วิธีรับมือ เมื่อลูกร้องไห้ไปซะทุกเรื่อง

เมื่อลูก ๆ อยู่ในวัยที่มักร้องไห้งอแงไปกับทุก ๆ เรื่อง แม้แต่เรื่องที่แสนจะธรรมดา หากคุณพ่อคุณแม่กำลังประสบปัญหานี้ วันนี้เรามีคำแนะนำดี ๆ มาฝาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีรับมือเมื่อลูกร้องไห้ทุกเรื่อง พ่อแม่จะทำอย่างไรดี

วิธีรับมือเมื่อลูกร้องไห้ทุกเรื่อง ไม่ใช่เรื่องยาก แค่ต้องเข้าใจสาเหตุว่าเกิดจากอะไร

การร้องไห้งอแงไปซะทุก ๆ เรื่องของลูกเล็ก วัยก่อนอนุบาลนั้น อาจสร้างความหงุดหงิดใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ไม่น้อย แต่ใช่ว่าเราจะใช้ความอดทนได้อย่างเดียวนะคะ ยังมีวิธีรับมืออื่น ๆ อีกมากมาย ที่เรารวบรวมมาจากความคิดเห็นของคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านที่เคยลองใช้วิธีต่าง ๆ เหล่านี้กับเจ้าตัวน้อยมาแล้ว

วิธีรับมือ เมื่อลูกร้องไห้ไปซะทุกเรื่อง

การที่ลูกร้องไห้ หรือ งอแง นั้น ย่อมมีสาเหตุอย่างแน่นอน คุณพ่อคุณแม่ลองคุยกับลูก เพื่อดูว่าเกิดจากอะไร

  • อันดับแรก ต้องทำความเข้าใจว่า การที่ลูกทำตัวแสนน่ารักเมื่ออยู่ที่โรงเรียน แต่พอกลับมาบ้าน ทำไมลูกถึงร้องไห้งอแงเป็นที่สุด นั่นเป็นเพราะว่า ลูกรู้ว่าคุณรักพวกเขามาก เจ้าตัวเล็กเลยขี้งอแงออดอ้อน ก็เพราะรู้ว่า พ่อแม่รักแบบนี้แหละค่ะ จากแม่ Sarah Flood
  • หากลูกร้องดูทีวี พยายามให้ดูสิ่งที่ปลูกฝังคุณงามความดี หรือ มีคติสอนใจ อย่าลืมจำกัดเวลาดูทีวีของลูกให้เหมาะสม
  • พฤติกรรมแบบนี้เป็นเรื่องปกติ เมื่อลูกร้องไห้ คุณพ่อคุณแม่ควรใช้คำพูดตอบโต้ในสิ่งที่เขาต้องการ เช่น “ ดูเหมือนลูกจะร้องงอแงเพราะแท็บแล็ตแบตฯ หมด เอาแท็บแล็ตของลูกไปชาร์ตให้เรียบร้อยสิ ” จากแม่ Lynn Buck
  • เด็กสมัยนี้ชอบเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง หากมีอะไรไม่เป็นไปตามที่เขาคิด เขาจะอดทนยอมรับไม่ได้ และ เด็กสมัยนี้มักยึดติดกับเทคโนโลยี เพราะเทคโนโลยีมักใช้งานง่าย เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ฉับไว ทำให้เด็กไม่สามารถทำอะไรด้วยตัวเองได้ จากแม่ Debi Hall
  • ตัดเวลาการใช้เครื่องมืออิเลกทรอนิกส์ต่าง ๆ สัก 1 หรือ 2 สัปดาห์ แล้วจะเห็นผลทันที
  • ลองดูซิว่า ลูกนอนหลับเพียงพอหรือไม่ “ ลูกของฉันมักตื่นกลางดึกถึง 4 ครั้ง ทุก ๆ คืน ทำให้เราต้องหาสาเหตุที่ลูกมักตื่นกลางดึกเลยทีเดียว ” เพราะการพักผ่อนไม่เพียงพอนั้น ส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ด้วยเช่นกัน

การพักผ่อนไม่เพียงพอของลูกน้อย ก็เป็นสาเหตุทำให้ลูกงอแง ร้องไห้ระหว่างวันได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • หากคุณพ่อคุณแม่ให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งกับลูกแล้ว พวกเขาจะติดนิสัยที่จะร้องงอแงขอมากขึ้น ๆ กว่าเดิม พวกเขาคาดหวังว่า ทุกคนที่เข้ามาในชีวิตก็จะทำให้เขาแบบเดียวกัน เช่น หากลูกได้โทรศัพท์หนึ่งเครื่องจากคุณ ต่อมาเขาก็จะขอรุ่นที่ดีกว่าเดิมอยู่เรื่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่ลองสอนให้ลูก ๆ ออกไปวิ่งเล่นข้างนอก โดยไม่ใช้โทรศัพท์ ให้เขาออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านใหม่ ๆ เพราะเด็กที่คอยเรียกร้องเอาแต่ใจ เขาจะไม่รู้จักการอดทนรอ และ เห็นคุณค่าในสิ่งที่มีอยู่ จากแม่ Mary Lagace LeHerissier

  • หากลูกร้องไห้มาก ๆ ลองหาอาหารน่าทาน หรือ ที่ลูกชื่นชอบให้ทาน
  • เมื่อลูกร้องไห้ อธิบายด้วยเหตุผล เช่น ทำไมลูกถึงทานขนมก่อนทานข้าวไม่ได้ หรือ ทำไมเราต้องปิดทีวีแล้ว เป็นต้น
  • พยายามสร้างกิจวัตรประจำวันให้ลูก พยายามทำเรื่องต่าง ๆ ให้เป็นเวลาเช่น เวลานอน เวลาทานอาหารค่ำ หรือ เวลาเล่น เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับลูก
  • อ่านหนังสือเกี่ยวกับเด็กงอแง หรือ เด็กดีให้ลูกฟัง
  • พยายามหากิจกรรม เช่น การวาดภาพ ระบายสี เพื่อปลอบโยนจิตใจลูก
  • หากลูกกำลังร้องไห้ ทำอะไรก็ได้ที่คุณรู้สึกว่า คุณได้ช่วยเหลือลูก ได้ทำให้ลูกรู้สึกสนุกสนาน มีความสุขได้อีกครั้ง สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกจดจำ และ เรียนรู้เพื่อต่อสู้กับปัญหาอื่น ๆ ได้เช่นกัน

ลองหากิจกรรม หรือ ให้ลูกได้เล่นอะไรซักอย่าง เพื่อปลอบโยนจิตใจ ไม่ให้งอแงได้เหมือนกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่น รวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และ ดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และ พร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่ และ เด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และ กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย


source หรือ บทความอ้างอิง :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

verywellfamily.com

kidsactivitiesblog.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีช่วยให้ลูกไม่งอแงเวลาไปโรงเรียนอนุบาล

8 พฤติกรรมไม่น่ารักของลูก ที่ไม่ควรโทษว่าพ่อแม่เลี้ยงดูไม่ดี

ลูกดื้อ พฤติกรรมนี้เกิดจากอะไร

6 วิธี ปราบเด็กไม่ยอมนอน

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team