ใครเคยเป็น สิวที่หู กันบ้างคะ ? เจ็บและทรมาน แถมยากที่จะกำจัดสิวออกไป ว่าแต่สิวในหูเกิดจากอะไร ทำไมถึงเกิดสิวในใบหูได้ เป็นแล้วจะอันตรายหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบ !
สิวที่หู เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
บริเวณหูชั้นในและชั้นนอก มีทั้งเซลล์ผิวหนัง และเส้นขน มีต่อมผลิตน้ำมัน ซึ่งหูก็เป็นอีกส่วนของร่างกายที่สามารถเกิดสิวได้เช่นกัน สิวจะเกิดจากรูขุมขนอุดตันและน้ำมันที่ช่วยปกป้องผิวมาผสมกับเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดสิวบริเวณหูของเรา และอาจจะเกิดได้หลายปัจจัย ดังนี้
- ใช้หูฟังร่วมกับคนอื่น ไม่ทำความสะอาดหูฟังปล่อยให้สกปรก ทำให้มีเชื้อโรคสะสมอยู่มาก
- ใช้สิ่งของที่ไม่สะอาด แคะหู หรือ แหย่หู
- สัมผัสกับน้ำที่ไม่สะอาด
- มีความเครียดสะสมมากเกินไป
- ความสมดุลในร่างกาย
- เจาะหูโดยใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาด
- สวมหมวก หรือหมวกนิรภัย เป็นเวลานาน
- แพ้ยาสระผม หรือผลิตภัณฑ์ความงาม
บทความที่เกี่ยวข้อง : สิวที่แก้ม ปัญหากวนใจสาว ๆ เกิดจากอะไร รักษายังไงให้หาย
สิวที่หูบอกโรคได้จริงหรือ ?
แน่นอนว่า สิวที่ขึ้นตามร่างกายนั้น สามารถบ่งบอกโรคหรือความผิดปกติของร่างกายได้ และในตำแหน่งหู หรือใบหูนั้น อาจเป็นสัญญาณเบื้องต้นของการเป็นโรคไต เนื่องจากในเลือดมีสารพิษสะสมอยู่มาก ทำให้น้ำเหลืองบริเวณหูขับออกมามาก ทำให้เกิดสิว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เป็นแค่ข้อสันนิษฐาน หากลองทำความสะอาดและรักษาด้วยตัวเองแล้วยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์
ทำอย่างไรเมื่อเกิดสิวที่หู
หากเกิดสิวที่หู และมีอาการเจ็บปวดมาก ก็ควรปล่อยให้หายเอง หลีกเลี่ยงการแคะ แกะ เนื่องจากอาจทำให้สิวที่หูอักเสบมากกว่าเดิม นอกจากนี้สิวอาจจะแตกในหู และทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในหนอง ถูกเข้าไปในหูชั้นใน ส่งผลทำให้หูอักเสบ และติดเชื้อได้ หากต้องการกดสิวที่หู ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อให้แพทย์ทำการรักษาให้จะดีกว่า
บทความที่เกี่ยวข้อง : การรักษาสิว เป็นยังไง ไปหาหมอดีมั้ย หรือซื้อยาทาเอง !?
วิธีการรักษาสิวที่หูด้วยตัวเอง
-
ใช้แผ่นประคบร้อน
การประคบร้อนจะช่วยลดการอักเสบ การระคายเคือง และเปิดรูขุมขน ทำให้สิวแตกได้ง่าย แต่ในกรณีนี้ควรทำความสะอาดสิวที่หูให้สะอาดก่อน เมื่อสิวแตกแล้วควรเช็ดทำความสะอาดอีกครั้งด้วยแอลกอฮอล์
-
เรติโนอิด
เป็นสารอาหารที่อยู่ในวิตามินเอ ซึ่งจะช่วยผลัดเซลล์ผิวที่อยู่รอบ ๆ บริเวณสิว แต่เรติโนอิด อาจจะส่งผลทำให้ผิวหนังลอกได้ และมีความไวต่อแสงแดด หากใครใช้ควรทาครีมกันแดดสม่ำเสมอ
-
ยาปฏิชีวนะ
คุณสามารถเข้าพบแพทย์ เพื่อปรึกษาปัญหาด้านผิวหนัง เพื่อให้แพทย์สั่งยาที่ใช้ทาลงบนผิวหนังได้ เพื่อช่วยให้คุณสบายใจ และแก้ไขปัญหาสิวได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
-
รักษาความสะอาด
ควรทำความสะอาดหูทุกครั้งที่อาบน้ำ ใช้สบู่ทำความสะอาด และล้างน้ำ เช็ดใบหูให้สะอาด และควรทำอย่าเบามือ
-
อย่าจับหูบ่อย
หากรู้ว่าเป็นสิวที่หู วิธีที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นสิว เนื่องจากการจับหรือสัมผัสสิวบ่อย ๆ อาจส่งผลทำให้สิวบริเวณนั้นอักเสบมากกว่าเดิม
-
กินผลไม้ฤทธิ์เย็น
ผลไม้กลุ่มนี้จะช่วยดับร้อนในร่างกาย ผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็นมีน้ำเยอะ ๆ หวานน้อย เช่น แตงโม มังคุด ส้มโอ แก้วมังกร กระท้อน ผลไม้กลุ่มนี้จะช่วยให้ดับร้อนในร่างกาย ไม่เป็นตัวกระตุ้นสิว
-
ดื่มน้ำสมุนไพร
ผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น ไม่ว่าจะเป็นน้ำเก๊กฮวย น้ำรางจืด น้ำใบย่านาง ต้มดื่มแบบไม่ใส่น้ำตาล จะช่วยให้ร่างกายเย็นสบาย ไม่กระตุ้นความร้อนทำให้เกิดสิว
-
อย่าคุยโทรศัพท์นาน
การคุยโทรศัพท์นาน อาจส่งผลให้ความร้อนและคลื่นโทรศัพท์เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสิวที่หูได้ เวลาคุยโทรศัพท์นาน ๆ อาจจะใส่ บลูทูธช่วย แต่ก็จะต้องทำความสะอาดอุปกรณ์เสริมเหล่านี้เช่นกัน เพราะหากอุปกรณ์สกปรกก็ทำให้เกิดสิวที่หูได้เช่นกัน
-
อย่าไปสนใจ
ปล่อยไว้เดี๋ยวสิวที่หูก็จะหายเอง อย่าไปสนใจหรือใส่ใจมากจนเกินไป เมื่อเราไม่ไปแคะ แกะ สิวก็จะไม่เกิดการอักเสบ และหายไปได้เองโดยที่เราไม่ต้องบีบออก
-
ฉีดสิว
การฉีดสิวที่หู สามารถฉีดได้ถ้าจำเป็น ในกรณีที่สิวมีขนาดใหญ่ และไม่สามารถบีบออกได้ ก็อาจเข้าพบแพทย์ผิวหนัง เพื่อให้คุณหมอฉีดยารักษาเพื่อให้สิวยุบตัวลง แต่ไม่แนะนำให้ฉีดบ่อย เนื่องจากจะยิ่งทำให้สิวที่เป็นอยู่ไม่หายขาด และอาจจะเกิดการดื้อยาได้
-
ผ่าสิว
สิวที่หูสามารถผ่าได้ แต่เป็นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น เช่น ในกรณีที่เป็นสิวที่หู และอาจทำให้เกิดฝีในอนาคต หรือกลายเป็นฝีไม่ใช่สิวแบบเดิม ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้หมอผ่าสิวออก หากปล่อยไว้นาน สิวพวกนี้อาจลุกลามมากกว่าเดิม และส่งผลทำให้เกิดปัญหาต่อการได้ยินของเราได้
ป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดสิวที่หู
สิวในหู สามารถป้องกันได้ เพียงแต่ต้องรักษาสุขอนามัยต่อช่องหูที่ดี รักษาความสะอาด ดังนี้
- เลี่ยงการว่ายน้ำในสระน้ำ ที่มีน้ำสกปรก
- ล้างและทำความสะอาดหูเป็นประจำ เพื่อลดเซลล์ผิวที่ตายแล้วและลดความมัน
- ไม่ควรใส่หมวกนิรภัยหรือหมวกเป็นเวลานาน หากจำเป็นควรหาเวลาพักถอดเพื่อให้อากาศถ่ายเท
- หากรักษาด้วยตัวเองแล้วไม่หายดี ควรเข้าปรึกษาแพทย์ผิวหน้า ในการตัดสินใจและเลือกวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด เนื่องจากแพทย์จะสามารถระบุชนิดของสิว และระดับของสิวที่เป็นอยู่ได้ เพื่อให้ยาป้องกันไม่ให้เกิดสิวลุกลามได้
บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ :
สาเหตุของการเกิด สิวที่หน้าผาก พร้อมวิธีการดูแลรักษา ให้หน้าสวยไร้สิว
มะนาวรักษาสิว วัตถุดิบพื้นบ้าน ที่ไม่ได้มีดีแค่ความเปรี้ยว
มังคุดรักษาสิว ประโยชน์ของมังคุด ราชีนีผลไม้ช่วยให้ผิวสวยได้
ที่มา :thaijobsgov