เงินเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตร ต่างกันมั๊ย ได้เมื่อไหร่ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

สงสัยจัง เงินเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตร ต่างกันมั๊ย ได้เมื่อไหร่ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เงินเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตร  ได้เมื่อไหร่ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

เงินเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตร ต่างกันมั๊ย ได้เมื่อไหร่ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องนะคะ เราพบว่ายัง คุณพ่อ คุณแม่ หลายคนที่เข้าใจผิดอย่างมากเรื่อง เงินเด็กแรกเกิด กับ เงินสงเคราะห์บุตร

  • เงินสงเคราะห์บุตรเป็นสิทธิจากประกันสังคมที่จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเป็นผู้ประกันตนทุกมาตราของสำนักประกันสังคม

  • สำหรับเงินเด็กแรกเกิด  ตอนนี้ คือ เงินเด็กแรกเกิดจากรัฐบาล

สำหรับประกันสังคม คุณแม่ ที่เป็นมนุษย์ เงินเดือน หรือ ผู้ประกันตนถ้ากำลังจะ คลอดลูก สามารถใช้สิทธิ์ ประกันสังคม คนท้องได้ เมื่อ คุณแม่ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 5 เดือน และ อยู่ภายใน 15 เดือน ก่อนคลอดลูก ถึงจะได้ สิทธิ์เงินสงเคราะห์ของสำนักประกันสังคม ถ้าเกิดว่าบ้านไหน มีทั้งพ่อและแม่เป็นผู้ประกันตน สามารถใช้สิทธิ์ต่างๆ ก่อนขอเงินสงเคราะห์บุตรได้ ดังนี้

เงินสงเคราะห์บุตร

สิทธิ์ของผู้ประกันตนฝ่ายแม่

  • เบิกเงินกรณีคลอดบุตรจะได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 13,000 บาท ต่อครั้ง
  • จะได้เงินสงเคราะห์​ หรือเงินชดเชยรายได้ที่หยุดงาน เพื่อการคลอดบุตรในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน
  • แต่สิทธิ์บุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรแล้ว
  • แต่ถ้ามีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ แล้วต่อมาแท้งบุตร ผู้ประกันตนนมีสิทธิ์เบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย และเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรได้ เพราะครรภ์ 28 สัปดาห์ ไม่ว่าทารกจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่ถือว่าเป็นกรณีคลอดบุตร

สิทธิ์ของผู้ประกันตนฝ่ายพ่อ

  • เบิกค่าคลอดบุตรให้ภรรยาได้ แต่ต้องมีการส่งเงินสมทบมาแล้ว 5 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนแบบเดียวกับผู้ประกันตนฝ่ายแม่
  • ผู้ประกันตนฝ่ายพ่อจะได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรจำนวน 13,000 บาท
  • ถ้าสามีและภรรยาอยู่กินกันโดยเปิดเผย แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ 

 

ในส่วนของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกงอแงตอนกลางคืน วิธีแก้ลูกร้องกวนกลางคืน ลูกร้องกลางคืน ลูกร้องไม่หยุด โอ๋ยังไงดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

    เงินเด็กแรกเกิดจากรัฐรัฐบาล

 

เลี้ยงดูเด็กแรกเกิดเป็นโครงการที่ช่วยเหลือบุคคลที่ยากจน เพื่อให้เด็กได้มีชีวิตที่มีคุณภาพ เพราะสาเหตุจากความยากจนของครอบครัว คำว่าครัวเรือนเสี่ยงต่อการยากจนหมายความว่า ต้องเป็นครอบครัวหรือครัวเรือนที่มีสมาชิกในครัวเรือนที่มี รายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 3,000 บาทต่อคน และต่อเดือนหรือต่ำกว่า 36,000 บาทต่อคนต่อปี โดยนำรายได้ของสมาชิกในบ้านทั้งหมดในครอบครัว หารด้วยจำนวนสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว ซึ่งก็รวมถึงเด็กแรกเกิดด้วย โดยคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์รับเงินเด็กแรกเกิดจากโครงการอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด มีดังนี้

  • หญิงตั้งครรภ์จะได้รับเงินเด็กแรกเกิดก็ต่อเมื่อ ลูกต้องมีกำหนดคลอดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559 
  • หากการคลอดบุตรไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559 ให้ถือว่าสิทธิ์ที่ลงทะเบียนไว้ถูกระงับไปโดยปริยาย
  • เด็กต้องเกิดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559 และมีสัญชาติไทย พ่อและแม่ก็ต้องมีสัญชาติไทย
  • ไม่ได้เป็นผู้ได้รับสวัสดิการของรัฐ หรือสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น เงินสงเคราห์บุตรจากประกันสังคม เงินสวัสดิการข้าราชการ เป็นต้น

เนื่องจาก กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แจ้งว่า งบเดิมไม่เพียงพอต่อโครงการเงินเด็กแรกเกิด โดยสิทธิ์เงินเด็กแรกเกิด คือ ได้รับเงินรายละ 600 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 36 เดือน หรือจนถึงอายุ 3 ขวบ ดังนั้น จึงหมายความว่า โครงการอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเงินสงเคราะห์บุตรจากสำนักประกันสังคมแต่อย่างใด  

ที่มา : https://finance.rabbit.co.th

บทความเกี่ยวข้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กองทุนประกันสังคม เพิ่มเงิน สงเคราะห์เพื่อการคลอดบุตรเป็น 30,000 บาท 

เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรจาก 400 เป็น 600 บาท ประกันสังคมมอบของขวัญปีใหม่แม่ท้อง 

ชัวร์ก่อนแชร์ เบี้ยประกันสังคมแบบใหม่เงินเดือน 2 หมื่นขึ้น เก็บ 1 พันบาท อยู่ในขั้นตอนพิจารณา

 

บทความโดย

Weerati