วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ก่อนจะสายเกินแก้

ใครจะไปรู้ เลี้ยงลูกมาแบบนี้ จะเริ่มกลายเป็นเด็กเอาแต่ใจ แต่เมื่อเห็นพฤติกรรมลูกเริ่มแย่ รีบแก้ไขตั้งแต่ตอนนี้ก็ยังไม่สายค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น เราจะมองเห็นว่าลูกเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเองมากขึ้น เอาแต่ใจมากขึ้น วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง จะทำยังไงให้ดีขึ้น เลี้ยงยังไงให้พอดี เอาวิธีดี ๆ มาบอกคุณพ่อคุณแม่ตรงนี้ค่ะ

 

สาเหตุที่ลูกเอาแต่ใจ

สาเหตุที่ลูกเอาแต่ใจ เกิดขึ้นจากการเลี้ยงดูจากบุคคลใกล้ตัวไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ คุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย หรือพี่เลี้ยง ที่คอยยอมใจลูกหลานแบบไม่กำหนดขอบเขต ไม่คิดถึงเหตุผล แค่ลูกร้องหรือแสดงอารมณ์ก็ปล่อยตามใจ จนทำให้เด็กคิดว่าเมื่อทำสิ่งนี้ตนเองจะได้ในสิ่งที่ตนต้องการ บ่อยครั้งจึงเป็นความเคยชิน สร้างเป็นนิสัยเอาแต่ใจขึ้นมา เมื่อรู้สึกว่าลูกมีนิสัยเช่นนี้ พ่อแม่รีบแก้ไขด่วน ๆ

 

วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ( ภาพจาก freepik.com )

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ลูกเอาแต่ใจเป็นยังไง

  • เริ่มที่จะไม่ฟังคำที่พ่อแม่พูด ไม่ทำตามกฏเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ตั้งกันไว้ในบ้าน
  • ไม่หยุดทำเมื่อถูกห้าม ดื้อ ต่อต้านขึ้น
  • อยากได้หรือต้องการ ก็ต้องได้สิ่งนั้นให้ได้ ทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มา
  • ทำตามใจตัวเองโดยไม่มีเหตุผล
  • มีความอดทนต่ำ โวยวาย เมื่อถูกต่อว่าหรือถูกกดดัน
  • มีอารมณ์ร้าย
  • แสดงความเป็นเด็กขี้เบื่อ และไม่มีสมาธิอยู่กับสิ่งใดนาน ๆ

 

 

10 วิธีแก้ ลูกเอาแต่ใจตัวเอง

1. กำหนดกฎเกณฑ์ให้ลูกอย่างเหมาะสมตามวัย

เด็กเล็กต้องการการดูแลจากพ่อแม่อย่างใกล้ชิด และเรียนรู้ว่าอะไรทำได้ไม่ได้ ท่ามกลางความปลอดภัย การให้อิสระลูกเล่นในสถานที่ปลอดภัยและเหมาะสม บอกกติกาว่าสิ่งไหนควรทำไม่ควรทำ จะทำให้เด็กรู้จักควบคุมตนเองและมีวินัย กว่าจะที่ใช้คำสั่งบังคับและไม่ให้ทำ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. แยกแยะให้ออกเมื่อลูกร้องไห้

ในขณะที่ลูกยังไม่รู้วิธีการสื่อสารกับพ่อแม่อย่างชัดเจน สิ่งที่เขาแสดงออกได้ในตอนนี้ก็คือการร้องไห้เพื่อให้รู้ว่ากำลังเจ็บปวด หิว ไม่สบายตัว หรือกลัวอะไรบางอย่าง เหล่านี้พ่อแม่ควรให้ความสนใจกับลูกทันที แต่ถ้าเป็นการร้องไห้แบบรู้ว่าไม่เกิดอันตราย ร้องเพื่อเรียกร้องเอาในบางอย่าง อาจจะปล่อยให้ลูกร้องไห้เพื่อให้เข้าใจว่า หนูจะไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการตอนนี้ และเข้าไปกอด ปลอบลูกด้วยคำพูดอ่อนโยนและใช้เหตุผล

บทความที่น่าสนใจ : ลูกร้องไห้ขณะนอนหลับ มีสาเหตุมาจากอะไร? ฝันร้ายหรือเปล่า

 

3. อย่าปล่อยให้ลูกแสดงอารมณ์ร้ายจนได้ผล

ยกรางวัลดราม่ายอดเยี่ยมให้กับเจ้าตัวเล็ก เพราะเมื่อเด็กไม่พอใจ เอาแต่ใจ ก็จะแสดงออกทางอารมณ์อย่างชัดเจนให้พ่อแม่ได้รู้เพื่อใจอ่อน ยอมทำตาม ในสถานการณ์แบบนี้พ่อแม่ต้องสตรองเอาไว้นะคะ ยืนอยู่ห่าง ๆ ปล่อยให้ลูกปลดปล่อยอารมณ์โมโหซักระยะ เมื่อลูกค่อย ๆ หยุดแล้วจึงเข้าไปคุยกับลูกด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยนและบอกเหตุผลในสิ่งที่ทำให้ลูกจะไม่ได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. อย่าละเลยเรื่องระเบียบวินัย

สอนเรื่องนี้ให้ลูกตั้งแต่เล็กเพื่อติดนิสัยไปจนโต จะทำให้ลูกรู้จักควบคุมตนเอง มีความรับผิดชอบ มีหลักการและเหตุผลในการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องมากขึ้น โดยมีพ่อแม่คอยทำเป็นแบบอย่างนะคะ

 

5. สอนให้ลูกรู้จักการรอคอยและอดทนให้เป็น

การรอ จะช่วยทำให้เด็ก ๆ จัดการกับความหงุดหงิด ไม่ได้ดั่งใจได้ดีขึ้น เพราะการอดทน เป็นสิ่งที่ลูกจะต้องใช้ในการอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม

บทความที่น่าสนใจ : ฝึกลูกอย่างไรให้มีความอดทน รู้จักรอคอย ไม่กลายเป็นเด็กที่เอาแต่ใจตัวเอง!

 

6. ไม่ชมเชยลูกมากเกินไป

การชมเชยถือว่าเป็นสิ่งดีเป็นกำลังใจในการต่อยอดที่จะทำต่อไปให้ดีขึ้น แต่การชมลูกมากเกินไป หรือซักแต่ว่าชม จะทำให้ลูกเหลิง และทำแต่เรื่องซ้ำ ๆ ในสิ่งที่พ่อแม่ชื่นชม จนไม่อยากจะทำสิ่งอื่นเพราะกลัวทำไม่ได้ดี การชมบ่อย ๆ จึงทำให้เด็กหยุดชะงัก เสียโอกาสที่จะไปพัฒนาในด้านอื่น ๆ นะคะ

 

วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ( ภาพจาก freepik.com )

 

7. ใช้เวลาร่วมกับลูก

ในปัจจุบันที่พ่อแม่หมดเวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงาน เวลาคุณภาพจึงอาจไม่ใช่เวลาที่ต้องอยู่กับลูกตลอดเวลา แต่เป็นการแบ่งเวลาที่ให้ทุกคนอยู่พร้อมหน้าทำกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมด้วยกัน เมื่อลูกได้เวลาในส่วนนี้ไปจะทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น ไม่ว้าเหว่ ไม่คิดไขว่คว้าหรือร้องเอาแต่ใจ เพื่อหาของอื่นเพื่อมาเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปได้นะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

8. ใช้เหตุผลในการพูดกับลูกทุกครั้ง

เมื่อลูกเอาแต่ใจ สิ่งที่พ่อแม่ควรทำเมื่ออยากให้ลูกปรับปรุงพฤติกรรมก็คือการพูดคุยด้วยเหตุผล หากพ่อแม่ใช้อารมณ์กับลูก มีแต่จะทำให้ลูกมีพฤติกรรมต่อต้าน มีนิสัยที่เอาแต่ใจมากยิ่งขึ้น

 

9. หมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก

พ่อแม่ควรที่จะคอยสังเกตพฤติกรรมของลูก ว่าลูกต้องการอะไร เพราะถ้าหากพ่อแม่ถามเด็กทุกเรื่องว่าต้องการอะไรบ้าง ก็จะทำให้เด็กรู้สึกรำคาญและเบื่อได้ง่าย หากพ่อแม่สังเกตและรู้ว่าลูกต้องการอะไร จะทำให้เด็กไม่มีปัญหาการเอาแต่ใจตัวเอง เพราะเหมือนกับพ่อแม่รู้ใจของเด็ก

 

10. อย่าใช้คำพูดที่เป็นการบังคับ

การเลือกใช้คำพูดกับลูกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะคำพูดที่เป็นเหมือนกับคำสั่ง จะทำให้ลูกต้องรู้สึกกดดัน และไม่ต้องการที่จะทำตาม ทำให้ลูกรู้สึกอึดอัด เช่น ลูกมากินข้าวเดี๋ยวนี้ ลูกแต่งตัวเร็ว ๆ หน่อย เดี๋ยวไปโรงเรียนสาย ซึ่งคำพูดเหล่านี้ เป็นคำพูดที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการสั่ง ที่จะทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายใจ และมักจะทำให้รู้สึกเก็บกดอีกด้วย พ่แม่ควรเปลี่ยนมาเป็นการใช้คำพูดในแนวที่ให้เป็นความเห็นจะดีกว่า เด็กจะได้ไม่ต้องรู้สึกกดดันตัวเอง

 

วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ( ภาพจาก freepik.com )

 

เจ้าตัวเล็กที่พ่อแม่รู้สึกว่ากำลังเอาแต่ใจตัวเองอยู่ในตอนนี้ ถ้าไม่รีบแก้ไขก่อนที่จะเข้าสู่วัยเรียนหรือโตไปกว่านี้ จะทำให้ลูกกลายเป็นเด็กมีปัญหาได้นะคะ เพราะเมื่อลูกเข้าสังคมและมีพฤติกรรมเอาแต่ใจติดตัวไป อาจถูกปฏิเสธจากเพื่อน จากคนรอบข้าง ไม่เป็นที่ยอมรับ ทำให้ลูกขาดความสุข มีปมด้อย และมีความเสี่ยงต่อพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นในแง่ลบ จนกลายเป็นความทุกข์ใจของพ่อแม่ ดังนั้นถ้าเห็นพฤติกรรมลูกเอาแต่ใจตัวเองอยู่ รีบหันมามองดูแล้วช่วยกันแก้ไข เลี้ยงลูกให้ดีกันค่ะ

 

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

ตามใจไปถึงไหน เลี้ยงลูกอย่างไรให้ป่วยเป็น "โรคเอาแต่ใจตัวเอง"

สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกวัยคลานจะกลายเป็นเด็กชอบเอาแต่ใจ

 

ที่มา : sethaputra.com, sanook, 3

 

บทความโดย

Napatsakorn .R