ลูกดีดตัวออกจากสังคม มองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ติดอยู่ในใจไปจนถึงโต!!

นอกจากพ่อแม่จะเป็นต้นฉบับที่ลูกจะมองตามได้อย่างชัดเจนที่สุด พ่อแม่ยังเป็นบุคคลที่มีอิทธิต่อลูกมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความภูมิใจในตนเอง ฝึกให้ลูกเป็นคนที่เห็นคุณค่าของตนเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การมองเห็นตัวเองหรือ self esteem นั้นเป็นเรื่องที่พูดกันถึงอย่างเข้มข้นในยุคปัจจุบัน เด็กบางคนมีปัญหาดีดตัวออกจากสังคมเป็นเพราะ มองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง โรคนี้เกิดขึ้นไม่ใช่แค่ระยะเวลาสั้น ๆ แต่มันจะติดอยู่ในใจไปจนถึงโต

ปลดล็อคโรค มองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง สร้างเซลฟ์ให้ลูกมีเซลฟ์เอสตีมได้อย่างไร

การรับรู้ถึงคุณค่าของตัวเองนั้นได้มาจากพัฒนาการ 2 ส่วนใหญ่ๆ ทางหนึ่งมาจากคำชมเชย พ่อแม่กล่าวชมเชยเมื่อลูกมีความพยายามที่จะตั้งใจทำสิ่งนั้นจนสำเร็จ หรือมีคนมาบอกกล่าวความดีผลสำเร็จ กับอีกทางคือการประเมินตัวเองว่าเป็นคนอย่างไร เด็กได้รับการฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้ ถ้าผลลัพธ์ต่อตัวเองออกมาทางบวก ลูกก็จะมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเอง มีความเคารพและมองเห็นคุณค่าของตัวเอง เกิดความภาคภูมิใจและมั่นใจ แต่ถ้าความรู้สึกเป็นไปในทางลบ ก็จะทำให้รู้สึกได้ว่าตัวเองจะไม่เป็นที่รักของพ่อแม่ ไม่เก่ง ไม่มีคุณค่า แย่มากในสายตาคนอื่น ฯลฯ ดังนั้นการสร้างให้ลูกมี self esteem หรือมองเห็นคุณค่าในตัวเองตั้งแต่ในตอนเล็ก ๆ นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้เลย

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ได้กล่าวไว้ว่า “ก่อนที่จะมีเซลฟ์เอสตีม เด็ก ๆ หรือคนทุกคนต้องมีเซลฟ์ (self) ก่อน ซึ่งหมายถึงการมีตัวตนในทางจิตวิทยาว่าเราเป็นใคร ทำอะไรอยู่ และการควบคุมตัวตนให้อยู่ในร่องรอยได้จะเกิดเซลฟ์เอสตีมดี คือความภูมิใจในความสามารถที่ตัวเองทำได้ ซึ่งการสร้างตัวตนของเด็กจะเกิดขึ้นตั้งแรกเกิดจนกระทั่งอายุ 3 ขวบ พอหลัง 3 ขวบลูกจะเริ่มสร้างตัวตนที่ชัดเจนพอสมควร และจะพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งการได้มองเห็นหรือมองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง” พ่อแม่จึงมีผลกับ self esteem ของลูกเป็นอย่างยิ่ง

สิ่งสำคัญคือการที่พ่อแม่ต้องตระหนักถึง “ตัวตน” ของตัวเองด้วยว่า พ่อแม่คือคนที่ใกล้ชิดลูกมากและเป็นคนที่ลูกรักมากที่สุด สิ่งที่ลูกพยายามแสดงให้เห็นก็เพื่อที่จะได้รับการยอมรับจากพ่อแม่ ดังนั้นการเลี้ยงดูของพ่อแม่ในช่วง 3-4 ขวบปีแรกจึงมีอิทธิพลต่อการรับรู้ถึงความมีคุณค่าในตนเองของลูก ประการต่อมาคือ ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อตัวลูก พ่อแม่ต้องมีความเชื่อว่าลูกสามารถทำได้ เป็นเด็กดีและน่ารัก ซึ่งจะทำให้เด็กยอมรับในตัวตนที่พ่อแม่สร้างความมั่นใจให้ หลาย ๆ สิ่งที่พ่อแม่คิดและเชื่อจะกลายเป็นสิ่งที่ลูกเชื่อด้วย คล้ายกับกระจกสะท้อน เช่น ถ้าพ่อแม่คอยบอกว่าลูกเป็นเด็กดื้อ ซน หรือเกียจคร้าน ลูกก็จะซึมซับในตัวตนตรงนั้น แม้จะเป็นการพูดแบบไม่มีเจตนา แต่เมื่อถูกตอกย้ำบ่อย ๆ ก็จะทำให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองเป็นอย่างที่พ่อแม่ว่า ดังนั้นคำพูดที่เกิดจากพ่อแม่จึงมีผลที่มาสะท้อนต่อลูกมาก

สร้างวิธีคิดให้ลูกเห็นคุณค่าในตัวเอง อ่านหน้าถัดไปนะคะ >>

3 วิธีเพิ่มความคิดที่เป็นบวกช่วยลูกให้เห็นคุณค่าของตนเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#ไม่ใช้คำพูดเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น

เด็กทุกคนนั้นมีความแตกต่างกันทั้งพรสวรรค์ หน้าตา อารมณ์ ความสามารถที่แตกต่างกัน ในฐานะที่เป็นพ่อแม่การใช้เปรียบเทียบลูกกับคนอื่นนั้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือลูกไม่กล้าแสดงออก ไม่มีความมั่นใจในตนเอง  ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือการมองหาศักยภาพในตัวตนของลูก มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับความชอบ สิ่งที่ลูกถนัด ให้ลูกเรียนรู้ว่าคุณค่าของตัวเองนั้นมาจากความสามารถ ความคิดดี ๆ ไม่ใช่เพียงแค่รูปลักษณ์หน้าตา หากลูกพยายามทำสิ่งนั้นได้ดี การใช้คำพูดชมเชยในบางจังหวะก็จะทำให้ลูกได้รับกำลังใจ ยิ่งได้รับพลังบวกจากพ่อแม่มากเท่าไหร่ ก็จะทำให้ลูกรู้สึกมีค่าในตัวเองมากขึ้น

#2 แสดงให้เห็นว่าลูกคือคนสำคัญ

หาโอกาสเข้าร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ กับลูก เช่น ไปงานกีฬาสี หรือการแสดงบนเวที เพื่อทำให้ลูกมองเห็นว่าเขาคือคนสำคัญสำหรับพ่อแม่ แสดงออกถึงความรักที่มีต่อลูก คอยร่วมหัวเราะเวลาลูกทำตลก ชื่นชมกับผลงาน ให้เวลาเพื่อที่จะได้สร้างความสุขและความสนุกไปร่วมกัน

#3 ยอมรับทั้งข้อดีและข้อเสียของลูก

ไม่มีใครทำอะไรได้เพอร์เฟค แม้แต่ตัวพ่อแม่เอง ลูกก็เช่นกัน ถ้าพ่อแม่ยอมยอมรับลูกในข้อดีและไม่ดีของลูกได้ ลูกก็จะเรียนรู้ที่จะยอมรับตัวเองได้อย่างที่เป็นมองเห็นคุณค่าของตัวเองไปพร้อมๆ กับข้อไม่ดีที่ควรแก้ไขปรับปรุง การยอมรับตัวตนของลูกจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยให้ลูกสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างถูกทาง และเมื่อยอมรับลูกได้แล้วก็ช่วยกันคิดหาทางที่เหมาะสมกับลูกด้วย เช่น ลูกไม่ชอบเรียนวิชานี้สิ่งที่แก้ไขได้ไม่ใช่แค่เรียนกวดวิชา แต่พ่อแม่ร่วมด้วยช่วยกันในการหาทางทำให้รู้สึกว่าวิชาที่ลูกไม่ชอบนั้นสนุกและไม่ยากอย่างที่ลูกคิด เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#4 เปิดโอกาสให้ลูกได้ตัดสินใจและแสดงความคิด

ลูกก็คือส่วนหนึ่งของครอบครัว ดังนั้นการตัดสินใจบางเรื่องโดยเฉพาะในเรื่องของตัวลูกเองบางอย่างพ่อแม่อาจหันมาถามความคิดเห็น แสดงความชอบหรือไม่ชอบ โอกาสให้ลูกได้ตัดสินใจเอง และสามารถโต้แย้งในเรื่อง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล หากพ่อแม่คอยสนใจและรับฟัง และคอยทำหน้าที่เป็นฝ่ายสนับสนุนความคิดที่ดีของลูก จะยิ่งทำให้ลูกเล็งเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น

การปลูกฝังพื้นฐานการเลี้ยงลูกดี ๆ นั้นควรเริ่มต้นทำมาก ๆ ในสามขวบปีแรก ซึ่งจะทำให้ลูกสร้างและมีตัวตนให้รู้สึกรักตัวเอง ดูแลตัวเอง ควบคุมตัวเอง มองเห็นคุณค่าและมีความมั่นใจ ซึ่งจะทำให้พัฒนาตัวตนต่อเนื่องไปในอนาคตต่อไป.


ที่มา :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

www.si.mahidol.ac.th

www.breastfeedingthai.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

สอนลูกไว้ไม่เป็น โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง แค่พูด “ขอโทษ”

เตือนพ่อแม่ระวังโรคใหม่ของเด็กไทย “โรคไม่รู้จักความลำบาก”!!

บทความโดย

Napatsakorn .R