จากกรณีที่มีข่าวในเว็บไซต์ mthai.com รายงานว่า น้องหิน อายุ 5 ขวบ ป่วยเป็น “โรค กระดูกเปราะ” หรือ “โรค กระดูกพรุน” ตั้งแต่กำเนิด โดยตอนที่น้องหินยังเป็นเด็กทารกนั้น ไม่มีใครสามารถจับตัวน้องได้เลย อุ้มให้นมก็ไม่ได้ จับอาบน้ำก็ไม่ได้ เพราะจับทีไร น้อง กระดูกหัก ทุกที แม้แต่นอนพลิกตัว ยังไม่ได้ ต้องทนทรมาน กับ อาการกระดูกหักตลอดเวลา และ เมื่อกระดูกหักก็ต้องเข้าเฝือกครึ่งตัว ทุกครั้งไป กระดูกเปราะ ผงชูรส
คุณแม่ ของ น้องหิน เล่าว่า คุณหมอ บอกว่า โรคนี้ เกิดจาก ร่างกาย ขาดแคลเซียม อย่างหนัก ซึ่งมีผลพวง มาจากกรรมพันธุ์ แต่ คุณแม่คิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะ ครอบครัวทั้งสองฝั่งไม่เคยมีใครเป็นโรคนี้มาก่อน
เธอคิดว่า น่าจะเป็นเพราะ เธอชอบทานอาหาร และ ขนมที่มีส่วนผสม ของ ผงชูรส มากมาตลอด ไม่เว้น แม้แต่ในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งคุณหมอที่ดูแลครรภ์ก็เตือนอยู่เสมอว่าให้หยุดทานอาหารจำพวกนี้ เพราะ อาจมีผลต่อลูกในครรภ์ได้ แต่ ด้วยในขณะนั้น คุณแม่ น้องหิน ยังเป็นเป็นวัยรุ่นจึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จนเมื่อน้องหินคลอดออกมา และ มีอาการดังกล่าว จึงเชื่อว่า “ลูก ต้องมา รับกรรม เพราะ การกระทำของตนเอง”
สำหรับสาเหตุของ โรค กระดูกเปราะ หรือ กระดูกผิดรูปแต่กำเนิดนั้นเกิดจากอะไร เกี่ยวกับ ผงชูรส หรือไม่ และ แม่ท้องควรดูแลตัวเองอย่างไร นายแพทย์ เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์ สูตินรีแพทย์ ได้อธิบายไว้ในหน้าถัดไปค่ะ >>
นายแพทย์ เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์ สูตินรีแพทย์ ได้อธิบายสาเหตุของ โรค กระดูกเปราะ หรือ กระดูกผิดรูป ไว้ดังนี้
สาเหตุของอาการ กระดูกเปราะ
โรคกระดูกผิดรูปแต่กำเนิด เป็นความผิดปกติที่มี กระดูกเปราะ และ หักได้ง่าย มีความหลากหลาย ในการแสดงออกของโรคมาก บางชนิดรุนแรงจนทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ บางชนิดทำให้ กระดูกผิดรูป มีความพิการเกิดขึ้น บางชนิดจะแสดงอาการเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ โรคนี้เกิดจาก ความผิดปกติของพันธุกรรม เช่น พบมีการกลายพันธุ์ของยีนที่สร้างสารคอลลาเจน ชนิดที่ 1 หรือ โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างกระดูก และ กระดูกอ่อนเป็นต้น ไม่ได้เกิดจาก การรับประทานแคลเซียมน้อย หรือ รับประทาน ผงชูรส ที่มากเกินไป หรือได้รับสารอาหารชนิดต่างๆ ที่ไม่เพียงพอ โรคนี้สามารถถ่ายทอดทาง พันธุกรรมภายในครอบครัวได้ หรืออาจเกิดขึ้นใหม่เป็นคนแรกในครอบครัวก็ได้
ลักษณะที่จำเพาะ คือ มี กระดูกแขน ขา ผิดรูป ตั้งแต่กำเนิดจากมี กระดูกหัก ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ กระดูกเปราะ เมื่อมีการกล้ามเนื้อหดรัดตัวอาจทำให้ กระดูกหัก เองได้ง่าย เด็กตัวเตี้ย อาจพบกระดูกซี่โครงหัก กะโหลกศีรษะนุ่ม หูหนวก ข้อหลวม กระดูกสันหลังโค้งงอได้ โรคนี้จะเป็นตลอดชีวิต ยังไม่มีการรักษาที่หายขาด แต่การรักษามุ่งเน้นป้องกันกระดูกหัก เพิ่มการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย คอยรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ให้ออกกำลังกาย ทำกายภาพบำบัด อาจใช้ยาเพื่อเพิ่มมวลกระดูก และติดตามการรักษาต่อไป
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรรับประทานอาหาร ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน ฝากครรภ์ตามนัด โดยทั่วไปจะมีการตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อค้นหาความผิดปกติต่างๆในช่วงอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ สำหรับ โรคกระดูกผิดรูป บางชนิด จะแสดงความผิดปกติช้า จึงจำเป็นต้องตรวจคัดกรองซ้ำอีกครั้งหนึ่งช่วงอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ ในรายที่น่าสงสัยอาจส่งตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่อไป
ถึงแม้ว่าการบริโภค ผงชูรส จะไม่ได้เจาะจงว่า ทารกที่เกิดมาจะมีปัญหาเกี่ยวกับ กระดูกเปราะ หรือโรคกระดูกผิดรูปแต่กำเนิด ในคุณแม่ท้องหากหลีกเลี่ยงได้ก็ไม่ควรบริโภคผงชูรส เพื่อป้องกันปัญหาด้านสุขภาพที่สามารถเกิดขึ้นได้กับตัวคุณแม่เองและทารกในครรภ์ได้ค่ะ
5 วิธีป้องกันไม่ให้ทารกผิดปกติแต่กำเนิด
อาหาร 7 อย่างที่แม่ท้องไม่ควรกินตอนท้องว่าง