ห้องคลอด น่ากลัวมั้ย มีอะไรในห้องคลอดบ้าง ต้องเตรียมตัวยังไงก่อนเข้าห้องคลอด

ห้องคลอด เป็นสถานที่สำหรับคลอดบุตรโดยคุณหมอสูตินรีแพทย์ โดยจะเริ่มดูแลตั้งแต่ก่อนคลอด การคลอด และการดูแลหลังคลอดทันทีของมารดาและทารก เรียกอีกอย่างว่า 'LDR' (Labour, Delivery and Resuscitation) โดยห้องจะต้องอยู่ใกล้กับแผนกกุมารเวช ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมนั้น มาอ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยค่ะ

 

ห้องคลอด คืออะไร

ห้องคลอดจะมีทั้งห้องคลอดธรรมชาติ และห้องผ่าตัดคลอด หรือบางโรงพยาบาลก็มีห้องที่สามารถทำได้ทั้งสองกรณีในห้องเดียวกัน โดยในห้องคลอดจะมีเครื่องมือผ่าตัด อุปกรณ์ทำคลอด รวมไปถึงเครื่องประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ ก่อนที่คุณแม่จะได้เข้าห้องคลอด ก็จะต้องรออยู่ที่ห้องเตรียมคลอดก่อน เพื่อดูอาการ หากพร้อมที่จะคลอดแล้ว ทางพยาบาลก็จะพาคุณแม่ย้ายไปที่ต้องทำคลอดค่ะ และหลังจากทำคลอดเสร็จแล้ว ก็จะย้ายคุณแม่ไปที่ห้องพักพื้น ส่วนทารกน้อยจะถูกส่งไปดูแลต่อที่แผนกกุมารเวชค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : แต่งหน้าเข้าห้องคลอด ยังไงให้เป๊ะปัง ส่องลุคดาราที่สวยแม้อยู่ในห้องคลอด

 

การเตรียมร่างกายก่อนคลอด

คุณแม่ควรเตรียมตัวให้พร้อม บริหารร่างกายโดยการฝึกย่อตัว ลักษณะนั่งยองลงไป แล้วค่อย ๆ ลุกขึ้นอย่างช้า ๆ ทำแบบนี้ก่อนคลอดสัก 1-2 สัปดาห์ในช่วงเช้า ๆ จะช่วยฝึกบริหารกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานและต้นขาของคุณแม่ให้แข็งแรง เวลาคลอดลูกธรรมชาติก็สามารถคลอดได้ง่ายขึ้นด้วยค่ะ

 

วิดีโอจาก : BANGKOK HOSPITAL RATCHASIMA

 

ประเภทของ ห้องคลอด

  • ห้องรอคลอด

ห้องรอคลอด เป็นห้องสำหรับนอนพักรอคลอดและตรวจภายใน เพื่อรอจนปากมดลูกเปิด 10 ซม. ในครรภ์แรก หรือถ้าปากมดลูกเปิด 8-9 ซม. ในครรภ์ที่ 2 ขึ้นไป ในระหว่างนี้ก็จะมีคุณหมอหรือคุณพยาบาลเข้ามาตรวจอาการคุณแม่เป็นระยะ ๆ ด้วยการดูทั้งปากมดลูกและดูอาการทารกจากเครื่องตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ (Fetal Monitor) นอกจากนี้ จะมีการสวนทวารเพื่อเตรียมคลอด ให้งดอาหาร (อาจจะงดมาตั้งแต่ก่อนมาถึงโรงพยาบาล) โกนขนบริเวณหัวหน่าว ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดอุณหภูมิร่างกาย ชีพจร วัดอัตราการหายใจวัดความดันโลหิต และมีการเจาะเลือดไปตรวจค่ะ

ส่วนการคลอดในโรงพยาบาลที่มีจำนวนผู้มาคลอดจำนวนมาก ในส่วนนี้จะมีหลายเตียงไว้สำหรับคลอดบุตร ด้วยการขึ้นขาหยั่ง โดยอาจจะมีม่านรูดกั้น หรือฉากกั้นระหว่างเตียง หรืออาจจะเป็นห้องแยกต่างหาก ส่วนในโรงพยาบาลที่มีผู้มาคลอดจำนวนไม่มากมักจะคลอดบนเตียงที่นอนรอคลอดเลย โดยเตียงรอคลอดสามารถถอดแยกส่วนและคลอดได้เลยนอกจากเตียงคลอดแล้ว ก็จะมีเตียงรับเด็กทารกแรกคลอด และมีรถหรือกล่องใส่อุปกรณ์สำหรับช่วยกู้ชีพเด็กทารก

บทความที่เกี่ยวข้อง : วันคลอดต้องทำอะไรบ้าง เช็กทุกเรื่อง ที่คุณต้องทำในวันคลอดได้ที่นี่

 

ห้องคลอด

 

  • ห้องคลอด ห้องผ่าตัดคลอด

จะเป็นห้องสำหรับผู้ที่เลือกผ่าตัดคลอด หรือคุณแม่ที่มีปัจจัยเสี่ยงไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้  โรงพยาบาลแต่ละแห่งอาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย บางแห่งอาจจะมีห้องผ่าตัดอยู่ภายในห้องคลอดธรรมชาติเลย บางแห่งอาจจะอยู่ในแผนกผ่าตัด ซึ่งมีประตูเชื่อมต่อทางเข้ามาจากห้องคลอดได้ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการขนย้ายผู้ป่วย

ลักษณะห้องผ่าตัดก็จะเหมือนห้องผ่าตัดปกติทั่วไป มีข้อแตกต่างคือ เตียงรับเด็กทารกแรกคลอด หรือเตียงสำหรับช่วยกู้ชีพเด็กแรกเกิด และทีมพยาบาลห้องคลอดจะคอยรอรับและดูแลเด็กแรกคลอด ยกเว้นกรณีที่เด็กมีปัจจัยเสี่ยงที่จะผิดปกติ เช่น คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อย หัวใจเต้นช้าลงช่วงคลอด หรือคลอดออกมาแล้วพบสิ่งผิดปกติ จะรายงานกุมารแพทย์เพื่อมารับเด็กแรกคลอดทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง : การคลอดทารกท่าก้น คืออะไร มีความเสี่ยงต่อการคลอดมั้ย ?

 

ห้องคลอด

 

  • ห้องพักฟื้นหลังคลอด

หลังจากที่ดูอาการหลังคลอดแล้วพบว่าปลอดภัย ไม่มีอาการแทรกซ้อน ก็จะย้ายคุณแม่มาที่ห้องพักฟื้น โดยคุณแม่จะยังให้งดน้ำและอาหารไปอีก 12-24 ชั่วโมงหลังคลอด เนื่องจากลำไส้หยุดทำงานไปชั่วขณะหลังการผ่าตัด ในช่วงหลังผ่าตัดคุณแม่จะได้น้ำเกลือแร่และพลังงานต่าง ๆ จากน้ำเกลือโดยตรง พอครบที่เวลาที่งดอาหาร ให้เริ่มจิบน้ำได้ทีละน้อย และให้คุณแม่พยายามลุกเดิน เนื่องจากการเดินหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย จะช่วยลดพังผืดจากการผ่าตัด ลดอาการท้องผูก และช่วยให้ท้องไม่อืดอีกด้วยค่ะ

หากคุณแม่มีความพร้อมที่จะให้นมลูก สามารถแจ้งคุณพยาบาลเพื่อเตรียมให้นมลูก พร้อมทั้งรับคำแนะนำในการให้นมลูก การอาบน้ำ และการทำความสะอาดสะดือทารก

 

ห้องคลอด

 

การดูแลตัวเองหลังคลอด

หลังจากที่คุณแม่คลอดลูกไปแล้ว 2-3 สัปดาห์ คุณแม่จะยังรู้สึกเจ็บบริเวณฝีเย็บ การดูแลหลังคลอดจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น และเพื่อป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ วิธีการดูแลแผลบริเวณฝีเย็บคือ การทำความสะอาดบริเวณแผลและรอบ ๆ แผลอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้วใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้ง หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงรัด ๆ และควรใส่เข็มขัดรัดหน้าท้อง เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บแผล

แผลผ่าคลอดจะถูกน้ำได้หลังผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งต้องคอยรักษาความสะอาดและดูแลให้แผลแห้ง ต้องระวังอย่าให้ผ้าอนามัยหรือขอบกางเกงไปขูดหรือสีกับแผล และควรเปลี่ยนผ้าอนามัยเพื่อรักษาความสะอาดแผลบ่อย ๆ อย่าให้เกิดการหมักหมมหรือมีกลิ่นเหม็น เพราะอาจจะทำให้แผลฝีเย็บอักเสบและติดเชื้อได้

 

เหนือสิ่งอื่นใด คุณแม่ควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนคลอด ทั้งทางร่างกายและจิตใจ อ่านข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนคลอดโดยละเอียด เพื่อเตรียมรับมือกับการคลอดที่กำลังจะมาถึง ในส่วนของการดูแลหลังคลอดโดยละเอียด จะมีข้อมูลจากคุณหมอและคุณพยาบาล หากคุณแม่มีคำถามหรือข้อสงสัยใด ๆ ให้ลองปรึกษากับทางโรงพยาบาลได้เลยนะคะ หรือหลังกลับมาพักฟื้นที่บ้านแล้ว สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ theAsianparent ได้เลยค่ะ เพราะเรามีข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลตัวเองของคุณแม่และทารกน้อยแรกเกิดอย่างครบครัน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ประสบการณ์ตรง คลอดฉุกเฉิน เพราะครรภ์เป็นพิษ !

เรื่องน่ารู้! ขั้นตอนคลอดธรรมชาติ มีวิธีรับมืออย่างไรบ้าง สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด

การคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงอันตรายแค่ไหน แม่ท้องต้องรู้

ที่มา : verywellfamily

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!