่างคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวเราก็ต้องทำหน้าที่พ่อได้ หรือว่าถ้าเป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยวเราก็จะสามารถทำหน้าที่แม่ได้เหมือนกัน แต่โดยคร่าว ๆ เราควรให้เด็กเข้าใจเรื่องเพศแบบสั้น ๆ ง่าย ๆ ก็พอแล้วค่ะ อย่างคำถามที่เจอบ่อย ๆ จากลูก เช่น คุณแม่คะเด็กเกิดมายังไงคะ เชื่อว่าเด็ก ๆ หลายคนก็มักจะถามแบบนี้เหมือนกัน อย่างตัวเล็กที่บ้านก็อายุประมาณ 3 ขวบ เขาก็จะถามคำถามแบบนี้เหมือนกันว่าเด็กเกิดมาได้ยังไง? หมอก็จะตอบแค่ว่าเกิดมาจากอสุจิผสมกับไข่ แล้วหนูก็ไปโตในท้องแม่ประมาณนี้ค่ะ  เพราะฉะนั้นการที่เราจะสอนเรื่องเพศให้กับลูก เราก็อาจจะสอนแค่สั้น ๆ ตามความเข้าใจในแต่ละวัย รวมถึงสอนให้ลูกรู้จักอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของเขาตามไปด้วย และนอกจากนี้เราก็อาจจะต้องบอกเขาด้วยว่าอวัยวะส่วนนี้ห้ามใครมาจับนะ ยกเว้นแม่ หรือคนในครอบครัวเป็นต้น และถ้าใครมาจับหนูต้องบอกแม่นะ ก็คือเหมือนเราสอนให้เขารู้จักอวัยวะ สอนให้เขารู้จักสิทธิและหน้าที่ของตัวเองร่วมด้วยค่ะ เพราะฉะนั้นเรื่องเพศสอนได้ตั้งแต่เด็ก ๆ นะคะ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลใจไปค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ถ้าลูกชาย 2 ขวบ ชอบเล่นแต่งหน้า ชอบแอบหยิบเครื่องสำอางของคุณแม่มาเล่นเป็นประจำ บางครั้งก็เอารองเท้าส้นสูงของคุณแม่มาใส่  ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจอย่างไรดีคะ?

คุณหมอ : อันดับแรกต้องบอกคุณแม่ทุกคนก่อนว่า ไม่ต้องกลัวว่าลูกของเราจะเป็นตุ๊ดนะคะ เพราะสิ่งที่เราเห็นมันเป็นแค่พฤติกรรมการเลียนแบบเฉย ๆ เด็กส่วนใหญ่เมื่อเห็นคุณแม่ทำอะไร เขาก็อยากที่จะลองทำตามบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ที่เป็นแบบนี้นั้นแปลว่าคุณแม่กับลูกมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ลูกก็เลยมีการเลียนแบบจากคนใกล้ชิดหรือคนที่เขารักนั่นเอง เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ไม่ได้บ่งบอกว่าลูกจะเป็นตุ๊ดนะคะ และถ้าคุณแม่ที่กำลังเจอกับเหตุการณ์เหล่านี้อยู่ เราก็แค่อธิบายให้ลูกฟังว่าคุณแม่เป็นผู้หญิง คุณแม่ก็จะต้องแต่งหน้าไปทำงาน หรือที่คุณแม่ใส่ส้นสูงเพราะคุณแม่เป็นผู้หญิงตัวเล็ก ก็เลยต้องใส่รองเท้าส้นสูงไปทำงาน อาจจะให้เขาดูคุณพ่อเป็นตัวอย่างเพราะเป็นผู้ชายเหมือนกันประมาณนี้ค่ะ

หมอยกตัวอย่างเช่น คุณกระแต อาร์สยาม เขาเป็นเด็กที่โตมาจากค่ายมวย เขาก็จะต่อยมวยในช่วงที่เขาเป็นเด็ก หรือมีคนสอนต่อยมวยตั้งแต่เด็ก แต่พอโตมาเขาก็ไม่ได้เป็นทอม หรือไม่ได้เป็น LGBTQ แล้วก็ชอบผู้ชายเหมือนผู้หญิงทั่วไป เพราะฉะนั้นเด็กผู้หญิงที่ชอบต่อยมวย หรือเด็กผู้ชายที่ชอบเล่นตุ๊กตา แต่งหน้า หรือใส่รองเท้าส้นสูงก็ไม่ได้จำเป็นว่าเขาจะเป็น LGBTQ เสมอไปนะคะ แค่เด็กเขามีการเลียนแบบ หรือว่าอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ แค่นั้นเองค่ะ

บทความที่น่าสนใจ : 5 เหตุผลที่ทำให้แม่ชาวดัตช์เลี้ยงลูกอย่างมีความสุขที่สุดในโลก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกสาว 3 ขวบ ชอบพูดครับตามพี่ชาย ไม่ชอบใส่กระโปรง แต่ชอบใส่เสื้อผ้าตามพี่หมดทุกอย่าง แม่ควรปล่อยไปก่อน หรือว่าค่อยๆ ปรับดีคะ?

คุณหมอ : ปล่อยไปได้เลยค่ะ เพราะการที่น้องสาวเลียนแบบพี่ชายแสดงว่าน้องสาวรักพี่ชายมาก และนั่นก็แสดงว่าพี่ชายก็ต้องดูแลน้องสาวได้ดีเหมือนกัน และถ้าเป็นแบบนี้คุณแม่ก็อาจจะปล่อยให้เขาเล่นกันแบบพี่น้องได้เลย อาจจะไม่ต้องไปบังคับลูก แล้วพอเดี๋ยวเขาโตขึ้น เขาก็จะค่อย ๆ เรียนรู้ว่าเขาจะต้องใส่กางเกงเหมือนพี่ หรือว่าชอบใส่กระโปรงเหมือนแม่ค่ะ

 

ลูกสาว 4 ขวบ ไปโรงเรียนแล้วกลับบ้านมาถามคุณแม่ว่า ทำไมอวัยวะเพศถึงไม่เหมือนกับของตัวเอง ไม่รู้จะตอบรู้ยังไงดีเลย คุณหมอมีวิธีแนะนำไหมคะ?

คุณหมอ : เหมือนเดิมเลยค่ะ เราอาจจะต้องตอบลูกสั้น ๆ ง่าย ๆ ให้ลูกเข้าใจอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย พร้อมอธิบายว่าเราเป็นผู้หญิง อวัยวะเลยจะต่างกันจากผู้ชาย ประมาณนี้ค่ะ โดยคุณแม่อาจจะไม่ต้องกังวลว่าจะต้องอธิบายลึกซึ้งขนาดนั้นไหม เราไม่ต้องอธิบายลึกซึ้ง หรืออธิบายถึงวิธีการทำงานอะไรมากมายขนาดนั้น แค่อธิบายสั้น ๆ ให้ลูกเข้าใจก็พอค่ะ แต่เราไม่ควรที่จะหลีกเลี่ยงเมื่อลูกถาม เพราะอาจทำให้เด็กเกิดความฝั่งใจเอาได้ เราไม่จำเป็นที่จะต้องโกหกเด็ก เพราะมันจะมีผลถึงการรับรู้ความจริง ความคิด ความฉลาดอะไรต่าง ๆ ตามมาอีกด้วยค่ะ และถ้าเราพูดความจริง เขาก็จะได้รับรู้ถึงสิ่งที่เขาเห็นและเกิดขึ้นได้จริง รวมถึงนำความรู้ไปต่อยอดได้ค่ะ

บทความที่น่าสนใจ : เคล็ดลับรับมือวันแรกที่ลูกไปโรงเรียน

 

ลูกชาย 5 ขวบ ชอบจับอวัยวะเพศของตัวเอง ดุแล้วก็ยังทำอีก ต้องทำอย่างไรลูกถึงจะหยุดพฤติกรรมเหล่านี้ได้?

คุณหมอ : จริง ๆ แล้วเด็กในช่วง 3 – 5 ปี จะเป็นช่วงที่เด็กเกิดการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น เรื่องของอวัยวะเพศก็เหมือนกัน เหตุการณ์แบบนี้ถือได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ลูกอาจจะค้นพบอวัยวะของเขาเฉย ๆ ไม่เกี่ยวกับการบ้ากาม หื่นกาม ถ้าเขาโตขึ้นจะเป็นลามกไหม หรือลูกตั้งใจช่วยตัวเองหรือเปล่า อันนี้คือไม่เกี่ยวกันเลยค่ะ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไป และถ้าลูกมีพฤติกรรมเหล่านี้เราก็แค่เบี่ยงเบนความสนใจให้เขาไปเล่นอย่างอื่นแทน เช่น สมมุติว่าลูกกำลังเล่นอวัยวะเพศของตัวเองอยู่ เราก็อาจจะพาเขาไปเล่นทราย ไปปั้นดินน้ำมัน ระบายสี หรือเตะฟุตบอลอะไรอย่างนี้ก็ได้ กรณีเด็กผู้หญิงเราก็อาจจะสอนเขาว่าอย่าให้ใครมาจับนะ แต่ถ้าใครมาจับให้บอกแม่ บอกยาย บอกพ่อนะ แล้วเราก็อาจจะพาเขาไปเล่นอย่างอื่นแทน โดยที่คุณแม่ไม่ต้องเศร้า หรือไม่ต้องห้ามอะไรขนาดนั้น เพราะเมื่อไหร่ที่เราไปห้ามเด็ก สิ่งนี้ก็อาจจะเป็นเหมือนการไปยุให้เขาทำมากกว่า เราจึงควรเบี่ยงเบนความสนใจให้ลูกไปเล่นอย่างอื่นแทน เพราะเด็กมักจะลืมง่าย หรือถ้าเจออะไรที่มันสนุกกว่า เขาก็จะลืมเรื่องนี้ไปเลยค่ะ

 

(รูปจาก freepik.com)

 

ก่อนที่จะจากกันไปในวันนี้หมอขอสรุปสั้นกับคำที่ว่า “เพศเรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา” ซึ่งต้องบอกคุณแม่ก่อนค่ะว่า เด็กในช่วงอายุ 3 ขวบ เป็นช่วงวัยที่กำลังเรียนรู้ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องสอนลูกตามความเป็นจริง สามารถที่จะสอนให้เขารู้เรื่องเพศแบบสั้นๆ ได้เลย ในแบบที่ให้เข้าใจง่าย ๆ ไม่ต้องคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ลามกหรืออะไร เพราะถ้าเราไม่กล้าคุยกับลูก เมื่อเขาโตขึ้นเชื่อเลยว่าเด็กเขาก็จะไม่กล้าเล่าให้เราฟัง และไม่กล้าที่จะถามเราเหมือนกัน และนี่เองจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงต้องสอนเรื่องเพศให้กับลูกตั้งแต่เด็ก ๆ และอย่างไรก็ตามถ้าลูกของเราเป็น LGBTQ จริง ๆ หมอก็อยากจะให้คุณพ่อคุณแม่สนับสนุนลูกในความเป็นตัวของตัวเขาเองนะคะ เพราะหมอเชื่อว่ามันเป็นการพัฒนาศักยภาพของเด็กได้ดีที่สุด แค่คุณพ่อคุณแม่ยอมรับในสิ่งที่เขาเป็นค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความที่น่าสนใจ : “เพื่อนต่างเพศ” ของลูกคืออะไร และอธิบายคำว่า แฟนกับลูกวัยอนุบาลอย่างไรดี

ควรรู้! ครอบครัวเพศเดียวกัน เป็นครอบครัวที่อบอุ่นได้ ไม่เกี่ยวกับเพศ

 

ที่มา : คุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ

เจ้าของเพจ เรื่องเด็กๆ by หมอแอม

 

บทความโดย

Tidaluk Sripuga