ทำไมพูดว่า "อย่า" "ไม่" "ห้าม.." ลูกจึงทำ

ผมบังเอิญได้ฟังเพลงขอร้องวัยรุ่น ของ คำมอด พรขุนเดช ในท่อนฮุกของเพลงนั้นร้องว่า " อย่าตี อย่าตี อย่าตี อย่าตี อย่าตีกันเน้อ..♫♫ " ทำให้ผมนึกถึงทฤษฎีเรื่องหนึ่งและนำมาทดลองเล่นอะไรสนุกๆกับลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อกลับถึงบ้าน ผมบอกกับณดาว่าเดี๋ยวพ่อจะร้องเพลงให้ฟังแล้วณดาเต้นนะ

ณดาตื่นเต้น รอคอย... ผมเลยร้องว่า... ♪ อย่าตี อย่าตี อย่าตี อย่าตี กันเน้อ... ♫♫

ผลปรากฏว่า ณดาเธอทำท่าตีๆๆ ตุ๊กตา ตามจังหวะเพลงที่ผมร้องย้ำเลยครับว่า ... เธอทำท่าตีพร้อมหน้าตาจริงจัง (บ้านไหนจะลองเอาไปทดลองดูก็ได้นะครับ)

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น… เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมเวลาที่เราบอกลูกว่า "อย่า" "ห้าม" "ไม่" แล้วลูกยังคงฝ่าฝืนทำในสิ่งที่เราบอก เช่น "อย่าวิ่ง" --->ลูกวิ่งทันทีอย่างเร็ว  "อย่าปีน" --> ปีนทันที  "ห้ามโยน" --> แน่นอนโยนแน่ๆ  เคยได้ยินทฤษฎี "ช้างสีชมพู"ไหมครับเรามาทดลองกัน ให้ผู้อ่านตั้งใจอ่านประโยคต่อไปนี้ พร้อมกับจินตนาการตามที่ได้อ่านไปด้วยนะครับ...."มีทุ่งหญ้าแห่งหนึ่ง มีแสงแดดอ่อนๆ ต้นหญ้าสีเขียวไปทั่ว มีนกที่บนต้นไม้ 3 ตัว มองไปอีกทางขวาผมเห็นช้างตัวหนึ่ง มันไม่ใช่ช้างสีชมพู...ห้ามคิดถึงช้างสีชมพู...อย่าคิดถึงช้างสีชมพู...ไม่ให้คิดถึงช้างสีชมพู"....

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เป็นอย่างไรบ้างครับ ภาพของช้างสีชมพูปิ๊งขึ้นมาเลยใช่ไหมครับ นั้นเป็นเพราะสมองไม่สามารถสร้างภาพปฎิเสธได้ในทันที สมองจึงสร้างภาพสิ่งนั้นขึ้นมาก่อนจึงค่อยปฎิเสธภาพนั้นในภายหลัง จากบทความ Why Thought Suppression is Counter-Productive โดย Dr Jeremy D. นักจิตวิทยาได้กล่าวถึงทฤษฎีในเรื่องของ Thought Suppression ของ Wegner, Schneider, Carter, & White (1987) ที่มีการทดลองสุดคลาสสิค “ห้ามคิดถึงช้างสีชมพู และหมีสีขาว” สอดคล้องเชื่อมโยงกับประเด็นดังกล่าว (1) และจากหนังสือ Powerful thinking on purpose ได้อธิบายไว้เช่นกันว่าในขณะที่จิตใต้สำนึกทำงานร่วมด้วย ภาพที่เราเห็นและจินตนาการในภาพแรกที่แว๊บและนึกถึงคือสิ่งที่จิตใต้สำนึกรับสารข้อมูลเหล่านั้นโดยปราศจากข้อสงสัย และจิตใต้สำนึกไม่สามารถเข้าใจคำว่า "ไม่" "อย่า" "ห้าม" ได้ (2) เช่นเดียวกันกับที่เราบอกลูกว่า"อย่าวิ่ง" สมองจะรับรู้คำว่า"วิ่ง"ขึ้นมาก่อน เด็กๆจึงวิ่งในทันที

ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ควรสื่อสารสิ่งที่อยากให้ลูกทำหรือรับรู้โดยตรง เช่น ถ้าเราไม่อยากให้ลูก"วิ่ง" ควรเปลี่ยนเป็น "เดินช้าๆ"นะลูก " หรืออย่าเสียงดัง ควรเป็น "พูดเบาๆ" และผมเชื่อว่าหลายบ้านมักพูดหรือได้ยินเสมอด้วยคำว่า"อย่าดื้อนะ" "อย่าซนนะ" "วันนี้ดื้อหรือเปล่า" " ซนไหม" สมองและจิตใต้สำนึกของเด็กๆจะรับรู้คำว่า "ดื้อ" "ซน" เข้าไป จนเด็กเองเชื่อว่าตัวเขานั้นดื้อและซนจริงๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในทางกลับกันผู้ใหญ่ที่เป็นคนพูดคำเหล่านั้น ก็จะโฟกัสไปที่ความดื้อและซนของเด็ก จนมองข้ามสิ่งดีๆในตัวเด็กคนนั้นไปด้วย

ในบทเรียนเรื่องนี้ไม่เพียงแต่สอนวิธีการพูดกับลูกให้สื่อความหมายอย่างถูกวิธีและเชิงบวก แต่ยังสอนในเรื่องของการคิดและการใช้ภาษากับตัวเราเองอีกด้วยลองจิตนาการดูระหว่างสองคำนี้ครับ“ชีวิตนี้ฉันไม่อยากจะป่วย และไม่เป็นทุกข์” กับ “ชีวิตนี้ฉันจะแข็งแรง มีความสุข” จิตของเรา เสียงในหัวของเราชอบประโยคไหนกว่ากันครับ

ดังนั้นลองฝึกฝนดูครับ แรกๆเราจะยังไม่ชินกับการเปลี่ยนภาษาที่เราเคยใช้มากับแบบแทบจะอัตโนมัติ แต่การฝึกในช่วงแรกนี้แหละครับเราจะได้ฝึกสติกันไปด้วยเมื่อภาษาเปลี่ยน โฟกัสเปลี่ยน เชื่อเถอะครับชีวิตเราดีขึ้น....ชีวิตลูกก็จะไม่ถูกตัดทอนในศักยภาพและมีความสุขแน่นอนครับ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Reference : (1) https://www.spring.org.uk/2009/05/why-thought-suppression-is-counter-productive.php
(2) https://www.powerfulthinkingonpurpose.com/dont-imagine-pink-elephant/
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

Mirror Neuron เซลล์สมองกระจกเงา กับการเลี้ยงลูก

4 วิธีฝึกลูกเดินทางได้ ไม่ง้อแท็บเล็ต