วิธีพัฒนาสมองเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบ ติดปีกให้สมองลูกฉลาดขึ้น

วิธีพัฒนาสมองเด็ก เพื่อเสริมสร้างพัฒนาทางสมองที่ดี สำหรับเด็กวัยแรกเกิด ไปจนถึง 6 ขวบ ติดปีกให้สมองลูก ช่วยให้ลูกฉลาด พัฒนาการดีรอบด้าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีพัฒนาสมองเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณพ่อและคุณแม่ที่จะทำให้ลูก และวิธีพัฒนาสมองเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยได้ง่าย ๆ ใช้ได้กับเด็กในวัยตั้งแต่แรกเกิด ไปจนถึง 6 ขวบเลยทีเดียว วิธีที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของเด็กจะมีอะไรบ้าง ไปติดตามกันเลย

วิธีพัฒนา สมองเด็ก

วิธีพัฒนาสมองเด็กวัยแรกเกิด -1 ปี

ในช่วงแรกเกิดนั้น ทารกจะสามารถมองเห็น ได้ยิน และเริ่มเรียนรู้ที่จะตอบโต้กับคุณพ่อและคุณแม่ เช่น ร้องไห้เมื่อหิว หรือง่วง เป็นต้น นอกจากนี้เด็กแรกเกิดยังเริ่มที่จะจดจำใบหน้าของคนได้บ้างแล้ว ซึ่งวิธีการกระตุ้น เพื่อพัฒนาสมอง สามารถทำได้โดย

  • พูดคุยกับลูก และให้ลูกเห็นใบหน้าบ่อย ๆ และอาจจะใช้ของเล่นอย่างเช่น โมบาย เพื่อกระตุ้นการมองเห็นของลูก
  • สภาพแวดล้อมรอบตัวลูกควรเป็นสถานที่สะอาด โปร่งโล่ง สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจน เพราะสภาพแวดล้อมนั้น ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญต่อพัฒนาการของเจ้าตัวน้อย การที่เด็กได้เห็นสิ่งต่างๆ รอบตัว จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้
  • ปัจจัยทางด้านเสียง ก็เป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของเด็กได้ดี ไม่ควรอยู่ในที่ ๆ มีเสียงดังรบกวนมากเกินไป แต่ก็ไม่ควรเงียบสงบจนเกินไป โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะร้องเพลงให้ลูกฟัง หรือเปิดเพลงเบา ๆ สบาย ๆ ก็จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเจ้าตัวน้อยได้เช่นกัน
  • เมื่อถึงวัยเริ่มคลาน เด็กจะสนใจของเล่นมากขึ้น แต่เด็กในวัยนี้มักจะชอบหยิบสิ่งของต่าง ๆ รอบตัวเข้าปาก ดังนั้นจึงควรระวังเรื่องความปลอดภัยเป็นพิเศษ
  • ไม่ควรซื้อของเล่นให้ลูกมากชิ้นเกินไป เพราะจะทำให้เด็กเสียสมาธิ เลือกไม่ถูกว่าจะเล่นอะไรดี ยิ่งมีของเล่นน้อยชิ้น ก็จะทำให้เด็กมีเวลาเล่น หรือศึกษาของเล่นชิ้นนั้นอย่างละเอียด ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ดีของการสร้างสมาธิของเด็กในอนาคต

วิธีพัฒนาสมองลูก

วิธีพัฒนาสมองเด็ก วัย 1-2 ปี

เด็กในวัยนี้เริ่มมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้น ทรงตัวได้ดีขึ้น เริ่มเดินได้ และมีการประสานการทำงานระหว่างกล้ามเนื้อต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และเริ่มทานอาหารเองได้บ้างแล้ว ซึ่งวิธีการกระตุ้น เพื่อพัฒนาสมอง สามารถทำได้โดย

  • ฝึกให้เด็กหยิบจับสิ่งของที่ไม่เป็นอันตราย และหัดให้ลูกได้วาด ได้เขียน
  • สมองของเด็กในวัย 1 ปีขึ้นไป นั้น พร้อมที่จะเริ่มจดจำตัวอักษรต่าง ๆ และเริ่มฟัง และเข้าใจภาษาได้หลายภาษา ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถอ่านหนังสือให้ลูกฟัง และสามารถสอดแทรกการสอนอ่านหนังสือ และการพูดไปพร้อม ๆ กันได้
  • ในขณะที่อ่านหนังสือให้ลูกฟัง ถ้าเด็กฟังโดยไม่มีท่าทีที่เบื่อหน่าย แสดงว่าลูกสนใจในเรื่องที่เราอ่าน หรือสอน

วิธีพัฒนาสมองเด็ก วัย 2-6 ปี

ร่างกายของเด็กในวัยนี้ เริ่มมีความแข็งแรงมากขึ้น สามารถเดิน และวิ่งได้ ชอบทำกิจกรรมต่าง ๆ ชอบเล่นกับเพื่อน ซึ่งวิธีการกระตุ้น เพื่อพัฒนาสมอง สามารถทำได้โดย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การเล่นต่อภาพ การต่อไม้บล็อก การส่งเสริมให้ลูกอ่านหนังสือ จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการ รู้จักความหมายของสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น สามารถแยกแยะความแตกต่าง และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ได้
  • ในช่วงวัยนี้ เด็กจะมีความต้องการจะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ช่างสงสัย ชอบถาม คุณพ่อคุณแม่ควรตอบคำถามเด็ก และพยายามอธิบายถึงสิ่งต่าง ๆ ด้วยความใจเย็น เพราะการตอบคำถามจะเป็นการทำให้เด็กได้แนวคิด ช่วยพัฒนาสติปัญญา
  • การเลี่ยงที่จะไม่ตอบคำถาม หรือการตอบแบบขอไปที จะทำให้ความคิดเด็กที่กำลังพัฒนานั้น หยุดชะงัก
  • การส่งเสริมเรื่องจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กในวัยนี้ มีความสำคัญอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นวัยที่เหมาะสมที่สุดในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อเด็กโตขึ้น บางครั้งความคิดสร้างสรรค์จะถูกแทนที่ด้วยหลักเหตุผล ยกตัวอย่างเช่น เมื่อยังเล็ก เด็กจะวาดรูปช้าง โดยใช้สีหลายสี ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว สีของช้างไม่ได้มีหลายสี และไม่ได้มีสีสดอย่างที่เด็กวาด และเมื่อโตขึ้น ความจริงและเหตุผลจะทำให้เด็กวาดรูปช้างด้วยสีเทา เพื่อให้เหมือนกับช้างจริง ๆ เป็นต้น

หากเด็กได้รับการส่งเสริมในเรื่องของจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ในช่วงนี้อย่างดีแล้ว เด็กก็จะมีความคิดสร้างสรรค์ติดตัว และสามารถนำมาปรับใช้เมื่อเด็กโตขึ้นได้

นอกจากนี้ การอ่านหนังสือ การดูรายการอย่างเช่น สารคดีต่าง ๆ และการพาลูกออกไปเที่ยว ทัศนศึกษาตามสถานที่ต่าง ๆ ก็จะเป็นการสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายให้กับเด็ก ยิ่งสร้างมาก เด็กก็จะยิ่งมีความรู้มาก และเรียนรู้ได้ง่ายและเร็วขึ้น เนื่องจากเด็กมีพื้นฐานประสบการณ์ที่ดีนั่นเอง

วิธีพัฒนาสมองเด็ก ตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 6 ปี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ไม่เพียงแต่หากิจกรรมหรือมีปฏิสัมพันธ์กับลูก อาหารก็เป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาสมองลูกเช่นกัน มาดู 10 อาหารบำรุงสมองลูกกัน

1. อะโวคาโด

ผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 3 หรือไนอะซิน โฟเลต มีแร่ธาตุอย่างโพแทสเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก แมกนีเซียม และแคลเซียม คุณแม่สามารถนำอะโวคาโดไปต้มให้สุก จากนั้นตักเอาแต่เนื้อออกมา แล้วบดให้ละเอียดด้วยช้อน หรือส้อม เสร็จแล้วก็ป้อนให้ลูกน้อยได้กิน เมนูนี้เหมาะสำหรับลูกน้อยวัย 6 เดือนขึ้นไป

2. กล้วย

กล้วยเป็นผลไม้ที่หาได้ง่าย อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามมินซี โฟเลต มีแร่ธาตุอย่างโพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม แมกนีเซียม และแคลเซียม วิธีการนำมาทำเป็นอาหารให้ลูกน้อยอย่างง่ายที่สุด คือ การนำมาบดให้ละเอียด จะบดด้วยมือหรือเครื่องก็ได้ หรือจะนำกล้วยเอาเข้าไปอบในเตาไมโครเวฟเป็นเวลา 25 วินาที ก่อน แล้วค่อยมาบดก็ได้ จากนั้นคุณแม่ก็เติมนมแม่เข้าไป หรือจะใส่ธัญพืชอื่นๆ แทนตามที่ต้องการ เมนูนี้เหมาะสำหรับเด็ก 6 เดือนขึ้นไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ผักใบเขียว

ผักใบเขียว เช่น ผักโขม ผักคะน้า ผักกาดเขียวปลี อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในเรื่องการจดจำได้ดี โดยเฉพาะผักโขม และผักคะน้ามีธาตุเหล็กสูง และยังสามารถเติมลงไปในอาหารของลูกได้ง่าย ถ้าคุณอยากหาเมนูใหม่ ๆ ให้ลองผสมน้ำผักโขม กับน้ำผลไม้ต่าง ๆ เช่น น้ำส้ม เพราะวิตามินซีจะช่วยดูดซึมธาตุเหล็ก ให้หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีแคลเซียมเมื่อรับประทานอาหารที่เสริมธาตุเหล็ก เนื่องจากแคลเซียมยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก

4. มะละกอ

เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง วิตามินเอ วิตามินอี มีเส้นใยจำนวนมาก และกรดโฟลิก เมนูง่าย ๆ ที่คุณแม่สามารถทำให้ลูกน้อยทานได้ คือ มะละกอบด เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป ทำง่ายเพียง 5 นาที โดยไม่ต้องใช้ความร้อน แต่มะละกอที่ใช้ต้องเป็นมะละกอสุกเท่านั้น หากใช้มะละกอดิบจะทำให้เด็กเกิดอาการปวดท้องได้ และไม่ควรให้ลูกรับประทานเกินวันละ 2-3 ออนซ์ อาจส่งผลทำให้ลูกเกิดอาการปวดท้องได้

5. ฟักทอง

ฟักทองอัดแน่นไปด้วยสารอาหารที่ดีที่สุด เพราะเต็มไปด้วยวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน เป็นแหล่งโพแทสเซียม โปรตีน และเหล็กที่ดี รวมถึงวิตามินเค วิตามินซี โฟเลต ไนอะซิน ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม แคลเซียม โซเดียม และสังกะสี ทารกจะเริ่มทานฟักทองได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนเป็นต้นไป สามารถทานเป็นฟักทองบด หรือเป็นชิ้นนิ่ม หรือนำไปผสมลงในธัญพืชโฮมเมด โยเกิร์ต และแม้แต่ในเนื้อสัตว์ก็ได้

6. ถั่ว

ถั่ว และเมล็ดพืชมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยบำรุงสมอง และช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีวิตามินอีที่ช่วยให้มีสมาธิดีขึ้น และปกป้องสมองของคุณจากความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ถั่ว และเมล็ดพืชเหล่านี้บางชนิด ได้แก่ เมล็ดทานตะวันเฮเซลนัทอัลมอนด์วอลนัทเป็นต้น การบริโภคถั่ว และเมล็ดพืชในปริมาณที่น้อยลงจะทำงานได้ดีกับร่างกายของคุณ และเพิ่มประโยชน์มากมายให้กับสมองของคุณ

7. แครอท

แครอทเป็นผักที่มีเบต้าแคโรทีนสูงมาก รวมถึงมีวิตามินเอ วิตามินซี และแคลเซียมสูงที่มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของทารก นอกจากนี้ยังมีโฟเลต ไนอะซิน โซเดียม ฟอสโฟรัส แมกนีเวียม โพแทสเซียม และเหล็ก ซึ่งคุณแม่สามารถน้ำแครอทไปต้ม หรือนึ่งจนสุกแล้วให้ลูกทาน หรือจะนำไปทำกับซุปให้ลูกก็ได้

8. ข้าวโอ๊ต

ข้าวโอ๊ตเป็นแหล่งของโปรตีน และไฟเบอร์  สามารถกินร่วมกับผลไม้ น้ำผึ้ง (ควรหลีกเลี่ยงน้ำผึ้งหากลูกอายุต่ำกว่า 1 ขวบ) นม และโยเกิร์ต เพิ่มความอร่อย และน่ารับประทาน ซึ่งเมล็ดธัญพืชจะอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินบีหลากหลายชนิด (ยกเว้น วิตามินบี 12) และธาตุแมกนีเซียม เหมาะสำหรับลูกน้อยในวัยที่สามารถเคี้ยวได้บ้างแล้ว

9. ไข่

ไข่ นอกจากเป็นแหล่งโปรตีนแล้ว ยังมีโคลีน ซึ่งเป็นวิตามินที่ช่วยทำให้ความจำดีอีกด้วย ซึ่งไข่ใบเล็ก ๆ สามารถนำไปทำอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ไข่ต้ม ไข่เจียว (สามารถเติมส่วนผสมอื่นๆ เช่น ชีส กุ้ง ปูอัด เพื่อเพิ่มรสชาติให้กลมกล่อมมากขึ้น) แพนเค้ก ไข่ตุ๋น ขนมปังชุบไข่ หรือเพียงแค่ตอกไข่ลงในโจ๊กของลูกก็ได้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เด็กวัยเตาะแตะรับประทานไข่วันละ 1 ฟอง

10. ปลา

ไขมันปลาเช่น แซลมอน เป็นแหล่งโอเมกา-3 ชั้นยอด แต่หากลูกน้อยไม่ชอบกินน้ำมันปลา คุณแม่ลองแอบเติมน้ำมันปลาลงในโยเกิร์ต สมูทตี้ และอาหารอื่นๆ ดู ปลาที่ช่วยปกป้องสมอง และลดความเสี่ยงของโรคทางจิต และความจำเสื่อมมี ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า และปลาแซลมอน เพราะอุดมไปด้วยโอเมก้า 3 สิ่งนี้จะช่วยในการทำงานของสมอง และพัฒนาการของเด็กทำให้เพิ่มระดับการโฟกัส และทำให้เด็กมีความคิดที่ดีขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ที่มา : thaihealth และ theAsianparent

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ชี้เป้า ของตัวแม่ต้องมี (10 MUST HAVE ITEMS FOR WOMAN & MOM) ช้อปสนุก หยุดไม่อยู่ ในเดือนแห่งแม่ กับ JD CENTRAL ตลอดเดือนสิงหาคม

9+ GOLD MOM CLINIC EP.1 สารอาหารสำคัญ & เพื่อ 1,000 วันแรก ที่สมบูรณ์ โดย พญ.นพรัตน์ ไชยบูรณะพันธ์กุล สูตินรีแพทย์ประจำ รพ. พญาไท 3

พีแอนด์จี ร่วมกับ เทสโก้ โลตัส ส่งแคมเปญพิเศษ “Mom to Mom” ชวนเหล่าคุณแม่ ร่วมใจกันช่วยเหลือแม่ ที่ได้รับผลกระทบจาก วิกฤต โควิด-19

บทความโดย

P.Veerasedtakul