โรคที่มากับหน้าฝน มีอะไรบ้าง มาดูวิธีรับมือและป้องกันลูกน้อยจากโรคเหล่านี้กัน!!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคที่มากับหน้าฝน นอกจากหน้าฝนมีปัญหาเรื่องการตากผ้าไม่แห้งแล้ว อับชื้น คือปัญหาที่เรามักจะเจอเป็นอันดับต้น ๆ ของหน้าฝนเลยก็ว่าได้ โรคที่มาพร้อมกับหน้าฝนก็น่ากลัวไม่ต่างกัน โดยเฉพาะโรคที่อาจจะเกิดกับลูกน้อยของเราได้ ยิ่งจะต้องระวังเป็นอย่างมาก เราไปดูกันเลยว่า โรคที่มากับหน้าฝน จะมีโรคอะไรบ้าง ?

อาการของ โรคไข้เลือดออก วิธีการรักษา

1. โรค ไข้เลือดออก

เมื่อที่ฝนตกหนัก ย่อมเกิดการที่มีน้ำท่วมขังกลายเป็นที่เพาะพันธุ์ของพวกยุงร้าย และโรคที่มากับเจ้ายุงนั้นก็คือ โรคเลือดออกนั้นเอง

 

สาเหตุของการเกิดโรค : การที่มีแหล่งน้ำท่วมขังจึงทำให้มียุงนั้นมาเพาะพันธุ์ทิ้งไว้ หรือลูกน้อยของเรานั้นได้รับเชื้อมาจากเจ้ายุงลายกัดนั้นเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการของโรค : โรคไข้เลือดออกจะมีอาการดังนี้ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว อ่อนเพลีย บางรายมีไข้สูงเฉียบพลัน จาม ไอ มีน้ำมูกไหล เลือดออกตามผิวหนัง หรือตามไรฟัน เลือดกำเดาไหลเป็นต้น

 

วิธีการรักษา และป้องกัน :  ไม่ปล่อยให้มีน้ำถ้วมขังอยู่บริเวณรอบ ๆ ตัวบ้าน และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงให้หมดสิ้นภายในบ้าน หากว่าลูกน้อยของเราได้รับเชื้อแล้วให้รีบนำตัวไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน แม้ว่าจะยังไม่มียารักษาโรคนี้โดยตรงก็ตาม แต่เราก็สามารถที่จะรักษาโรคนี้ตามอาการได้ และเราต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเพียงเท่านี้โรคไข้เลือดออกก็สามารถที่จะหายเองได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : กรมควบคุมโรค เตือนให้ เฝ้าระวัง โรคไข้เลือดออกในเด็ก ในช่วงนี้!!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการของ โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นอย่างไรบ้าง

2. โรคไข้หวัดใหญ่

ในความเป็นจริงแล้วโรคไข้หวัดใหญ่ ไม่ได้มีเฉพาะในหน้าฝนเพียงอย่างเดียว โรคนี้ใคร ๆ ก็เป็นได้ หากว่ามีร่างกายที่อ่อนแอ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการติดเชื่อ ไข้หวัดใหญ่สามารถที่จะวิวัฒนาการตัวมันเองเป็นเป็นสายพันธุ์ใหม่ ๆ ออกมาได้เรื่อย ๆ

 

สาเหตุของการเกิดโรค : ไข้หวัดใหญ่หรือที่เรียกว่า (Influenza) สามารถที่จะเข้าสู่ร่างกายของเราโดยการดื่ม หรือ กินอาหารที่มีสารปนเปื้อนของเชื้อไวรัสนี้ นอกจากนี้แล้วการรับเชื้อจากละอองของน้ำมูก การสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่เป็นอยู่แล้ว ก็สามารถติดเชื้อได้เหมือนกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการของโรค : โรคไข้หวัดใหญ่ อาการของไข้หวัดใหญ่ ช่วงแรกจะคล้ายกับโรคไข้หวัดธรรมดาแหละ แต่จะมีไข้สูงกว่าเท่านั้น ในบางรายที่มีไข้สูงมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดอาการช็อค และเสียชีวิตได้เลย

 

วิธีรักษา และการป้องกัน : การป้องกันจากโรคไข้หวัดใหญ่นั้น สามารถทำได้ด้วยการล้างมืออยู่บ่อย ๆ ระมัดระวังการสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ ที่อาจจะนำเชื้อเข้าร่างกายของเราได้ หากว่าได้รับเชื้อแล้ว ควรเฝ้าระวังไข้ที่สูงผิดปกติ และควรพาบุตรหลานของท่านพบแพทย์โดยด่วน เพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่น ๆ อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการไข้หวัดใหญ่ 2021 Influenza วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ สาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่

อาการ RSV เป็นอย่างไร

3. RSV ในเด็ก

REV หรือชื่อทางการแพทย์คือ( Respiratory Syncytial Virus ) ดูแล้วก็เหมือนไข้หวัดธรรมดานั้นแหละค่ะ แต่เราไม่สามารถปล่อยให้หายเองได้ เพราะปอดและหลอดลมจะติดเชื้อที่ร้ายที่สามารถทำให้ ระบบทางเดินหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้เลย

 

สาเหตุของการเกิดโรค : โรค RSV เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อได้ทางการสัมผัส สารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่นน้ำมูก  หรือแม้แต่การจาม ก็ทำให้ติดเชื้อได้แล้ว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการของโรค : อาการเริ่มแรกเลยคล้ายจะเป็นไข้หวัดธรรมดา มีน้ำมูก ไอ หรือ ไออย่างหนักจนทำให้อาเจียน จาม มีไข้ แต่ไข้อาจจะสูงถึง 39.5 องศา เลยทีเดียวหากปล่อยทิ้งไว้นาน หายใจลำบาก และมีเสียงหวีด ปาดซีดเขียวในบางราย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไวรัส RSV เชื้อโรควัยร้ายในวัยเด็ก โรคRSV ป้องกันอย่างไร?

มือ เท้า ปาก เป็นอย่างไร?

4. มือ เท้า ปาก

โรคนี้มาจากกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ผู้ป่วยที่พบมักจะอยู่ในช่วงวัยเรียนอนุบาล โดยเชื้อใช้ระยะเวลาในการแพร่ตัวอยู่ที่ประมาณ 3 – 7 วัน

 

สาเหตุของโรค : มือ เท้า ปาก สาเหตุหลัก คือ เชื้อไวรัสสามารถติดได้ทางสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น ละอองของน้ำลายจากการไอ จาม น้ำมูก และการสัมผัสแผล หรือ การดื่ม กิน อาหาร เครื่องดื่ม ที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่นั้นเอง

 

อาการของโรค : อาการของ มือ เท้า ปาก คือ มีไข้ น้ำมูกไหล อาการคล้ายจะเป็นหวัดหวัด แต่จะมีแผลที่ปาก เบื่ออาหารไม่ทานอะไร และเมื่อทิ้งเชื้อไว้ 3-7 วัน จะเริ่มมีผื่น ตุ่มแดง ตามมือ ขา และเท้า

 

วิธี และการป้องกัน : โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันได้ สิ่งที่เราสามารถป้องกันลูกน้อยจากโรคนี้ได้ก็คือ การให้เด็กรู้จักการล้างมืออย่างถูกวิธีและล้างมือบ่อย ๆ  ทำความสะอาดร่างกายอยู่สม่ำเสมอ เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่อาจติดมาจากการสัมผัสสิ่งต่าง ๆ ได้ หรือหากได้รับเชื้อเข้าไปแล้ว ต้องนำไปพบแพทย์โดยด่วนเพื่อทำการเฝ้าระวังและรักษาตามอาการต่อไปนั้นเอง

 

บทความที่คุณอาจจะสนใจ :

โรคมือ เท้า ปาก ระบาดหนักในเด็กช่วงฤดูฝน พบมากในทารกและเด็กเล็ก

แหล่งที่มา : (1)

บทความโดย

chonthichak88