Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
เคล็ดลับบีบหรือปั๊มน้ำนม สำหรับคุณแม่ที่ทำงานนอกบ้าน
คำแนะนำจากมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
ระยะลาคลอด
- ให้ลูกดูดนมจากเต้านมแม่อย่างเดียวสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม
- หลัง 1 – 2 เดือน เมื่อมีน้ำนมมากพอ ให้เริ่มบีบหรือปั๊มเก็บน้ำนม
- ฝึกคนเลี้ยงให้มีวามชำนาญในการป้อนนมด้วยถ้วย
- หากคนเลี้ยงไม่สามารถป้อนนมด้วยถ้วยได้ จะเลือกป้อนจากขวดควรเริ่มหลัง 1 – 2 เดือน เมื่อลูกดูดนมแม่ได้ดีแล้ว
- 1 – 2 สัปดาห์ก่อนกลับไปทำงาน ฝึกให้คนเลี้ยงคุ้นเคยกับลูก และเริ่มป้อนนมบีบให้ลูก
5 เทคนิคการบีบหรือปั๊มนมเก็บ
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
#1 ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มอุ่น ๆ ก่อนบีบหรือปั๊มนมเก็บ
#2 ล้างมือให้สะอาด
#3 หามุมสงบเพื่อช่วยให้ผ่อนคลาย
#4 รวดเต้านมเป็นวงกลมจากฐานเต้านมเข้าหาหัวนม อาจประคบเต้านมด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นจัด 1 – 3 นาที จะทำให้น้ำนมไหลดีขึ้น
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
#5 กระตุ้นหัวนมด้วยการใช้นิ้วดึงหรือคลึงเบา ๆ พร้อมกับนึกถึงลูก
ทำไมแม่ที่ให้ลูกดูดเต้าถึงปั๊มนมได้น้อย
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ทำไมแม่ที่ให้ลูกดูดเต้าถึงปั๊มนมได้น้อย : คุณแม่ที่ให้ลูกดูดเต้าตั้งแต่แรกคลอด โดยที่ไม่ได้มีการปั๊มนมเลย หรือบางคนก็อาจจะปั๊มน้อย ไม่สม่ำเสมอ พอถึงเวลาที่ต้องเตรียมตัวไปทำงาน และเริ่มปั๊มนมอย่างจริงจัง ส่วนมากก็อาจจะปั๊มได้ประมาณ 1 – 2 จึงเกิดความวิตกกังวลว่า ทำไมเราปั๊มนมได้น้อย เป็นเพราะเครื่องปั๊มไม่ดี หรือว่าเรามีนมไม่พอกันแน่
ในขณะที่คุณแม่ที่ ปั๊มนม อย่างเดียว โดยไม่ให้ลูกดูด ก็อาจจะดูเป็นเรื่องปกติที่คุณแม่นักปั๊มจะสามารถปั๊มนมได้ถึงวันละ 40 – 60 ออนซ์ ในขณะที่ลูกต้องการน้ำนมจริงๆ เพียงวันละ 24 – 30 ออนซ์ ทำให้คุณแม่กลุ่มนี้มีน้ำนมเต็มตู้ และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนไม่มีที่เก็บ เพราะลูกกินไม่ทัน
ซึ่งสาเหตุนั่นก็เป็นเพราะ คุณแม่ที่ปั๊มนมอย่างเดียวนั้น ร่างกายจะผลิตน้ำนมตอบสนองกับปริมาณน้ำนม ที่ระบายออกไปจากการปั๊มของเครื่อง ยิ่งปั๊มมาก น้ำนมจะยิ่งมาก ยิ่งปั๊มบ่อย น้ำนมจะยิ่งเยอะนั่นเอง
ย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำนม ที่ได้ 1 – 2 ออนซ์ของคุณแม่ที่เพิ่งจะเริ่มปั๊มนั้น ถือเป็นเรื่องปกตินะครับ เพราะที่ผ่าน มาร่างกายของคุณแม่มีการการผลิตน้ำนมตามที่ให้ลูกไป ถ้าลูกดูดไปแค่ไหน ร่างกายก็ผลิตแค่นั้น ซึ่งก็เป็นปริมาณที่เพียงพอสำหรับลูก ไม่ได้น้อยกว่าที่ลูกต้องการ แต่ก็อาจจะน้อยกว่าคุณแม่ที่เริ่มปั๊มนมตั้งแต่แรก ด้วยเหตุผลที่ได้อธิบายไปตอนต้นนั่นเองครับ
ขอบคุณ Infographic จากมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
ให้ลูกดูดเต้า แต่ต้องการน้ำนมเพิ่ม
สำหรับคุณแม่ที่ให้ลูก ดูดเต้า แล้วต้องการเพิ่มปริมาณน้ำนม ก็สามารถทำได้ด้วยการเพิ่มการปั๊มให้มากขึ้น แต่ถ้าลูกติดเต้ามาก จนไม่มีเวลาปั๊ม ก็ให้ปั๊มพร้อมกับที่ลูกดูดเลยก็ได้นะครับ คือให้ลูกดูดข้างนึง อีกข้างปั๊มไปพร้อม ๆ กัน โดยปั๊มประมาณ 15 นาที แล้วให้เก็บน้ำนมที่ปั๊มได้ไว้เป็นสต็อค จากนั้นจึงให้ลูกมาดูดข้างที่เพิ่งปั๊มไป
และสำหรับในครั้งถัดไปก็ให้ทำสลับกัน คือข้างที่ดูดจากครั้งที่แล้วให้เปลี่ยนเป็นปั๊ม ข้างที่ปั๊มให้เปลี่ยนเป็นดูด และในระหว่างวัน หลังจากลูกดูด 1 ชม. ถ้ามีจังหวะที่ลูกหลับแล้วไม่ได้ดูดนม ก็ให้ปั๊มพร้อมกันสองข้างประมาณ 10 นาที ไม่ต้องกลัวนมหมดนะครับ ถ้าลูกตื่นก็ให้ดูดต่อได้เลยครับ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และในเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
10 อาหารแม่หลังคลอด อาหารแม่ลูกอ่อน อาหารเรียกน้ำนม อาหารของคุณแม่
สิ่งที่แม่ท้องควรรู้ เกี่ยวกับโควิด-19 แม่เป็นลูกจะติดมั้ย ไวรัสติดผ่าน น้ำนมได้มั้ย
กระบวนการสร้าง น้ำนมแบบ อะโพไครน์ มีประโยชน์อย่างไร ทำไมถึงดี ต่อร่างกายลูกรัก?
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!