หลายครั้งที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่นั้นมักจะเป็นกังวล คือการที่ลูกจะกินอิ่มหรือไม่ น้ำนมที่ให้ไป เพียงพอหรือเปล่า อาการแบบนี้หมายถึงหิวใช่หรือไม่ และทุกครั้งที่ลูกเริ่มร้อง เริ่มขยับตัว สิ่งที่แรกที่มักจะทำคือการให้ลูกกินนม แต่คุณรู้หรือไม่ว่า การที่ ลูกกินนมแม่มากเกินไป (over feeding) ก็มีโทษได้เหมือนกัน ส่วนจะมีโทษอย่างไรบ้างนั้น มาตามอ่านกันดีกว่าค่ะ
ลูกกินนมแม่มากเกินไป เกิดโทษได้เช่นกัน
แม้ว่าการกินนมแม่ จะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับเด็ก แต่หากให้เด็กกินมากจนเกินไป ก็จะส่งผลไม่ดีให้กับตัวเด็กได้เช่นกัน การที่กินนมแม่มากนั้น เบื้องต้นอาจจะทำให้ลูกมีน้ำหนักตัวที่เกินกว่าเกณฑ์ไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้ส่งผลเสียในระยะยาว เพราะยังไงซะ นมแม่ ก็มีประโยชน์ กับการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเด็ก และการที่เด็กอ้วนด้วยนมแม่นั้น จะไม่ต่อเนื่องไปจนโต
แต่การกินนมมากจนเกินไปนั้น จะเป็นเหตุให้เด็กมีอาการ แหวะนม หรืออ้วกนมออกมา อาจจะมีเสียงครืดคราดในลำคอ มีอาการอึดอัดจนต้องบิดลำตัวไปมา นั่นเป็นเพราะนมล้นจากกระเพาะ จนไหลย้อนมาที่ทางเดินอาหาร
หลังจากเด็กมีอาการอ้วกแล้ว จะทำให้กรดในกระเพาะของเด็กไหลย้อนขึ้นมา ซึ่งจะเป็นลักษณะเดียวกับอาการกรดไหลย้อนในคนโต แต่เนื่องจากอวัยวะของเด็ก มีความบอบบางมากกว่า ดังนั้น อันตรายจึงมีมากเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
ทั้งนี้สาเหตุหลัก มาจากระบบการย่อยของเด็กเล็กนั้น ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ทำให้ตัวผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล จำเป็นจะต้องกำหนด ปริมาณน้ำนมให้กับลูก ตามความเหมาะสม
บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กจะเริ่มกินนมกล่องได้เมื่อไหร่ ? ตอบคำถามที่คุณแม่หลายคนอยากรู้
เด็กเล็กอ้วกบ่อย คือปัญหาใหญ่
หากเด็กมีอาการอ้วกบ่อยกรดน้ำย่อยในกระเพาะจะกัดหลอดลม หลอดอาหารจนเป็นแผล ทำให้ลูกไม่สบายตัว ร้องไห้โยเยตลอดเวลา แต่หากให้ลูกกินนมผง โทษของการให้ลูกกินนมมากเกินไป จะไม่ได้มีแค่การแสบร้อนจากกรดไหลย้อน แต่จะทำให้ลูกกลายเป็นโรคอ้วนไปจนโตได้ด้วยเช่นกัน
อีกอาการหนึ่งที่เด็กที่กินนมมากเกินไปเป็นบ่อย คือการกินเยอะเกินไปจนท้องกาง อิ่มเกินไปทำให้ปวดท้อง หากทิ้งไว้นานจะทำให้ เกิดการกินมากสะสม ทำให้ลำไส้มีการทำงานหนักมากเกินไป จนไม่สามารถย่อยนมแม่ได้ ทำให้ร่างกายไม่อาจจะดูดซึมสารอาหาร ไปเลี้ยงร่างกายได้ ทำให้อาเจียนหนักจนน่ากลัว จนอาจจำเป็นจะต้องพาไปพบแพทย์โดยทันที
หากคุณพ่อคุณแม่ ใช้วิธีให้ตอบสนองการร้องไห้ของลูก ด้วยการให้กินทุกครั้ง เมื่อโตขึ้นอาจทำให้ลูกเข้าใจว่า ปัญหาทุกอย่างแก้ไขด้วยการกิน เครียดก็กิน เศร้าก็กิน เหงาก็กิน อิ่มหรือยังไม่รู้ รู้แต่ว่าต้องฟาดให้เรียบ แล้วปัญหาทุกอย่างจะคลี่คลาย จนเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วนได้ในที่สุด
บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 อาหารเรียกน้ำนม อาหารบำรุงน้ำนมแม่ แม่หลังคลอดกินแล้วน้ำนมพุ่งปรี๊ด
ทำอย่างไรไม่ให้ลูกกินนมมากเกินไป
- การให้ลูกดูดนมจากเต้า จะทำให้ลูกต้องใช้แรงดูด แรงกระตุ้น เพื่อที่จะได้รับน้ำนม และเขาจะคลายปากเมื่อเกิดอาการอิ่มแล้ว ซึ่งจะต่างจากการดูดจากขวดนม ที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้แรง ก็มีน้ำนมให้ดูดได้อยู่ตลอดเวลา
- หากให้น้ำนมลูกทางขวดนม ควรจะต้องกะปริมาณให้เหมาะสมในแต่ละมื้อ โดยปริมาณน้ำนม จะต้องสัมผัสกับอายุของเด็ก และน้ำหนักตัว
- ให้ใช้การประเมินจากอึ และฉี่ของลูก คือ อึ วันละ 2 ครั้ง ฉี่ วันละ 6 ครั้ง ถือว่าได้น้ำนมเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายของเด็กแล้ว
- เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกกินนมแม่มากจนเกินไป ควรปั๊มนมออกก่อน แล้วค่อยนำลูกเข้าเต้า และกะเวลาให้ลูกกินนมประมาณ 20 นาที
- ปริมาณนมที่พอดีกับเด็กคือ ให้กินครั้งละ 4 ออนซ์ หรือดูดจากเต้าแม่ ประมาณ 20 นาที ลูกจะอิ่มไปนาน ประมาณ 4 ชั่วโมง หากให้ลูกกินนม จนท้องกางแล้วยังร้องโยเยเหมือนกินไม่อิ่ม หรือยังไม่ครบ 4 ชั่วโมงก็ร้องหิวอีก ให้แม่เบี่ยงเบนความสนใจ โดยการชวนลูกเล่น หรือจับอุ้มเดินเคลื่อนไหวไป – มาอย่าให้กินนมเพิ่ม
- ใช้จุกนมหลอก เป็นตัวช่วยที่ดี หากลูกขยับปากอยากดูดตลอดเวลา หรือให้ลูกดูดนมเหี่ยว หรือนมที่แม่ปั๊มนมออกไปหมดแล้วให้ลูกดูด เพราะบางครั้งการอยากดูดนมของเด็ก เป็นเพียงแค่ความรู้สึกพอใจ จากการได้รับสัมผัสจากแม่ เพื่อความผ่อนคลายเท่านั้นไม่ได้หิวนมจริง ๆ
- อย่าเข้าใจผิดว่าเด็กอ่อนต้องน้ำหนักขึ้นเดือนละ 1 กิโลกรัม (ซึ่งจริงแล้วถือว่ามากเกินไป) แล้วให้ลูกกินนมเยอะ ๆ จนอึดอัดปวดท้อง ร้องกวนตลอดเวลา
- ลูกกินนมแม่แล้วตื่นบ่อยไม่ผิดปรกติ แต่ถ้าลูกกินนมผงแล้วหลับง่าย หลับบ่อย ถือว่าอันตราย เพราะในนมผงอาจมีสารแปลกปลอม ที่ทำให้เด็กหลับมากเกินไป หากประเมินจากการอึ และฉี่ต่อวัน และเป็นไปตามเกณฑ์ และมีน้ำหนักตัวขึ้นวันละ 20 กรัม แสดงว่าได้รับน้ำนมเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องให้นมผงเสริมอีก
เมื่อลูกมีการร้องกวน จากความเจ็บป่วยไม่สบายตัว ก่อนที่จะพาลูกไปหาหมอ คุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งสติ และตรวจสอบดูก่อนว่า ลูกมีอาการกินนมมากเกินไปรึเปล่า (over feeding) และปรับพฤติกรรมกินให้ถูกต้องเสียแต่เนิน ๆ นะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
รีวิว 6 นมกล่อง ยูเอชที สำหรับเด็ก 1 ขวบ ปี 2022 ยี่ห้อไหน ให้สารอาหารสมองดีที่สุด
สารอาหารในน้ำนมแม่ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 47
ทำไมเด็กไม่ต้องดื่มน้ำ กินนมแม่อย่างเดียวจะเพียงพอสำหรับลูกหรือไม่
ที่มา : 1, breastfeedingthai