แม่แชร์ประสบการณ์หลังลูกแรกเกิดมีภาวะตัวเขียว

คุณแม่สตางค์บอกเล่าเรื่องราวของลูกชายที่มีอายุได้เพียงไม่กี่วัน และยังไม่สามารถออกจากโรงพยาบาลได้เนื่องจากมีภาวะตัวเขียว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่แชร์ประสบการณ์หลังลูกแรก เกิดมี ภาวะตัวเขียว

น้องโอโซน เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2559 ด้วยน้ำหนักแรกคลอด 3,100 กรัม น้องสมบูรณ์แข็งแรงดีทุกอย่าง แต่เพราะน้องมีภาวะตัวเขียว หมอจึงยังไม่สามารถให้นำน้องกลับบ้านได้ และนี่คือคำบอกเล่าของคุณแม่สตางค์ผ่านทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ว่า

แม่คลอดน้องเวลา 13.32 น. ในขณะที่แม่กำลังนอนพักฟื้นในห้อง พยาบาลก็เอาน้องเข้ามาให้ และอยู่กับแม่จนถึงเวลาเจ็ดโมงเช้าของวันถัดมา และพยาบาลเอาน้องไปอาบน้ำ แต่เนื่องจากน้องยังปรับอุณหภูมิไม่ได้ น้องจึงมีอาการหนาวสั่น และ มี ภาวะตัวเขียว จนร่างกายเป็น สีม่วง และหัวใจน้องก็ หยุดเต้นในที่สุด

แต่โชคดี ที่ หมอเก่ง จึงสามารถ ปั๊มหัวใจ เอาน้องกลับมาได้ แต่น้อง ก็ยัคงต้องอยู่ในตู้ เพื่อเข้ารับการรักษาโดยการให้ออกซิเจนตลอดเวลา ในตอนแรกน้องไม่สามารถขยับตัวหรือแม้แต่หายใจเองได้ โดยคุณหมอบอกว่า “ที่น้องเป็นเช่นนี้นั่นเป็นเพราะน้องหนาว และทานนมน้อย”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แต่ด้วยความรักและความผูกพันของสายใยรักระหว่างพ่อแม่ แล ะลูก “พ่อจะคอยมาร้องเพลงกล่อมให้ลูกฟังทุกวัน ส่วนแม่ก็จะคอยพูดคุยกับน้องตลอด” ทำให้วันนี้ร่างกายของน้องเริ่มปรับเปลี่ยนสีเป็น สีแดง และ เริ่มที่จะขยับแขนขา และหายใจเองได้บ้างแล้ว แม่ก็ภาวนาขอให้น้องหายไว ๆ จะได้กลับบ้านของเราพร้อมหน้าพร้อมตากันเสียที

และนี่คือสิ่งที่คุณแม่สตางค์ต้องการฝากถึงคุณแม่ทุก ๆ คน “ถ้า คุณแม่มีน้องแรกเกิด ควรที่จะห่อ ตัวน้อง และ ห่มผ้าให้ดี เพราะ เราไม่รู้เลย ว่าน้องจะหนาว หรือเปล่า ควรที่ จะหมั่น สังเกต ลูกว่ามี อาการตัวเขียว หรือม่วง หรือแม้แต่ตัวเย็นหรือไม่ แล้วควรหมั่นที่จะให้นมน้องทุก ๆ สามชั่วโมง จะได้ไม่มีอาการ เกล็ดเลือดต่ำมา แทรกซ้อนได้ค่ะ”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่แชร์ประสบการณ์หลังลูกแรกเกิดมี ภาวะตัวเขียว

โรคหัวใจที่พบในเด็กแตกต่างจากโรคหัวใจในผู้ใหญ่ที่มักเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือโรคหัวใจจากโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือดหรือโรคหัวใจจากโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจที่พบในเด็กมักเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และบางชนิดอาจเกิดขึ้นในวัยเด็ก

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหัวใจชนิดนี้พบได้บ่อยที่สุดในเด็ก โดยพบประมาณ 8-10 คนต่อทารกแรกเกิดมีชีวิต 1,000 คน อาการของโรคหัวใจอาจพบได้ตั้งแต่หลังคลอด แต่บางรายอาจพบเมื่ออายุ 3-4 ขวบ หรือเมื่อเป็นผู้ใหญ่ขึ้นกับชนิดและความรุนแรงของโรคหัวใจ ประมาณร้อยละ 90 ของโรคหัวใจชนิดนี้ไม่ทราบสาเหตุ บางรายมีสาเหตุเนื่องจากมารดาติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมันรับประทานยาบางชนิด ดื่มเหล้า หรือได้รับรังสีในขณะตั้งครรภ์ มารดาสูงอายุ เป็นโรคเบาหวาน หรือโรคทางพันธุกรรม
อาการของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มิได้แตกต่างกัน อาจมีอาการรุนแรงตั้งแต่แรกเกิดหรืออายุยังน้อย แต่บางรายอาจไม่มีอาการแสดงของโรคหัวใจเลย อาการที่พบบ่อยได้แก่ หายใจหอบแรงและเร็วเหนื่อยในขณะดูดนมและต้องหยุดเป็นพักๆ ตัวเล็กกว่าเด็กวัยเดียวกัน และน้ำหนักขึ้นช้า เป็นปอดบวมบ่อยๆ และมีอาการรุนแรงหรือหายช้ากว่าปกติ มีอาการเขียวขณะออกแรง หรือร้อง เหนื่อยง่ายขณะออกแรง เป็นลมหมดสติ เป็นอัมพาต ตรวจได้ เสียงฟู่หัวใจจากการตรวจร่างกายหรือหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ
โรคหัวใจรูห์มาติก โรคหัวใจชนิดนี้เกิดขึ้นตามหลังไข้รูห์มาติกที่เกิดจากการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส ที่เป็นสาเหตุของคออักเสบและต่อมทอนซิลอักเสบ มักเกิดในเด็กโตที่มีอายุระหว่าง 5-15 ปี อาการของโรคได้แก่ ไข้ ปวดบวมตามข้อใหญ่ๆ มีผื่นแดงที่ผิวหนัง มีตุ่มแข็งที่ชั้นใต้ผิวหนัง อาจมีอาการทางสมองและหัวใจอักเสบร่วมด้วย โรคนี้เมื่อเป็นแล้วมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีกและในรายที่มีหัวใจอักเสบร่วมด้วยจะมีความรุนแรงมากขึ้น มีโอกาสเกิดความพิการของลิ้นหัวใจแบบถาวรได้ จึงควรป้องกันการเกิดซ้ำโดยการรับยาปฏิชีวนะอย่างสม่ำเสมอ
การดูแลเด็กที่มีอาการหรือมีอาการน้อย ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาใดๆ บิดามารดาควรให้การเลี้ยงดูเหมือนเด็กปกติทั่วไป ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การเรียน เมื่อพาเด็กไปทำฟันหรือผ่าตัดจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่าเด็กเป็นโรคหัวใจเพื่อให้ยาปฏิชีวนะ ป้องกันการเกิดการอักเสบของลิ้นและผนังหัวใจก่อนทำการหัตถการ ควรพาเด็กมาพบแพทย์โรคหัวใจอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากโรคหัวใจบางชนิดอาจมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น หรืออาจมีภาวะแทรกซ้อนบางชนิดเกิดขึ้น
เด็กที่มีอาการแสดงโรคหัวใจ หรืออาการของภาวะหัวใจล้มเหลว เด็กเหล่านี้จะมีอาการเหนื่อย หายใจเร็ว และมักได้รับยาที่ทำให้หัวใจบีบตัวดีขึ้น ยาขับปัสสาวะหรือขยายหลอดเลือดรับประทานอย่างต่อเนื่อง เด็ก สามารถรับประทาน อาหารเช่นเดียว กันกับ ที่ผู้ปกครองรับประทานตามปกติได้ ควรหลีกเลี่ยงการใส่น้ำปลาหรือเกลือลงในอาหาร หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในที่แออัดให้เด็กได้รับยาอย่าง สม่ำเสมอและในขนาดที่ถูกต้อง เด็กที่สามารถ ควบคุมอาการได้ดีจะ มีการเจริญเติบโต และ ไป โรงเรียนได้ เหมือนเด็กปกติ แต่มี บางรายที่อาจ ต้องผ่าตัดรักษาความผิดปกติ
เด็กที่อาการตัวเขียว บางคนอาจมีการเขียวกะทันหัน โดยมีอาการเขียวคล้ำมากกว่าปกติร่วมกับมีอาการหายใจหอบลึก ในกรณีที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการตัวเกร็ง เป็นลมหมดสติได้ อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นตอนเช้า มีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก มีไข้ ร้องนานๆ หรือออกกำลังกายจนเหนื่อยมาก จึงควรระวังอย่าให้เด็กขาดน้ำ ให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมากๆ เมื่อเด็กมีอาการนี้ ให้จับเด็กนั่งยองๆ หรืออุ้มพาดบ่าเอาเข่าชิดหน้าอก ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์และให้ยาลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทีมงานดิเชี่ยนพาเร้นท์ทุกคนขอเป็นกำลังใจให้กับคุณแม่สตางค์และน้องโอโซนให้หายไว ๆ นะคะ

ที่มา: เพจท้องคุยกัน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

9 สิ่งไม่ควรมองข้าม เมื่อต้องไปเยี่ยมทารกแรกเกิด

เรื่องน่ารู้…ท่อน้ำอุดตันในทารกแรกเกิด

https://www.youtube.com/watch?v=ljLVNDz6NGE

 

บทความโดย

Muninth