พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 4 นี่เป็นช่วงที่ร่างกายของคุณแม่จะเริ่มผลิตฮอร์โมนคนท้อง หรือที่เรียกว่า hCG ซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกคลื่นไส้ เวียนหัว อารมณ์แปรปรวน และเหนื่อยง่าย นี่เป็นอาการที่พบได้บ่อยในช่วงต้นของการตั้งครรภ์และเป็นสัญญาณที่ทำให้คุณรู้ว่าคุณอาจจะตั้งครรภ์
ในระยะตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์
พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 4 คุณแม่ จะรู้สึกปวดเกร็งบริเวณอุ้งเชิงกราน รู้สึกว่าแน่นท้อง ท้องอืด และ มีลมในท้องมากกว่าปกติค่ะ
• คุณแม่ ส่วนใหญ่มีอาการแพ้ท้องแล้ว เริ่มคลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัวในช่วงเวลาเช้า ๆ โดยเฉพาะในช่วงที่ท้องว่างมาก ๆ ไม่ได้รับประทานอะไรเป็นเวลานาน ๆรู้สึกเหม็นกลิ่นอาหาร หรือแค่นึกถึงเมนูอาหารบางรายการก็รู้สึกคลื่นไส้ อยากอาเจียนแล้ว ทั้งที่ปกติเคยชอบรับประทานมาก ๆ แม้แต่ กลิ่นปลา กลิ่นเนื้อสัตว์ หรือแม้แต่กลิ่นอาหารสัตว์เลี้ยง อาจกระตุ้นให้รู้สึกคลื่นไส้อาเจียนขึ้นมาได้เหมือนกันนะคะ
• เริ่มมีอาการคัดตึงเต้านม หน้าอกอ่อนนุ่ม และ มีความรู้สึกไวที่หัวนมมากกว่าปกติ หาก คุณแม่ เป็นคนหน้าอกเล็ก จะรู้สึกทันทีว่าเต้านมใหญ่ขึ้น และ มีรูปร่างกลมขึ้นมาก ๆ
• เมื่อตั้งครรภ์จะรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ และ กลั้นปัสสาวะได้ไม่นานอย่างที่เคย แม้เวลาเข้าห้องน้ำมีปัสสาวะออกมาเล็กน้อย เป็นเพราะการสร้างเลือดและ ของเหลวเพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ มดลูกขยายใหญ่ขึ้นเบียดกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อยค่ะ
• คุณแม่อาจสังเกตได้ว่ามีเลือดออก กระปริบ กระปรอย ทางช่องคลอดระหว่างการตั้งครรภ์ พบได้บ่อยในช่วงสัปดาห์ที่ 4 เพราะตัวอ่อนฝังตัวเข้ากับผนังมดลูกนั่นเอง
พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 4
พัฒนาการของตัวอ่อนในช่วงนี้
กลุ่มเซลล์เริ่มพัฒนาขึ้นเป็นตัวอ่อนเป็นชั้น ๆ ชั้นเซลล์เหล่านี้เริ่มพัฒนาขึ้นเป็นอวัยวะต่าง ๆ เซลล์ชั้นในที่เรียกว่า ”เอ็นโดเดิร์ม” จะพัฒนาขึ้นเป็นระบบย่อยอาหาร ตับ และ ปอดของเด็ก ชั้นกลางที่เรียกว่า ”เมโซเดิร์ม” จะกลายเป็นหัวใจ อวัยวะเพศ กระดูก ไต และ กล้ามเนื้อ ส่วนเซลล์ชั้นนอก เรียกว่า “เอ็กโตเดิร์ม” จะกลายเป็นระบบประสาท ผม ผิวหนัง และ ตา
ช่วงนี้คุณแม่จะเริ่มแพ้ท้องแล้วค่ะ จำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ซึ่งเป็นส่วนประกอบ ของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง เป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ช่วยไม่ให้เกิดเลือดจาง ๆ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ธาตุเหล็กจะทำให้เม็ดเลือดแดงมีมากพอ ที่จะลำเลียงออกซิเจนจากเลือด คุณแม่ ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งไปสู่ลูกผ่านรกด้วย อาหารที่มีธาตุเหล็ก ประกอบมีอยู่หลายชนิดมาก ๆ เช่น ในอาหารกลุ่มธัญพืช ถั่วตระกูลต่าง ๆ ตับไข่แดง ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ เป็นต้น ๆ
เมื่อคุณสาวๆ มีอีกหนึ่งชีวิตน้อยๆ ที่ต้องดูแลแล้ว ต้องระมัดเรื่องการกินเป็นอย่างมาก เนื่องจากตอนตั้งครรภ์ คุณแม่ จะรู้สึกว่าตัวเองกินตามใจปากมากขึ้น กินจุกกินจิกมากขึ้น ต้องระวังว่าอย่ากินในปริมาณที่มากจนเกินไป เสี่ยงทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มและเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานซึ่งจะนำมาสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆ ระหว่างตั้งครรภ์ได้ ทางที่ดีให้แบ่งปริมาณในการกินแต่ละมื้อให้พอดี กินให้ครบมื้อ แต่ต้องไม่ให้อิ่มมากจนเกินไป อาจแบ่งเป็นมื้อที่เป็นอาหารว่าเล็กๆ การกินอาหารครั้งละน้อยๆ จะทำให้ร่างกายย่อยเร็วขึ้น ไม่รู้สึกอึดอัด อีกทั้งยังลดความเสี่ยงที่เกิดภาวะกรดไหลย้อนขณะตั้งกันอีกด้วย
สิ่งที่คุณควรทำในช่วงนี้
ถ้าคุณกำลังสงสัยว่าทำไมประจำเดือนไม่มา และ คิดว่าคุณอาจจะท้อง นี่เป็นช่วงเวลาที่ดีที่คุณจะตรวจการตั้งครรภ์หรือไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจยืนยัน
ที่มาอ้างอิง https://www.huggies.co.th/th-th/pregnancy/1-3-months/4-weeks-pregnant
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่ คุณแม่ เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้ คุณแม่ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของ คุณแม่ ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และ ดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และ ในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของ คุณแม่ หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุน คุณพ่อ คุณแม่ ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้ คุณแม่ และ เด็ก ที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และ กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 3
พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 5
วิธีการรักษาอาการรสขมเฝื่อนในช่องปาก